เมนู

เหล่านั้นในเพราะอำนาจจิตนี้. บทว่า อตฺถมญฺญาย ธมฺมมญฺญาย ได้แก่
รู้อรรถและบาลี. บทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน โหติ ความว่า เป็นผู้
ปฏิบัติธรรม คือ ปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้น พร้อมด้วยศีลที่สมควรแก่
โลกุตรธรรม. บทว่า นิพฺเพธิกปญฺโญ ได้แก่ ปัญญาเป็นเครื่องชำแรก.
บทว่า อิทํ ทุกฺขํ ท่านอธิบายว่า ขันธ์ห้าเป็นไปในภูมิสามที่เหลือ เว้น
ตัณหาเป็นทุกข์. บทว่า ปญฺญาย คือด้วยมรรคปัญญา. บทว่า อยํ ทุกฺข-
สมุทโย
ท่านอธิบายว่า ตัณหาเป็นมูลของวัฏฏะ เป็นเหตุเกิดทุกข์นั้น. แม้
ในสองบทที่เหลือ พึงทราบเนื้อความโดยอุบายนี้. อรหัตผล พึงทราบว่า
ตรัสด้วยการตอบปัญหาข้อที่ 4.
จบอรรถกถาอุมมังคสูตรที่ 6

7. วัสสการสูตร


พระพุทธองค์ทรงตอบปัญหาวัสสการพราหมณ์


[187] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร-
เวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น แล วัสสการ-
พราหมณ์มหาอำมาตย์ของแคว้นมคธ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ
ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน
ไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อสัตบุรุษจะพึงรู้อสัตบุรุษด้วยกันได้หรือหนอว่า
ท่านผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ ? พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนพราหมณ์