เมนู

6. อุมมังคสูตร


พระพุทธองค์ทรงตอบปัญหาของพระภิกษุ


[186] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่
ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โลกอันอะไร
หนอแลนำไป โลกอันอะไรชักมา และบุคคลย่อมลุอำนาจของอะไรที่บังเกิด
ขึ้นแล้ว ? พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ ดีละ ภิกษุ ปัญญาของเธอ
หลักแหลม ปฏิภาณของเธอดีจริง ปริปุจฉาของเธอเข้าที เธอถามอย่างนี้ว่า
โลกอันอะไรหนอแลนำไป โลกอันอะไรชักมา และบุคคลย่อมลุอำนาจของ
อะไรที่บังเกิดขึ้นแล้ว ดังนี้หรือ ?
ภิก. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุ โลกอันจิตแลนำไป อันจิตชักมา และบุคคลย่อมลุ
อำนาจของจิตที่บังเกิดขึ้นแล้ว.
ภิกษุนั้นชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ดีแล้ว
พระเจ้าข้า แล้วได้ทูลถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า
บุคคลเป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม ดังนี้ ?
ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล บุคคลจึงเป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม ?
พ. ดีละ ดีละ ภิกษุ ปัญญาของเธอหลักแหลม ปฏิภาณของเธอ
ดีจริง ปริปุจฉาของเธอเข้าที เธอถามอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ที่เรียกว่า บุคคลเป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม
ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไรหนอแล บุคคลจึงเป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม
ดังนี้หรือ ?

ภิก. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุ เราแสดงธรรมเป็นอันมาก คือ สุตตะ.. .เวทัลละ
ถ้าแม้ภิกษุรู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรมแห่งคาถา 4 บาทแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติ
ธรรมสมควรแก่ธรรมไซร้ ก็ควรเรียกว่า เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม.
ภิกษุนั้นชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ดีแล้ว
พระเจ้าข้า แล้วได้ทูลถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า
บุคคลผู้สดับมีปัญญาชำแรกกิเลส ผู้สดับมีปัญญาชำแรกกิเลส ดังนี้ ด้วยเหตุ
เพียงเท่าไรหนอแลบุคคลจึงเป็นผู้สดับมีปัญญาชำแรกกิเลส
พ. ดีละ ดีละ ภิกษุ ปัญญาของเธอหลักแหลม ปฏิภาณของเธอ
ดีจริง ปริปุจฉาของเธอเข้าที เธอถามอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผ้เจริญ
ที่เรียกว่า บุคคลผู้สดับมีปัญญาชำแรกกิเลส ผู้สดับมีปัญญาชำแรกกิเลส ดังนี้
ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล บุคคลจึงเป็นผู้สดับมีปัญญาชำแรกกิเลส ดังนี้
หรือ ?
ภิก. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่า นี้ทุกข์ และเห็นแจ้ง
แทงตลอดเนื้อความ. แห่งคำที่สดับนั้นด้วยปัญญา ได้สดับว่า นี้ทุกขสมุทัย
และได้เห็นแจ้งแทงตลอดเนื้อความแห่งคำที่สดับนั้นด้วยปัญญา ได้สดับว่า
นี้ทุกขนิโรธ และเห็นแจ้งแทงตลอดเนื้อความแห่งคำที่สดับนั้นด้วยปัญญา
ได้สดับว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา และเห็นแจ้งแทงตลอดเนื้อความแห่งคำ
ที่สดับนั้นด้วยปัญญา ดูก่อนภิกษุ บุคคลเป็นผู้สดับมีปัญญาชำแรกกิเลสอย่าง
นี้แล.
ภิกษุนั้นชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ดีแล้ว
พระเจ้าข้า แล้วได้ทูลถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า

บุคคลผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญามาก ผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญามาก ดังนี้ ด้วยเหตุ
เพียงเท่าไรหนอแล บุคคลจึงเป็นบัณฑิตมีปัญญามาก ?
พ. ดีละ ดีละ ภิกษุ ปัญญาของเธอหลักแหลม ปฏิภาณของเธอ
ดีจริง ปริปุจฉาของเธอเข้าที เธอถามอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ที่เรียกว่าบุคคลผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญามาก บุคคลผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญามาก
ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล บุคคลจึงเป็นบัณฑิตมีปัญญามาก ดังนี้หรือ ?
ภิก. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุ บุคคลผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญามากในธรรมวินัยนี้
ย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตน ย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ย่อมไม่คิดเพื่อ
เบียดเบียนคนและผู้อื่น เมื่อคิด ย่อมคิดเพื่อเกื้อกูลแก่ตน เกื้อกูลแก่ผู้อื่น
เกื้อกูลแก่ตนและผู้อื่น และเกื้อกูลแก่โลกทั้งหมดทีเดียว ดูก่อนภิกษุ บุคคล
เป็นบัณฑิตมีปัญญามากอย่างนี้แล.
จบอุมมังคสูตรที่ 6

อรรถกถาอุมมังคสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอุมมังคสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปริกสฺสติ ได้แก่ อันสิ่งอะไรคร่ามา. บทว่า อุมฺมงฺโค
ได้แก่ ผุดขึ้น อธิบายว่า ไปด้วยปัญญา. อีกอย่างหนึ่ง ปัญญานั่นเอง
เรียกว่าอุมมังคะ เพราะอรรถกถาว่า ผุดขึ้น อุมมังคปัญญานั้น ชื่อว่าปฏิภาณ
เพราะอรรถว่า แจ่มแจ้งทันที. บทว่า จิตฺตสฺส อุปฺปนฺนสฺส วสํ คจฺฉติ
ความว่า บุคคลเหล่าใด ย่อมตกอยู่ในอำนาจจิต พึงทราบการยึดถือของบุคคล