เมนู

อรรถกถาพราหมณสัจจสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในพราหมณสัจจสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า พฺราหฺมณสจฺจานิ แปลว่า สัจจะของพราหมณ์ทั้งหลาย.
บทว่า โส เตน น สมโณติ มญฺญติ ความว่า โดยสัจจะนั้น พระ-
ขีณาสพนั้น ย่อมไม่สำคัญด้วยตัณหา มานะ ทิฏฐิ ว่าเราเป็นสมณะ ดังนี้
แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน . บทว่า ยเทว ตตฺถ สจฺจํ ตทภิญฺญาย
ความว่า สัจจะใดเป็นความจริงแท้ ไม่แปรผันในการปฏิบัตินั้นว่า สัตว์ทั้งปวง
ไม่ควรฆ่า ดังนี้. ด้วยบทนี้ ทรงทำวจีสัจไว้ในภายใน แสดงนิพพานเป็น
ปรมัตถสัจ. บทว่า ตทภิญฺญาย ได้แก่ รู้สัจจะทั้งสองนั้น ด้วยปัญญาอัน
วิเศษยิ่ง. บทว่า อนุทยาย อนุกมฺปาย ปฏิปนฺโน โหติ ความว่า เป็นผู้
ปฏิบัติปฏิปทาเพื่อความเอ็นดู และเพื่อความอนุเคราะห์ อธิบายว่า เป็นผู้
บำเพ็ญเต็มที่. บทว่า สพฺเพ กามา ได้แก่ วัตถุก้านทั้งหมด กิเลสกาม
ทั้งหมด. แม้ในปฏิปทาที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อิติ วทํ พฺราหฺมโณ
สจฺจํ อาห
ได้แก่ พราหมณ์ผู้เป็นขีณาสพ แม้กล่าวอยู่อย่างนี้ ก็ชื่อว่า
กล่าวจริงทั้งนั้น. บทว่า สพฺเพ ภวา ได้แก่ ภพ 3 มีกามภพเป็นต้น.
ก็ในบทว่า นาหํ กวฺจินิ นี้ ตรัสสุญญตาความสูญไว้ 4 เงื่อน
จริงอยู่ พระขีณาสพนี้ไม่เห็นตนในที่ไหน ๆ ว่าเราย่อมไม่มีในอะไร ๆ. บทว่า
กสฺสจิ กิญฺจนตสฺมึ ความว่าไม่เห็นตนของตน ที่พึงนำเข้าไปในความกังวล
สำหรับใครอื่น อธิบายว่าไม่เห็นว่าพี่ชายควรสำคัญนำเข้าไปในฐานะพี่ชายสหาย
ในฐานะสหายหรือบริขารในฐานะบริขาร ดังนี้ . ในบทว่า น จ มม กวฺจินิ นี้
เว้นมมศัพท์ไว้ก่อน มีความดังนี้ว่า พระขีณาสพไม่เห็นตนว่ามีกังวลอยู่ในสิ่ง

ไหน ๆ ของใคร และความกังวลในสิ่งไหน ๆ ในใคร บัดนี้ นำมมศัพท์มา
มีความว่า ความกังวลในสิ่งไร ๆ ไม่มีแก่เรา เพราะเหตุนั้น ผู้ใดไม่เห็นว่า
ตนของคนอื่นย่อมมีแก่เราในความกังวลในสิ่งไหน ๆ ผู้นั้นชื่อว่า ไม่เห็นตน
ของคนอื่นควรนำเข้ามาด้วยความกังวลนี้ ไม่ว่าในฐานะไร ๆ คือ พี่ชายใน
ฐานะเป็นพี่ชายของตน สหายในฐานะเป็นสหาย บริขารในฐานะเป็นบริขาร
ดังนี้. เพราะเหตุที่พราหมณ์นี้เป็นอย่างนี้ ฉะนั้นจึงไม่เห็นตนในที่ไหน ๆ
ไม่เห็นตน ที่ควรนำเข้าไปในความกังวลของคนอื่น ไม่เห็นตนของคน
อื่นที่ควรนำเข้าไปในความกังวลของตน. บทว่า อิติ วทํ พฺรหฺมโณ พึง
ทราบความว่า พราหมณ์ผู้เป็นขีณาสพ แม้กล่าวสุญญตาความสูญทั้ง 4 เงื่อน
ชื่อว่ากล่าวความจริงทั้งนั้น เพราะรู้แจ้งโดยชอบปฏิปทานั้นแล้ว มิได้กล่าว
เท็จเลย ทั้งไม่สำคัญ เพราะตนละความสำคัญทั้งหลายในทุกวาระได้แล้ว.
บทว่า อากิญฺจญฺญํเยว ปฏิปทํ ได้แก่ ปฏิปทาอันเว้นจากความ
กังวล ไม่มีห่วงใย ไม่ยึดถือนั้นเอง. บทว่า ปฏิปนฺโน โหติ ได้แก่
บำเพ็ญเต็มที่. บทว่า อิมานิ โข ปริพฺพาชกา ฯเปฯ ปเวทิตานิ
ความว่า เรารู้สัจจะ 4 เหล่านี้ของพราหมณ์ผู้มีบาปอันลอยแล้ว นอกไปจาก
สัจจะของท่านพราหมณ์ ที่ท่านกล่าวด้วยมรรค 4 กิจ 16 อย่าง แล้วจึง
ประกาศแสดงอย่างชัดแจ้ง ในสูตรนี้ตรัสวจีสัจอย่างเดียวสำหรับพระขีณาสพ
ในฐานะแม้ 4 แล.
จบอรรถกถาพราหมณสัจจสูตรที่ 5

6. อุมมังคสูตร


พระพุทธองค์ทรงตอบปัญหาของพระภิกษุ


[186] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่
ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โลกอันอะไร
หนอแลนำไป โลกอันอะไรชักมา และบุคคลย่อมลุอำนาจของอะไรที่บังเกิด
ขึ้นแล้ว ? พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ ดีละ ภิกษุ ปัญญาของเธอ
หลักแหลม ปฏิภาณของเธอดีจริง ปริปุจฉาของเธอเข้าที เธอถามอย่างนี้ว่า
โลกอันอะไรหนอแลนำไป โลกอันอะไรชักมา และบุคคลย่อมลุอำนาจของ
อะไรที่บังเกิดขึ้นแล้ว ดังนี้หรือ ?
ภิก. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุ โลกอันจิตแลนำไป อันจิตชักมา และบุคคลย่อมลุ
อำนาจของจิตที่บังเกิดขึ้นแล้ว.
ภิกษุนั้นชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ดีแล้ว
พระเจ้าข้า แล้วได้ทูลถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า
บุคคลเป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม ดังนี้ ?
ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล บุคคลจึงเป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม ?
พ. ดีละ ดีละ ภิกษุ ปัญญาของเธอหลักแหลม ปฏิภาณของเธอ
ดีจริง ปริปุจฉาของเธอเข้าที เธอถามอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ที่เรียกว่า บุคคลเป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม
ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไรหนอแล บุคคลจึงเป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม
ดังนี้หรือ ?