เมนู

อรรถกถาอภยสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอภยสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
โรคนั่นแหละ ชื่อว่า โรคาตัวกะ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุทำชีวิตให้
ลำบาก. บทว่า ผุฏฐสฺส ได้แก่ประกอบด้วยโรคาตังกะนั้น . บทว่า อุรตฺตาฬี
กนฺทติ
ได้แก่ ทุบตีอกค่ำไห้. บุญกรรมท่านเรียกว่า กัลยาณะ ในบทมี
อาทิว่า อกตกลฺยาโณ ดังนี้. ชื่อว่า อกตกลฺยาโณ เพราะเขาไม่ได้ทำ
บุญกรรมนั้นไว้. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. จริงอยู่ บุญกรรมนั่นแล
ชื่อว่า กุศล เพราะเกิดจากความฉลาด. กุศลท่านเรียกว่า ภีรุตตาณะ เพราะ
เป็นเครื่องป้องกันสำหรับคนกลัว. อกุศลกรรมอันลามก ท่านเรียกว่า บาป
ในบทมีอาทิว่า กตปาโป ดังนี้. บทว่า ลุทฺทํ ได้แก่ กรรมหยาบช้า. บทว่า
กิพฺพิสํ ได้แก่ กรรมไม่บริสุทธิ์มีมลทิน. บทว่า กงฺขี โหติ ได้แก่
เป็นผู้ประกอบด้วยความสงสัยในฐานะทั้ง 8 คือ ในพุทธคุณ ธรรมคุณ และ
สังฆคุณ ในสิกขา ในอดีต ในอนาคต ทั้งในอดีตและอนาคต และใน
ปฏิจจสมุปบาท. บทว่า วิจิกิจฺฉี ได้แก่ เป็นผู้ประกอบด้วยความลังเลใจ
คือไม่ถึงความตกลงใจในพระสัทธรรมคำสั่งสอน ไม่สามารตกลงใจด้วยการ
เรียนและการสอบถาม. พึงทราบความในบททั้งหมดโดยนัยนี้ .
จบอรรถกถาอภยสูตรที่ 4

5. พราหมณสัจจสูตร


ว่าด้วยสัจจะของพราหมณ์ในธรรมวินัย 4 อย่าง


[185] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฎ
ใกล้พระนครราชคฤห์ สมัยนั้นแล ปริพาชกผู้มีชื่อเสียงมากด้วยกัน คือ
ปริพาชกชื่ออันนภาระ ชื่อวธระ ชื่อสกุลุทายี และปริพาชกผู้มีชื่อเสียงเหล่าอื่น
อาศัยอยู่ในปริพาชการามฝั่งแม่น้ำสัปปินี ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จออกจากที่เร้นในเวลาเย็น แล้วเสด็จเข้าไปทางปริพาชการามริมฝั่งแม่น้ำ
สัปปินี สมัยนั้นแล ปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น กำลังประชุมสนทนา
กันอยู่ว่า สัจจะของพราหมณ์แม้อย่างนี้ ๆ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ
เข้าไปหาปริพาชกเหล่านั้น ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ ครั้นแล้วได้
ตรัสถามปริพาชกเหล่านั้นว่า ดูก่อนปริพรชกทั้งหลาย บัดนี้ท่านทั้งหลายนั่ง
ประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ และท่านทั้งหลายกำลังนั่งสนทนาอะไร
กันค้างอยู่ ? ปริพาชกเหล่านั้นกราบทูลว่า พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์
ทั้งหลายกำลังนั่งประชุมสนทนากันอยู่ว่า สัจจะของพราหมณ์ แม้อย่างนี้ ๆ.
ว่าด้วยสัจจะของพราหมณ์ 4 ประการ
พ. ดูก่อนปริพาชกทั้งหลาย สัจจะของพราหมณ์ 4 ประการนี้ อัน
เรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ประกาศแล้ว 4 ประการเป็นไฉน ? คือ
พราหมณ์บางคนในโลกนี้ กล่าวอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งปวงไม่ควรฆ่า เมื่อพราหมณ์
กล่าวดังนี้ ชื่อว่ากล่าวจริง มิใช่กล่าวเท็จ และด้วยการกล่าวจริงนั้น เขาไม่
สำคัญตัวว่า เราเป็นสมณะ เราเป็นพราหมณ์ เราเป็นผู้ประเสริฐกว่าเขา