เมนู

อรรถกถาราหุลสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในราหุลสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อชฺฌตฺติกา ได้แก่ ปฐวีธาตุใน 20 ส่วน มีผมเป็นต้น
มีลักษณะแข็ง. บทว่า พาหิรา ได้แก่ พึงทราบปฐวีธาตุในแผ่นหินและ
ภูเขาเป็นต้น อันไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ เป็นภายนอกมีลักษณะแข็ง. พึงทราบ
ธาตุแม้ที่เหลือโดยนัยนี้. บทว่า เนตํ มม เนโสหมสฺมิ น เม โส อตฺตา
(นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา) นี้ ท่านกล่าว
ด้วยอำนาจการปฏิเสธความยึดถือ. ด้วยตัณหามานะและทิฏฐิ. บทว่า สมฺ-
มปฺปญฺญาย ทฏฺฐพฺพํ
ได้แก่ พึงเห็นด้วยมรรคปัญญาโดยเหตุโดยการณ์.
บทว่า ทิสฺวา ได้แก่ เห็นด้วยมรรคปัญญา พร้อมด้วยวิปัสสนา.
บทว่า อจฺเฉชฺชิ ตณฺหํ ได้แก่ ตัดตัณหาที่พึงฆ่าด้วยมรรคพร้อมด้วยมูล.
บทว่า วิวฏฺฏยิ สญฺโญชนํ ได้แก่รื้อ คือเพิกถอนละสังโยชน์ 10 อย่าง.
บทว่า สมฺมามานาภิสมยา ได้แก่ เพราะละมานะ 9 อย่าง โดยเหตุโดยการณ์.
บทว่า อนฺตมกาสิ ทุกฺขสฺส ได้แก่ กระทำวัฏทุกข์ให้ขาดทาง อธิบายว่า
กระทำแล้วยังตั้งอยู่ พระศาสดาตรัสวิปัสสนาไว้ในราหุลวาทสูตรในสังยุตตนิกาย
ด้วยประการฉะนี้. แม้ในจูฬราหุโลวาทสูตรก็ตรัสวิปัสสนาไว้. ตรัสการเว้น
จากมุสาวาทของภิกษุหนุ่มไว้ในราหุโลวาทสูตร ณ อัมพลัฏฐิการาม. ตรัส
วิปัสสนาเท่านั้นในมหาราหุโลวาทสูตร. ตรัสจตุโกฏิกสุญญตาไว้ในอังคุคตร-
นิกายนี้.
จบอรรถกถาราหุลสูตรที่ 7