เมนู

ภิกษุนั้น เธอส้องเสพเจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอส้องเสพเจริญ
กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป
อาวุโสทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม มา
พยากรณ์การบรรลุพระอรหัตในสำนักของเรา ด้วยมรรค 4 นี้ โดยประการ
ทั้งปวง หรือด้วยมรรคใดมรรคหนึ่งใน 4 มรรคนั้น.
จบยุคนันธสูตรที่ 10
จบปฏิปทาวรรคที่ 2

อรรถกถายุคนัทธสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในยุคนัทธสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สมถปุพฺพงฺคมํ ได้แก่ ทำสมถะไปเบื้องหน้า คือ ให้เป็น
ปุเรจาริก. บทว่า มคฺโค สญฺชายติ ได้แก่ โลกุตรมรรคที่ 1 ย่อมเกิดขึ้น.
บทว่า โส ตํ มคฺคํ. ความว่า ชื่อว่าอาเสวนะเป็นต้น ไม่มีแก่มรรคอัน
เป็นไปในขณะจิตเดียว. แต่เมือยังมรรคที่ 2 ให้เกิดขึ้น ท่านกล่าวว่า เธอ
ส้องเสพเจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นนั่นแล. บทว่า วิปสฺสนา ปุพฺพงฺคมํ
ได้แก่ทำวิปัสสนาไปเบื้องหน้า คือ ให้เป็นปุเรจาริก บทว่า สมถํ ภาเวติ
ความว่า โดยปกติผู้ได้วิปัสสนาตั้งอยู่ในวิปัสสนา ย่อมยังสมาธิให้เกิดขึ้น.
บทว่า ยุคนทฺธํ ภเวติ ได้แก่ เจริญทำให้เป็นคู่ติดกันไป. ใน
ข้อนั้น ภิกษุไม่สามารถจะใช้จิตดวงนั้นเข้าสมาบัติ แล้วใช้จิตดวงนั้นนั่นแล
พิจารณาสังขารได้. แต่ภิกษุนี้เข้าสมาบัติเพียงใด ย่อมพิจารณาสังขาร
เพียงนั้น พิจารณาสังขารเพียงใด ย่อมเข้าสมาบัติเพียงนั้น. ถามว่า อย่างไร.