เมนู

เสขพละ 5 นี้คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา อยู่ แต่อินทรีย์
5 คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของเธออ่อน เพราะอินทรีย์ 5
นี้อ่อน เธอย่อมเป็นอสังขารปรินิพพายีเพราะกายแตกไป อย่างนี้แล บุคคล
เป็นอสังขารปรินิพพายีเพราะกายแตกไป

ภิกษุทั้งหลาย นี้แลบุคคล 4 จำพวกมีอยู่ในโลก.
จบสสังขารสูตรที่ 9

อรรถกถาสสังขารสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสสังขารสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้ :-
บุคคลที่ 1 ที่ 2 เป็นสุกขวิปัสสก ยังสังขารนิมิตให้ปรากฏด้วย
ความเพียรเรี่ยวแรง. ในบุคคลเหล่านั้น คนหนึ่ง ย่อมปรินิพพานด้วยกิเลส
ปรินิพพานในอัตภาพนี้ เพราะอินทรีย์คือวิปัสสนามีกำลัง คนหนึ่งปรินิพาน
ไม่ได้ในอัตภาพนี้ เพราะอินทรีย์ไม่มีกำลัง ต่อได้มูลกรรมฐานนั้นเท่านั้นใน
อัตภาพลำดับไป ยังสังขารนิมิตให้ปรากฏด้วยความเพียรเรี่ยวแรงแล้วจึง
ปรินิพพานด้วยกิเลสปรินิพพาน บุคคลที่ 3 ที่ 4 เป็นสมถยานิก (สมถะนำไป).
บรรดาบุคคลเหล่านั้น พึงทราบว่า คนหนึ่งทำกิเลสให้สิ้นไปในอัตภาพนี้
เพราะอินทรีย์มีกำลังด้วยไม่ต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง คนหนึ่งทำกิเลสให้
สิ้นไปไม่ได้อัตภาพในโลกนี้ เพราะอินทรีย์ไม่มีกำลัง ต่อได้มูลกรรมฐานนั้น
เท่านั้น ในอัตภาพลำดับไปทำกิเลสให้สิ้นไปด้วยไม่ต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง
ดังนี้.
จบอรรถกถาสสังขารสูตรที่ 9

10. ยุคนัทธสูตร


ว่าด้วยมรรค 4 ประการ


[170] สมัยหนึ่ง พระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม กรุงโกสัมพี
ท่านเรียกภิกษุทั้งหลายในที่นั้นมา ฯลฯ แสดงธรรมว่า อาวุโสทั้งหลาย
สหธรรมิกผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม พยากรณ์ การบรรลุ
พระอรหัตในสำนักของเรา ด้วยมรรค 4 โดยประการทั้งปวง หรือว่าด้วย
มรรคใดมรรคหนึ่งในมรรค 4 นั้น มรรค 8 เป็นไฉน
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้บำเพ็ญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้าเมื่อเธอ
บำเพ็ญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้าอยู่ มรรคย่อมบังเกิดขึ้น เธอส้องเสพ
เจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอส้องเสพเจริญการทำให้มากซึ่งมรรค
นั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้บำเพ็ญสมถะมีวิปัสสนาเป็น
เบื้องหน้า เมื่อเธอบำเพ็ญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้าอยู่ มรรคย่อมบังเกิด
ขึ้น เธอส้องเสพเจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอส้องเสพเจริญการทำ
ให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้บำเพ็ญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่
กันไป เมื่อเธอบำเพ็ญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันไปอยู่ มรรคย่อมบังเกิดขึ้น
เธอส้องเสพเจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้นเมื่อเธอส้องเสพเจริญกระทำให้มาก
ซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป
อีกอย่างหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรมแล้ว สมัยนั้น
จิตนั้นย่อมตั้งมั่น หยุดนิ่งอยู่ภายในเป็นหนึ่งแน่วแน่เป็นสมาธิ มรรคย่อมเกิดแก่