เมนู

ขิปฺปาภิญฺญา (ปฏิบัติยากรู้ได้เร็ว). เพราะฉะนั้น ท่านมหาโมคคัลลานะ
จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ยายํ ปฏิปทา ทุกฺขา ขิปฺปาภิญฺญา อิมํ เม ปฏิปทํ
อาคมฺม อนุปาทาย อาสเวหิ จิตฺตํ วิมุตฺตํ
(จิตของผมหลุดพ้นแล้ว
จากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน เพราะอาศัย ทุกฺขาปฏิปทา
ขิปฺปาภิญฺญา
(ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว) ดังนี้.
จบอรรถกถามหาโมคคัลลานสูตรที่ 7

8. สารีปุตตสูตร


ว่าด้วยพระมหาโมคคัลลานะไปหาพระสารีบุตร


[168] ครั้งนั้น พระมหาโมคคัลลานะ ไปหาพระสารีบุตร
ได้ปราศรัยชื่นชมกับพระสารีบุตร ฯลฯ ได้ถามพระสารีบุตรว่า อาวุโส
สารีบุตรูปฏิปทา 4 นี้ คือ ทุกฺขาปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ฯลฯ สุขาปฏิปทา
ขิปฺปาภิญฺญา
จิตของท่านสิ้นความยึดถือ หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะ
อาศัยปฏิปทาอย่างไหนในปฎิปทา 4 นี้
พระสารีบุตรตอบว่า อาวุโสโมคคัลลานะ ปฎิปทา 4 นี้ คือ
ทุกฺขาปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ฯลฯ สุขาปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา จิตของ
ข้าพเจ้าสิ้นความยึดถือ หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัย สุขาปฏิปทา
ขิปฺปาภิญฺญา.

จบสารีบุตตสูตรที่ 8

อรรถกถาสารีปุตตสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสารีปุตตสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้ :-
มรรค 3 เบื้องต่ำ ของพระธรรมเสนาบดีเถระได้เป็น สุขาปฏิปทา
ทนฺธาภิญฺญา
(ปฏิบัติง่าย รู้ช้า) อรหัตมรรคเป็น สุขาปฏิปทา
ขิปฺปาภิญฺญา
(ปฏิบัติง่าย รู้เร็ว) เพราะฉะนั้น ท่านพระสารีบุตรเถระ
จึงกล่าวว่า ยายํ ปฏิปทา สุขา ขิปฺปาภิญฺญา ดังนี้ เป็นอาทิ. ก็ในสองสูตร
เหล่านี้ พึงทราบว่าท่านกล่าวปฏิปทาคละกัน .
จบอรรถกถาสารีปุตตสูตรที่ 8

9. สสังขารสูตร


ว่าด้วยบุคคล 4 จำพวก


[169] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
4 จำพวกเป็นไฉน บุคคลบางคนเป็นสสังขรปรินิพพายีในภพปัจจุบัน 1
บุคคลบางคนเป็นสังขารปรินิพพายีเพราะกายแตกไป 1 บุคคลบางคนเป็นอสัง-
ขารปรินิพพายีในภพปัจจุบัน 1 บุคคลบางคนเป็นอสังขารปรินิพพายีเพราะกาย
แตกไป 1
บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีในภพปัจจุบันเป็นอย่างไร ? ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้พิจารณาเป็นความไม่งามในร่างกาย มีความสำคัญปฏิกูลใน
อาหาร มีความสำคัญไม่น่าเพลิดเพลินดีในโลกทั้งปวง พิจารณาเห็นความ