เมนู

ขิปฺปาภิญฺญา (ปฏิบัติยากรู้ได้เร็ว). เพราะฉะนั้น ท่านมหาโมคคัลลานะ
จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ยายํ ปฏิปทา ทุกฺขา ขิปฺปาภิญฺญา อิมํ เม ปฏิปทํ
อาคมฺม อนุปาทาย อาสเวหิ จิตฺตํ วิมุตฺตํ
(จิตของผมหลุดพ้นแล้ว
จากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน เพราะอาศัย ทุกฺขาปฏิปทา
ขิปฺปาภิญฺญา
(ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว) ดังนี้.
จบอรรถกถามหาโมคคัลลานสูตรที่ 7

8. สารีปุตตสูตร


ว่าด้วยพระมหาโมคคัลลานะไปหาพระสารีบุตร


[168] ครั้งนั้น พระมหาโมคคัลลานะ ไปหาพระสารีบุตร
ได้ปราศรัยชื่นชมกับพระสารีบุตร ฯลฯ ได้ถามพระสารีบุตรว่า อาวุโส
สารีบุตรูปฏิปทา 4 นี้ คือ ทุกฺขาปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ฯลฯ สุขาปฏิปทา
ขิปฺปาภิญฺญา
จิตของท่านสิ้นความยึดถือ หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะ
อาศัยปฏิปทาอย่างไหนในปฎิปทา 4 นี้
พระสารีบุตรตอบว่า อาวุโสโมคคัลลานะ ปฎิปทา 4 นี้ คือ
ทุกฺขาปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ฯลฯ สุขาปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา จิตของ
ข้าพเจ้าสิ้นความยึดถือ หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัย สุขาปฏิปทา
ขิปฺปาภิญฺญา.

จบสารีบุตตสูตรที่ 8