เมนู

7. โมคคัลลานสูตร


ว่าด้วยพระสารีบุตรไปหาพระมหาโมคคัลลานะ


[167] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรไปหาท่านพระมหาโมคคัล-
ลานะ
ถึงทีอยู่ ได้ปราศรัยชื่นชมกับพระมหาโมคคัลลานะ ครั้นกล่าวถ้อยคำ
ที่ทำให้เกิดความยินดีต่อกันเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่งลง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง
ได้ถามพระมหาโมคคัลลานะว่า อาวุโส โมคคัลลานะ ปฏิปทา 4 นี้ คือ
ทุกฺขาปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ฯลฯ สุขาปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา จิตของ
ท่านสิ้นความยึดถือ หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยปฏิปทาอย่างไหน
ในปฏิปทา 4 นี้
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า อาวุโสสารีบุตร ปฏิปทา 4 นี้ คือ
ทุกฺขาปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ฯลฯ สุขาปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา จิตของ
ข้าพเจ้าสิ้นความยึดถือ หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัย ทุกฺขา-
ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา

จบโมคคัลลานสูตรที่ 7

อรรถกถาโมคคัลลานสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในโมคคัลลานสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
มรรค 3 เบื้องต่ำ ของพระมหาโมคคัลลานเถระได้เป็น สุขาปฏิปทา
ทนฺธาภิญฺญา
(ปฏิบัติง่ายรู้ได้ช้า) อรหัตมรรค เป็นทุกฺขาปฏิปทา

ขิปฺปาภิญฺญา (ปฏิบัติยากรู้ได้เร็ว). เพราะฉะนั้น ท่านมหาโมคคัลลานะ
จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ยายํ ปฏิปทา ทุกฺขา ขิปฺปาภิญฺญา อิมํ เม ปฏิปทํ
อาคมฺม อนุปาทาย อาสเวหิ จิตฺตํ วิมุตฺตํ
(จิตของผมหลุดพ้นแล้ว
จากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน เพราะอาศัย ทุกฺขาปฏิปทา
ขิปฺปาภิญฺญา
(ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว) ดังนี้.
จบอรรถกถามหาโมคคัลลานสูตรที่ 7

8. สารีปุตตสูตร


ว่าด้วยพระมหาโมคคัลลานะไปหาพระสารีบุตร


[168] ครั้งนั้น พระมหาโมคคัลลานะ ไปหาพระสารีบุตร
ได้ปราศรัยชื่นชมกับพระสารีบุตร ฯลฯ ได้ถามพระสารีบุตรว่า อาวุโส
สารีบุตรูปฏิปทา 4 นี้ คือ ทุกฺขาปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ฯลฯ สุขาปฏิปทา
ขิปฺปาภิญฺญา
จิตของท่านสิ้นความยึดถือ หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะ
อาศัยปฏิปทาอย่างไหนในปฎิปทา 4 นี้
พระสารีบุตรตอบว่า อาวุโสโมคคัลลานะ ปฎิปทา 4 นี้ คือ
ทุกฺขาปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ฯลฯ สุขาปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา จิตของ
ข้าพเจ้าสิ้นความยึดถือ หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัย สุขาปฏิปทา
ขิปฺปาภิญฺญา.

จบสารีบุตตสูตรที่ 8