เมนู

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเหล่าใดเป็นพหูสูต เล่าเรียนนิกาย ทรงธรรม
ทรงวินัย ทรงมาติกา ภิกษุเหล่านั้นเลาใจใส่บอกสอนสูตรแก่ผู้อื่น เมื่อภิกษุ
เหล่านั้นล่วงไป สูตรก็ไม่ขาดมูล (อาจารย์) มีที่อาศัยสืบกันไป นี้ธรรม
ประการที่ 3 เป็นเหตุให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่เลอะเลือนอันตรธานไป
อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ใหญ่ ๆ ไม่เป็นผู้สะสมบริขาร ไม่ปฏิบัติ
ย่อหย่อน เป็นผู้ทอดธุระในการลาสิกขา มุ่งหน้าไปทางปวิเวก ทำความเพียร
เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม
ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง หมู่ชนผู้เกิดมาภายหลัง ได้เยี่ยงอย่างภิกษุผู้ใหญ่เหล่านั้น
ก็พากันเป็นผู้ไม่สะสมบริขาร ไม่ปฏิบัติย่อหย่อน เป็นผู้ทอดธุระในการลาสิกขา
มุ่งหน้าไปทางปวิเวก ทำความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้งไปตามกัน นี้ธรรม
ประการที่ 4 เป็นเหตุให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่เลอะเลือนอันตรธานไป
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลธรรม 4 ประการ เป็นเหตุให้พระสัทธรรม
ตั้งอยู่ ไม่เลอะเลือนอันตรธาน.
จบสุคตสูตรที่ 10
จบอินทริยวรรคที่ 1

อรรถกถาสุคตสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสุคตสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ทุคฺคหิตํ ได้แก่ ถือกันมานอกลำดับ. บทว่า ปริยาปุณนฺติ
ได้แก่ ถ่ายทอดมาคือกล่าว. ก็ในบทว่า ปทพฺยญฺชเนหิ นี้ ท่านกล่าวว่า

บทของความนั่นแหละเป็นพยัญชนะโดยพยัญชนะ. บทว่า ทุนฺนิกฺขิตฺตสฺส
ได้แก่ใช้ผิด คือตั้งไว้นอกลำดับ. บทว่า อตฺโถปิ ทุนฺนโย โหติ ได้แก่
ไม่อาจจะนำอรรถกถาออกมากล่าวได้. บทว่า ฉินฺนมูลโก ได้แก่ ชื่อว่า
ฉินฺนมูลก เพราะขาดภิกษุผู้เป็นมูล (อาจารย์). บทว่า อปฺปฏิสรโณ คือ
ไม่มีที่พึ่ง. บทว่า พาหุลฺลิกา ได้แก่ ปฏิบัติเพื่อสะสมปัจจัย. บทว่า สาถลิกา
ได้แก่ ถือไตรสิกขาย่อหย่อน. บทว่า โอกฺกมเน ปุพฺพงฺคมา ได้แก่
นิวรณ์ 5 ท่านเรียกว่า โอกกมนะ เพราะเดินลงต่ำ (เสื่อม) อธิบายว่า
มุ่งไปในโอกกมนะนั้น (มุ่งไปในทางจะลาสิกขา). บทว่า ปวิเวเก ได้แก่
วิเวก 3. บทว่า นิกฺขิตฺตธุรา ได้แก่ ไม่มีความเพียร. พึงทราบความใน
ที่ทั้งปวงในสูตรนี้ .
จบอรรถกถาสุคตสูตรที่ 10
จบอินทริยวรรควรรณนาที่ 1

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. อินทริยสูตร 2. ปฐมพลสูตร 3. ทุติยพลสูตร 4. ตติยพล-
สูตร 5. จตุตถพลสูตร 6. กัปปสูตร 7. โรคสูตร 8. ปริหานิสูตร
9. ภิกขุนีสูตร 10. สุคตสูตร และอรรถกถา.