เมนู

อันเป็นที่ตั้งแห่งความหลง ภิกษุเช่นนั้น
ไม่ควรเพื่อบรรลุสัมโพธิญาณอันอุดม.
ภิกษุใดเดินอยู่หรือยืนอยู่ นั่งอยู่
หรือนอนอยู่ รำงับวิตก (อันเป็นบาป)
ขึ้นดีในทางรำงับวิตกแล้ว ภิกษุเช่นนั้น
ย่อมอาจเพื่อบรรลุสัมโพธิญาณอันอุดม.

จบจารสูตรที่ 1

จรวรรควรรณนาที่ 2



อรรถกถาจารสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในจารสูตรที่ 1 แห่งจรวรรคที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อธิวาเสติ ได้แก่ ยกขึ้นไว้ให้อยู่ในจิต (คือพักไว้). บทว่า
น ปชหติ ได้แก่ ไม่สละ. บทว่า น วิโนเทติ ได้แก่ ไม่นำออก.
บทว่า น พฺยนฺตีกโรติ ได้แก่ ไม่ทำให้สิ้นสุด คือตัดหนทาง. บทว่า
น อนภาวํ คเมติ ได้แก่ ไม่ทำให้ถึงความไม่มีไม่เจริญ คือ ย่อยยับไป.
บทว่า จรมฺปิ คือ แม้เดินอยู่. บทว่า อนาตาปิ คือ ไม่มีความเพียร.
บทว่า อโนตฺตาปิ คือ เว้น จากความกลัวการตำหนิติเตียน. บทว่า สตตํ
คือ เป็นนิตย์. บทว่า สมิตํ คือ ไม่มีระหว่าง. ผู้ศึกษาทราบความในทุกบท
อย่างนั้นแล้ว พึงทราบความตามปริยายที่กล่าวไว้แล้วในสุกกปักษ์ฝ่ายธรรมขาว.

ในคาถา พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ บทว่า เคหนิสฺสิตํ ได้แก่
อาศัยกิเลส. บทว่า โมหเนยฺเยสุ ได้แก่ ในอารมณ์ที่ให้เกิดความหลง.
บทว่า อภพฺโพ ได้แก่ไม่เป็นดังภาชนะที่รองรับ. บทว่า ผุฏฺฐํ สมฺโพธิ
มุตฺตมํ
ได้แก่ เพื่อสัมผัสอุดมญาณกล่าวคือ พระอรหัต.
จบอรรถกถาจารสูตรที่ 1

2. สีลสูตร


ว่าด้วยปริสุทธิศีล 4


[12] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้มีศีลถึงพร้อมมี
ปาฏิโมกข์ถึงพร้อมอยู่เถิด จงสำรวมในปาฏิโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและ
โคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษมาตรว่าน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
ทั้งหลายเถิด เมื่อท่านทั้งหลายมีศีลถึงพร้อมมีปาฏิโมกข์ถึงพร้อมอยู่ สำรวม
ในปาฏิโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นภัยให้โทษมาตรว่า
น้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายอยู่. อะไรเป็นกิจที่จะพึงทำต่อไป ?
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุเดินอยู่ก็ดี ยืนอยู่ก็ดี นั่งอยู่ก็ดี
นอนอยู่ไม่หลับก็ดี อภิชฌาปราศไป พยาบาทปราศไป ถีนมิทธะ อุทธัจจะ
กุกกุจจะ วิจิกิจฉา ภิกษุก็ละได้ ความเพียรทำไม่ย่อหย่อน สติตั้งมั่นไม่
ฟั่นเฟือน กายรำงับไม่กระสับกระส่าย จิตเป็นสมาธิแน่วแน่ ภิกษุเดินอยู่
เป็นอย่างนี้ก็ดี ยืนอยู่เป็นอย่างนี้ก็ดี นั่งอยู่เป็นอย่างนี้ก็ดี นอนอยู่ไม่หลับ
เป็นอย่างนี้ก็ดี เราเรียกว่า ผู้มีอาตาปะ มีโอตตัปปะ มีความเพียรอัน
ทำแล้ว มีใจเด็ดเดี่ยวเนืองนิตย์.