เมนู

อรรถกถาทุติยอัจฉริยสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในทุติยอัจฉริยสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้ :-
เบญจกามคุณหรือวัฏฏะทั้งสิ้น ชื่อว่า อาลัย เพราะอรรถว่า
พึงถูกตัณหาและทิฏฐิยึดไว้. ชื่อว่า อารามะ เพราะเป็นที่ยินดี. อาลัยเป็นที่
ยินดีของหมู่สัตว์นี้ เหตุนั้น หมู่สัตว์นี้จึงชื่ออาลยารามะมีอาลัยเป็นที่ยินดี.ชื่อว่า
อาลยรตะเพราะยินดีแล้วในอาลัย. ชื่อว่าอาลยสัมมุทิตะ เพราะบันเทิงแล้วใน
อาลัย. บทว่า อนาลเย ธมฺเม ความว่า อริยธรรมอาศัยวิวัฏฏนิพพานที่ตรงกัน
ข้ามกับอาลัย. บทว่า สุสฺสุสติ คือเป็นผู้ใคร่จะฟัง. บทว่า โสตํ โอทหติ
แปลว่า เงี่ยโสต. บทว่า อญฺญาจิตฺตํ อุปฏฺฐเปติ ความว่า เข้าไปตั้งจิต
เพื่อจะรู้ทั่วถึงธรรม. บทว่า มาโน คือ ความสำคัญ หรือวัฏฏะทั้งสิ้นนั้นแล
ชื่อว่ามานะ เพราะอรรถว่าหมู่สัตว์พึงสำคัญ. บทว่า มานวินเย ธมฺเม คือ
ธรรมที่เป็นเครื่องกำจัดเสียซึ่งมานะ. ธรรมที่ตรงกันข้ามกับความสงบ ชื่อว่า
อนุปสมณะหรือวัฏฏะนั่นเอง ชื่อว่าอนุปสมะ เพราะอรรถว่าไม่สงบแล้ว. บทว่า
โอปสมิเก ได้แก่ ธรรมที่ทำความสงบคืออาศัยวิวัฏฏะคือนิพพาน. ชื่อว่า
อวิชชาคตะ เพราะไปคือประกอบด้วยอวิชชา. ชื่อว่าอันธภูตะ เพราะเป็น
ดุจคนตาบอด เพราะถูกกองมืดคืออวิชชาปกคลุมไว้. ชื่อว่าปรโยนัทธา เพราะ
หุ้มไว้รอบด้าน. ในบทว่า อวิชฺชาวินเย พระอรหัตเรียกว่าธรรมเป็นเครื่อง
กำจัดอวิชชา เมื่อธรรมที่อาศัยธรรมเป็นเครื่องกำจัดอวิชชานั้น อันพระตถาคต
แสดงอยู่. ในสูตรนี้ตรัสวัฏฏะไว้ 4 ฐานะ ตรัสวิวัฏฏะไว้ 4 ฐานะ ด้วย-
ประการฉะนี้.
จบอรรถกถาทุติยอัจฉริยสูตรที่ 8