เมนู

เป็นเหตุ ให้สติบริสุทธิ์อยู่ บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจจตุตถฌานนั้น และถึง
ความปลื้มใจด้วยจตุตถฌานนั้น ตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น น้อมใจไปในจตุตถ-
ฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยจตตุถฌานนั้น ไม่เสื่อม เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้า
ถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าเวหัปผละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย 500 กัป
เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าเวหัปผละ ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น
ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณ
อายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน ระหว่างอริย-
สาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวก นี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก.
จบปฐมฌานสูตรที่ 3

อรรถกถาปฐมฌานสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในปฐมฌานสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ตทสฺสาเทติ ความว่า ย่อมติดใจฌานนั้นด้วยติดใจสุข.
บทว่า นิกาเมติ แปลว่า ยังปรารถนา. บทว่า วิตฺตึ อาปชฺชติ คือ
ถึงความยินดี. บทว่า ตทธิมุตฺโต คือ ปักใจในฌานนั้น หรือน้อมใจไปสู่
ฌานนั้น. บทว่า ตพฺพหุลวิหารี ได้แก่ อยู่มากด้วยฌานนั้น. บทว่า
สหพฺยตํ อุปปชฺชติ ความว่า ย่อมไปอยู่ร่วมกัน คือ ย่อมเกิดในในเทวดา
เหล่าเวหัปผละนั้น.