เมนู

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในเหตุเพื่อทำสิ่งที่พอใจ และเหตุนั้นเมื่อ
ทำเข้าย่อมเป็นไป เพื่อความฉิบหาย พึงทราบคนพาลและบัณฑิต ในเพราะ
กำลังของบุรุษ ในเพราะความเพียรของบุรุษ ในเพราะความบากบั่นของบุรุษ
คน พาลย่อมไม่สำเหนียกดังนี้ว่า เหตุนี้เพื่อทำสิ่งที่พอใจก็จริง ถึงอย่างนั้น
เหตุนี้เมื่อทำเข้าย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหาย ดังนี้ เขาย่อมกระทำเหตุนั้น
เหตุนั้นอันเขากระทำอยู่ ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหาย ส่วนบัณฑิตย่อมสำเหนียก
ดังนี้ว่า เหตุนี้เพื่อทำสิ่งที่พอใจก็จริง ถึงอย่างนั้น เหตุนี้เมื่อทำเข้า ย่อม
เป็นไปเพื่อความฉิบหาย ดังนี้ เขาย่อมไม่กระทำเหตุนั้น เหตุนั้นอันเขา
ไม่กระทำอยู่ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุเพื่อทำสิ่งที่พอใจ และเหตุนั้นเมื่อทำเข้า
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ บัณฑิตย่อมสำคัญว่า ควรทำโดยส่วนทั้ง 2 ทีเดียว
คือ ย่อมสำคัญว่า ควรทำโดยเหตุเพื่อทำสิ่งที่พอใจ และโดยเหตุที่เมื่อทำเข้า
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เหตุนี้ บัณฑิตย่อมสำคัญว่า ควรทำโดยส่วนทั้ง 2
ทีเดียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุ 4 ประการนี้แล.
จบฐานสูตรที่ 5

อรรถกถาฐานสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในฐานสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ฐานานิ ได้แก่ เหตุ. บทว่า อนตฺถาย สํวตฺตติ ความว่า
ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อมิใช่ความเจริญ. ก็ในคำนี้ พึงทราบ
กุศลกรรมที่สัมปยุตด้วยโสมนัส ในบทเป็นต้นอย่างนี้ว่า บาปกรรมมีทุกข์

มีความคับแค้นซึ่งต่างโดยขุดบ่อจับปลาตัดช่องของเขาเป็นต้น พึงทราบว่า
เป็นฐานะที่ 1 การงานมีการทิ้งขยะดอกไม้เป็นต้น และการงานมีการโบก
ปูนขาว มุงเรือนและกวาดสถานที่ไม่สะอาดเป็นต้น สำหรับคฤหัสถ์ผู้เลี้ยงชีพ
โดยชอบ พึงทราบว่าเป็นฐานะที่ 2 กรรมมีการดื่มสุราลูบไล้ของหอมและการ
ประดับดอกไม้เป็นต้น และกรรมมีปาณาติบาตเป็นต้น ที่เป็นไปแล้วด้วย
อำนาจความยินดี พึงทราบว่า เป็นฐานะที่ 3 กุศลกรรมที่ประกอบด้วย
โสมนัสในกิจกรรมเป็นต้นอย่างนี้ คือ การนุ่งห่มผ้าสะอาด ถือเอาดอกไม้
และของหอมเป็นต้นไปในเวลาไปฟังธรรม การไหว้พระเจดีย์ การไหว้ต้นโพธิ์
การฟังธรรมกถาอันไพเราะ การสมาทานศีล 5 พึงทราบว่า เป็นฐานะที่ 4.
บทว่า ปุริสถาเม ความว่า ในเรี่ยวแรงคือญาณของบุรุษ. แม้ในบทที่เหลือ
ก็นัยนี้แล.
จบอรรถกถาฐานสูตรที่ 5

6. อัปปมาทสูตร


ว่าด้วยความไม่ประมาทโดยฐานะ 4 ประการ


[116] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ควรทำความไม่ประมาทโดยฐานะ 4
ประการ 4 ประการเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละกาย-
ทุจริต จงเจริญกายสุจริต และอย่าประมาทในการละกายทุจริตและการเจริญ
กายสุจริตนั้น จงละวจีทุจริต จงเจริญวจีสุจริต และอย่าประมาทในการละ
วจีทุจิตและการเจริญวจีสุจริตนั้น จงละมโนทุจริต จงเจริญมโนสุจริต และ
อย่าประมาทในการละมโนทุจริตและการเจริญมโนสุจริตนั้น จงละมิจฉาทิฏฐิ