เมนู

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อดทนอย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ไปได้เร็วอย่างไร ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ ทิศใดที่ตนไม่เคยไป โดยกาลนานนี้ คือ ความระงับสังขารทั้งปวง
ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ
นิพพาน เป็นผู้ไปสู่ทิศนั้นได้เร็ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไปได้เร็ว
อย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการนี้แล
ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา เป็น
ผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า.
จบนาคสูตรที่ 4

อรรถกถานาคสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในนาคสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อฏฺฐิกตฺวา คือ เป็นประโยชน์. มโหระทึก ชื่อว่า ติณวะ
ในคำนี้ ว่า ติณวนินฺนาทสทฺทานํ. บทว่า นินฺนาทสทฺโท ได้แก่
เสียงดังผสมผสานเป็นอันเดียวกัน แม้ของเครื่องตีเป่าทุกอย่าง. ในบทว่า
ฑํสา เป็นต้น บทว่า ฑํสา ได้แก่ เหลือบ. บทว่า มกสา ได้แก่ ยุง.
บทว่า ขิปฺปญฺเญว คนฺตา โหติ ความว่า ภิกษุบำเพ็ญศีล สมาธิปัญญา
วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะแล้วไปเร็วพลัน.
จบอรรถกถานาคสูตรที่ 4

5. ฐานสูตร


เหตุแห่งความเสื่อมและความเจริญ 4 ประการ


[115] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุ 4 ประการนี้ ประการเป็นไฉน ?
คือ เหตุเพื่อ ทำสิ่งที่ไม่พอใจ และเหตุนั้นเมื่อทำเข้า ย่อมเป็นไปเพื่อความ
ฉิบหาย 1 เหตุเพื่อทำสิ่งที่ไม่พอใจ และเหตุนั้นเมื่อทำเข้า ย่อมเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์ 1 เหตุเพื่อทำสิ่งที่พอใจ และเหตุนั้นเมื่อทำเข้า ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความฉิบหาย 1 เหตุเพื่อทำสิ่งที่พอใจ และเหตุนั้นเมื่อทำเข้า ย่อมเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเหตุ 4 ประการนั้น เหตุเพื่อทำสิ่งที่
ไม่พอใจ และเหตุนั้นเมื่อทำเข้าย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายนี้ บัณฑิตย่อม
สำคัญว่าไม่ควรทำโดยส่วนทั้งสองทีเดียว คือ บัณฑิตย่อมสำคัญว่า ไม่-
ควรทำแม้โดยเหตุเพื่อทำสิ่งที่ไม่พอใจ ย่อมสำคัญว่า ไม่ควรทำแม้โดยเหตุที่
เมื่อทำเข้าย่อมเป็น. ไปเพื่อความฉิบหาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุนี้ บัณฑิต
ย่อมสำคัญว่าไม่ควรทำโดยส่วนทั้งสองทีเดียว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเหตุเพื่อทำสิ่งที่ไม่พอใจ และเหตุนั้นเมื่อ
ทำเข้า ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ พึงทราบคนพาลและบัณฑิตได้ ในเพราะ
กำลังของบุรุษ ในเพราะความเพียรของบุรุษ ในเพราะความบากบั่นของบุรุษ
คนพาลย่อมไม่สำเหนียกดังนี้ว่า เหตุนี้เพื่อทำสิ่งที่ไม่พอใจก็จริง ถึงอย่างนั้น
เหตุนี้เมื่อทำเข้าย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ ดังนี้ เขาย่อมไม่กระทำเหตุนั้น
เหตุนั้นอันเขาไม่การทำอยู่ ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหาย ส่วนบัณฑิตย่อม
สำเหนียกดังนี้ว่า เหตุนี้เพื่อทำสิ่งที่ไม่พอใจก็จริง ถึงอย่างนั้น เหตุนี้เมื่อทำ
เข้าย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ดังนี้ เขาย่อมกระทำเหตุนั้น เหตุนั้นอันเขา
กระทำอยู่ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์.