เมนู

อรรถกถาอังคุตตรนิกาย ชื่อ มโนรถปูรณี


จตุกนิบาตวรรณนา



ปฐมปัณณาสก์


ภัณฑคามวรรควรรณนาที่ 1



อรรถกถาอนุพุทธสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอนุพุทธสูตรที่ 1 แห่งจตุกนิบาต ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อนนุโพธา ได้แก่ เพราะไม่รู้ เพราะไม่ทราบ บทว่า
อปฺปฏิเวธา ได้แก่ เพราะไม่แทงตลอด คือ เพราะไม่ทำให้ประจักษ์ บทว่า
ทีฆมทฺธานํ แปลว่า สิ้นกาลนาน. บทว่า สนฺธาวิตํ ได้แก่ แล่นไป
โดยไปจากภพสู่ภพ. บทว่า สํสริตํ ได้แก่ ท่องเที่ยวไป โดยไปมาบ่อย ๆ.
บทว่า มมญฺเจว ตุมฺหากญฺจ แปลว่า อันเราและอันท่านทั้งหลาย. อีก
อย่างหนึ่ง ในบทว่า สนฺธาวิตํ สํสริตํ นี้ พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า
การแล่นไป การท่องเที่ยวไป ได้มีแล้วทั้งแก่เราทั้งแก่ท่านทั้งหลาย บทว่า
อริยสฺส ได้แก่ไม่มีโทษ. ก็ธรรม 3 เหล่านี้ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา พึง
ทาบว่า สัมปยุตตด้วยมรรคและผลแล. ผลเท่านั้น ท่านแสดงโดยชื่อว่า วิมุตติ.
บทว่า ภวตณฺหา ได้แก่ ตัณหาในภพทั้งหลาย. บทว่า ภวเนตฺติ ได้แก่
ตัณหา ดุจเชือกผูกสัตว์ไว้ในภพ. บทนั้นเป็นชื่อของตัณหานั่นแล จริงอยู่
ตัณหานั้นนำสัตว์ทั้งหลายไปสู่ภพนั้น ๆ เหมือนผูกคอโค เพราะฉะนั้น ตัณหา
นั้น ท่านจึงเรียกว่า ภวเนตฺติ. บทว่า อนุตฺตรา ได้แก่ โลกุตระ บทว่า
ทุกฺขสฺสนฺตกโร ได้แก่ ทรงทำที่สุดแห่งวัฏทุกข์. บทว่า จกฺขุมา ได้แก่
ทรงมีจักษุด้วยจักษุทั้ง 5. บทว่า ปรินิพฺพุโต ได้แก่ ปรินิพพานแล้วด้วย

กิเลสปรินิพพาน (คือดับกิเลส). ทรงจบเทศนาตามลำดับอนุสนธิว่า นี้เป็นการ
ปรินิพพานครั้งแรกของพระศาสดานั้น ณ โพธิมัณฑสถาน. แต่ภายหลังพระองค์
ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุดับขนธ์ ณ ระหว่างไม่สาละคู่ดังนี้.
อรรถกถาอนุพุทธสูตรที่ 1

2. ปปติตสูตร


ว่าด้วยผู้ตกจากพระธรรมวินัย


[2] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม . ประการ
เรียกว่า ผู้ตกจากพระธรรมวินัยนี้ ธรรม 8 ประการ คืออะไรบ้าง คือ
อริยศีล อริยสมาธิ อริยปัญญา อริยวิมุตติ บุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม
ประการนี้แล เรียกว่า ผู้ตกจากพระธรรมวินัยนี้.
บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการนี้ เรียกว่า ผู้ไม่ตกจากพระ-
ธรรมวินัยนี้ ธรรม 4 ประการคืออะไรบ้าง คือ อริยศีล อริยสมาธิ อริย-
ปัญญา อริยวิมุตติ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการนี้แล เรียกว่า
ผู้ไม่ตกจากพระธรรมวินัยนี้.
(นิคมคาถา)
บุคคลผู้เคลื่อนไป (จากคุณมีอริยศีล
เป็นต้น) ชื่อว่า ตก (จากพระธรรมวินัย)
ผู้ตกแล้ว และยังกำหนัดยินดี ก็ต้องมา
(เกิด) อีก ความสุขย่อมมาถึง ผู้ทำกิจที่
ควรทำแล้ว ยินดีคุณที่ควรยินดีแล้ว โดย
สะดวกสบาย.

จบปปติตสูตรที่ 2