เมนู

ประกาศธรรมหลายปริยาย เหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดเผยของที่ปิด บอกทาง
แก่คนหลงทางหรือส่องตะเกียงในเวลามืดให้คนมีตาดีได้เห็นรูปต่าง ๆ ฉะนั้น
ข้าพระพุทธเจ้าขอถึงพระโคดมผู้เจริญกับพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ
ขอพะระโคดมผู้เจริญทรงจำข้าพระพุทธเจ้าไว้ว่าเป็นอุบาสกถึงสรณะตลอดชีวิต
ตั้งแต่วันนี้ไป.
จบโปตลิยสูตรที่ 10
จบอสุรวรรคที่ 5
จบทุติยปัณณาสก์

อรรถกถาโปตลิยสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในโปตลิยสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กาเลน ความว่า ตามกาลอันควรอันเหมาะ. บทว่า ขมติ
คือชอบใจ บทว่า ยทิทํ ตตฺร ตตฺร กาลญฺญุตา ความว่า การรู้จัก
กาลในสถานที่นั้น ๆ ท่านแสดงว่า การรู้กาลนั้น ๆ แล้วกล่าวติคนที่ควรติ
และกล่าวชมคนที่ควรชม เป็นปกติของบัณฑิตทั้งหลาย.
จบอรรถกถาโปตลิยสูตรที่ 10
จบอสุวรรควรรณนาที่ 5
จบทุติยปัณณาสก์

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. อสุรสูตร 2. ปฐมสมาธิสูตร 3. ทุติยสมาธิสูตร 4. ตติย-
สมาธิสูตร 5. ฉวาลาตสูตร 6. ราคสูตร 7. นิสันติสูตร 8. อัตตหิต-
สูตร 9. สิกขาสูตร 10. โปตลิยสูตร และอรรถกถา.

ตติยปัณณาสก์

วลาหกวรรคที่ 1

10. ปฐมวลาหกสูตร


ว่าด้วยบุคคลเปรียบด้วยวลาหก 4


[101] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์
นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วลาหก (คือเมฆฝน) 4 ประเภทนี้ วลาหก 4
ประเภทคืออะไร คือ
คชฺชิตา โน วสฺสิตา วลาหกคำราม แต่ไม่ตก
วสฺสิตา โน คชฺชิตา วลาหกตก แต่ไม่คำราม
เนว คชฺชิตา โน วสฺสิตา วลาหกไม่คำราม ไม่ตก
คชฺชิตา จ วสฺสิตา จ วลาหกทั้งคำราม ทั้งตก
นี้แล วลาหก 4 ประเภท
ฉันเดียวกันนั่นแล ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบด้วยวลาหก 4 จำพวก
นี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคลเปรียบด้วยวลาหก 4 จำพวก คืออะไร คือ
บุคคลดุจวลาหกคำราม แต่ไม่ตก 1 บุคคลดุจวลาหกตก แต่ไม่คำราม 1
บุคคลดุจวลาหกไม่คำราม ไม่ตก 1 บุคคลดุจวลาหกทั้งคำรามทั้งตก 1