เมนู

บุคคลปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน เป็น
อย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ ตนเองไม่ละเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ
สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน แต่ชักชวนผู้อื่นเพื่อละเว้น จากปาณาติบาต ฯลฯ สุรา
เมรยมัชชปมาทัฏฐาน อย่างนี้แล บุคคลปฏิบัติเพราะโยชน์ผู้อื่น แต่ไม่
ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน

บุคคลไม่ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตน ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่น เป็น
อย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ ตนเองก็ไม่ละเว้นจากปาณาติบาติ ฯลฯ
สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน ทั้งไม่ชักชวนผู้อื่นเพื่อละเว้น จากปาณาติบาต ฯลฯ
สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน อย่างนี้แล บุคคลไม่ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์
ตน ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่น

บุคคลปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตนทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่น เป็นอย่างไร ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ทั้งเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน
ด้วยตนเอง ทั้งชักชวนผู้อื่นเพื่อละเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ สุราเมรยมัชช-
ปมาทัฏฐาน อย่างนี้แล บุคคลปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตน ทั้งเพื่อ
ประโยชน์ผู้อื่น

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล บุคคล 4 จำพวก มีปรากฏอยู่ ในโลก.
จบสิกขาสูตรที่ 9
สิกขาสูตรที่ 9 ตรัสด้วยอำนาจแห่งเวร 5

10. โปตลิยสูตร


ว่าด้วยโปตลิยปริพาชก


[100] ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อโปตลิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า โปตลิยะ บุคคล จำพวกนี้ ฯลฯ

คือบุคคลจำพวกหนึ่งกล่าวติคนที่ควรติ ตามเรื่องที่จริงที่แท้ตามกาลอันควร
แต่ไม่กล่าวชมคนที่ควรชม ตามเรื่องที่จริงที่แท้ตามกาลอันควรจำพวก 1
บุคคลจำพวกหนึ่งกล่าวชมคนที่ควรชม ตามเรื่องที่จริงที่แท้ตามกาลอันควร
แต่ไม่กล่าวที่คนที่ควรติ ตามเรื่องที่จริงที่แท้ตามกาลอันควรจำพวก 1 บุคคล
จำพวกหนึ่ง ทั้งไม่กล่าวติคนที่ควรติ ทั้งไม่กล่าวชมคนที่ควรชม ตามเรื่อง
ที่จริงที่แท้ตามกาลอันควรจำพวก 1 บุคคลจำพวกหนึ่งกล่าวติคนที่ควรติบ้าง
กล่าวชมคนที่ควรชมบ้าง ตามเรื่องที่จริงที่แท้ตามกาลอันควรจำพวก 1 นี้แล
บุคคล จำพวก มีปรากฏอยู่ ในโลก โปตลิยะ บรรดาบุคคล 4 จำพวกนี้
บุคคลจำพวกไหนชอบใจท่านว่าดีกว่าประณีตกว่า
โปตลิยปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บุคคล 4 จำพวกนี้
ฯลฯ บรรดาบุคคล 4 จำพวกนี้ บุคคลจำพวกที่ทั้งไม่กล่าวติคนที่ควรติ
ทั้งไม่กล่าวชมคนที่ควรชม นี้ชอบใจข้าพระพุทธเจ้าว่าดีกว่าสูงกว่า

เพราะเหตุไร เพราะเหตุว่าอุเบกขา (ความวางเฉย) นั่นเป็นการดี
พ. ตรัสค้านว่า โปตลิยะ บุคคล 4 จำพวกนี้ ฯลฯ บรรดาบุคคล
4 จำพวกนี้ บุคคลจำพวกที่กล่าวติคนที่ควรติบ้าง กล่าวชมคนที่ควร
ชมบ้าง ตามเรื่องที่จริงที่แท้ตามกาลอันควร นี้ชอบใจเราว่าดีกว่า
ประณีตกว่า
เพราะเหตุอะไร เพราะความเป็นผู้รู้จักกาลในสถานนั้น ๆ นั่น
เป็นการดี
โปตลิยปริพาชกกราบทูลเห็นด้วยตามพระพุทธดำรัส และประกาศ
คนเป็นอุบาสกว่า ข้าแต่พระโคคมผู้เจริญ บุคคล 4 จำพวกนี้ ฯลฯ บรรดา
บุคคล 4 จำพวกนี้ บุคคลจำพวกที่กล่าวติคนที่ควรติบ้าง กล่าวชมคนที่
ควรชมบ้าง ตามเรื่องที่จริงที่แท้ตามกาลอันควร นี้ชอบใจข้าพระพุทธเจ้าว่า
ดีกว่าประณีตกว่า นั่นเพราะเหตุอะไร เพราะเหตุว่า ความเป็นผู้รู้จักกาล
ในสถานนั้น ๆ นั่นเป็นการดี ดีจริง ๆ พระโคดมผู้เจริญ พระโคดมผู้เจริญ

ประกาศธรรมหลายปริยาย เหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดเผยของที่ปิด บอกทาง
แก่คนหลงทางหรือส่องตะเกียงในเวลามืดให้คนมีตาดีได้เห็นรูปต่าง ๆ ฉะนั้น
ข้าพระพุทธเจ้าขอถึงพระโคดมผู้เจริญกับพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ
ขอพะระโคดมผู้เจริญทรงจำข้าพระพุทธเจ้าไว้ว่าเป็นอุบาสกถึงสรณะตลอดชีวิต
ตั้งแต่วันนี้ไป.
จบโปตลิยสูตรที่ 10
จบอสุรวรรคที่ 5
จบทุติยปัณณาสก์

อรรถกถาโปตลิยสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในโปตลิยสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กาเลน ความว่า ตามกาลอันควรอันเหมาะ. บทว่า ขมติ
คือชอบใจ บทว่า ยทิทํ ตตฺร ตตฺร กาลญฺญุตา ความว่า การรู้จัก
กาลในสถานที่นั้น ๆ ท่านแสดงว่า การรู้กาลนั้น ๆ แล้วกล่าวติคนที่ควรติ
และกล่าวชมคนที่ควรชม เป็นปกติของบัณฑิตทั้งหลาย.
จบอรรถกถาโปตลิยสูตรที่ 10
จบอสุวรรควรรณนาที่ 5
จบทุติยปัณณาสก์

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. อสุรสูตร 2. ปฐมสมาธิสูตร 3. ทุติยสมาธิสูตร 4. ตติย-
สมาธิสูตร 5. ฉวาลาตสูตร 6. ราคสูตร 7. นิสันติสูตร 8. อัตตหิต-
สูตร 9. สิกขาสูตร 10. โปตลิยสูตร และอรรถกถา.