เมนู

อรรถกถานิสันติสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในนิสันติสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ขิปฺปนิสนฺติ ความว่า บุคคลตั้งใจฟังสามารถรู้ได้เร็ว.
บทว่า ธตานญฺจ ธมฺมานํ ความว่า ธรรมที่เป็นบาลีแบบอย่าง ทรงจำ
ได้คล่องแคล่ว. บทว่า อตฺถุปปริกฺขิ ความว่า เป็นผู้ไตร่ตรองเนื้อความ
บทว่า อตฺถมญฺญาย ธมฺมมญฺญาย ความว่า รู้ถึงอรรถกถาและบาลี.
บทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน โหติ ความว่า เป็นผู้ปฏิบัติปฏิปทา
อันเป็นส่วนเบื้องต้น พร้อมทั้งศีล. เป็นธรรมอันสมควรแก่โลกุตรธรรม 9.
บทว่า โน จ กลฺยาณวาโจ โหติ ความว่า แต่เป็นคนพูดไม่ดี. บทว่า
น กลฺยาณวากฺกรโณ ความว่า เป็นคนมีเสียงไม่ไพเราะ. โน อักษร
ควรประกอบกับบทว่า โปริยา เป็นต้น . ความว่า ไม่เป็นผู้ประกอบด้วยวาจา
ซึ่งสามารถชี้แจงให้เขาเข้าใจเนื้อความด้วยบทและพยัญชนะอันมิได้อยู่ในคอ
เต็มด้วยคุณ ไม่ตะกุกตะกัก ไม่มีโทษ. ในบททั้งปวง ก็พึงทราบเนื้อความ
โดยอุบายนี้.
จบอรรถกถานิสันติสูตรที่ 7

8. อัตตหิตสูตร


ว่าด้วยบุคคล 4 จำพวก ที่ 7


[98] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล จำพวกนี้ ฯลฯ คือ บุคคล
ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่นจำพวก 1 บุคคลปฏิบัติ