เมนู

อรรถกถาปุตตสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในปุตตสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สมณมจโล ได้แก่ สมณะไม่หวั่นไหว. อักษรทำบท-
สนธิต่อบท. อธิบายว่า นิจจลสมณะ. ทรงแสดงพระเสขะแม้ 7 จำพวกด้วย
บทนี้. พระเสขะนั้น ชื่อว่าไม่หวั่นไหว เพราะท่านตั้งมั่นด้วยศรัทธาอันเป็น
มูลในพระศาสนา. บทว่า สมณปุณฺฑริโก ได้เเก่ สมณะดังบัวขาว. ธรรมดา
บัวขาวเกิดในสระมีใบ 99 ใบ. ทรงแสดงพระขีณาสพสุกวิปัสสกผู้บำเพ็ญ
วิปัสสนาล้วนด้วยบทนี้. ด้วยว่าพระขีณาสพสุกขวิปัสสกนั้น ชื่อว่าสมณะดัง
บัวขาว เพราะท่านมีคุณยังไม่บริบูรณ์ โดยที่ฌานและอภิญญาไม่มี. บทว่า
สมณปทุโม ได้แก่ สมณะดังบัวหลวง. ธรรมดาบัวหลวง เกิดในสระมี
ใบครบร้อยใบ. ทรงแสดงพระขีณาสพผู้เป็นอุภโตภาควิมุตด้วยบทนี้. ด้วยว่า
พระขีณาสพอุภโตภาควิมุตนั้น ชื่อว่าสมณะดังบัวหลวง เพราะท่านมีคุณ
บริบูรณ์โดยที่มีฌานและอภิญญา. บทว่า สมเณสุ สมณสุขุมาโล ความว่า
บรรดาสมณะเหล่านั้นแม้ทั้งหมด สมณะสุขุมาลเป็นผู้มีกายและจิตอ่อนโยน
เว้นความทุกข์ทางกายและทางจิต เป็นผู้มีสุขโดยส่วนเดียว. ทรงแสดงพระองค์
และสมณะสุขุมาลเช่นกับพระองค์ ด้วยบทว่า สุขุมาลสมโณ นั้น.
ครั้นทรงตั้งมาติกาหัวข้ออย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงจำแนกไปตาม
ลำดับ จึงตรัสว่า กถญฺจ ภิกฺขเว เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า เสกฺโข
ได้แก่ พระเสขะ 7 จำพวก. บทว่า ปฏิปโท ได้แก่ เป็นผู้ยังต้องปฏิบัติ.
บทว่า อนุตฺตรํ โยคกฺเขมํ ปฏฺฐยมาโน วิหรติ ความว่า กำลังปรารถนา
พระอรหัต. บทว่า มุทฺธาภิสิตฺตสฺส ความว่า เป็นผู้ได้รับน้ำรดบนพระ-

เศียรคือกษัตริย์มูรธาภิเษกอธิบายว่าได้ทรงมุรธาภิเษกแล้ว. บทว่า อาภิเสโก
ได้แก่ เป็นผู้ควรทำการอภิเษก. บทว่า อนภิสิตฺโต ได้แก่ เป็นผู้ยังไม่ได้
อภิเษกก่อน. บทว่า มจลปฺปตฺโต ได้แก่ ถึงภาวะดุจตำแหน่งพระยุพราช
มีความปรารถนามั่นคง (ไม่คลอนแคลน) เพื่อประโยชน์แก่การอภิเษกเพราะ
เป็นพระโอรสของพระราชา ผู้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษก เพราะเป็นเชษฐโอรส
บรรดาพระโอรสทั้งหลาย และเพราะยังไม่ได้อภิเษกก่อน. อักษรเป็นเพียง
นิบาต.
บทว่า กาเยน ผุสิตฺวา ความว่า ถูกต้องแล้วด้วยนามกาย. บทว่า
ยาจิโตว พหุลํ จีวรํ ปริภุญฺชติ ความว่า สมณสุขุมาลโดยมากบริโภค
จีวรที่ทายกน้อมเข้าไปถวายด้วยร้องขออย่างนี้ว่าท่านเจ้าข้า โปรดบริโภคจีวรนี้
ดังนี้แล้ว เฉพาะจีวรที่เขาไม่ร้องขอก็น้อยเหมือนท่านพระพักกุลเถระ เฉพาะ
บิณฑบาต (อาหาร) ก็เหมือนท่านพระสิวลีเถระในทางไปป่าไม้ตะเคียน.
เฉพาะเสนาสนะก็เหมือนท่านพระอานนทเถระในอัฏฐกนาครสูตร เฉพาะคิลาน-
ปัจจัย ก็เหมือนท่านพระปิลินทวัจฉเถระ. บทว่า ตฺยสฺส ตัดบทเป็น เต
อสฺส.
บทว่า มนาเปเนว ได้แก่อัน เป็นที่ต้องใจ. บทว่า สมุทาจรนฺติ
ความว่า ทำหรือประพฤติกิจที่ควรทำ. บทว่า อุปหารํ อุปหรนฺติ ความว่า
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ย่อมนำเข้าไป คือน้อมเข้าไปซึ่งสิ่งที่พอใจทั้งทางกาย
และทางจิต. บทว่า สนฺนิปาติกานิ ความว่า อันเกิดเพราะการประชุมกัน
แห่งสมุฏฐานทั้งสาม. บทว่า อุตุปริณามชานิ ความว่า เกิดแต่ความ
เปลี่ยนแปลงแห่งฤดูคือแต่ฤดูที่หนาวเกินไปหรือร้อนเกินไป. บทว่า
วิสมปริหารชานิ ความว่า เกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ โดยมีนั่งนานหรือ
ยืนนานเป็นต้น. บทว่า โอปกฺกมิกานิ ความว่า เกิดเพราะถูกทำร้าย
มีการฆ่าและการจองจำเป็นต้น. บทว่า กมฺมวิปากชานิ ความว่า เกิดด้วย

สามารถแห่งวิบากของกรรมที่ทำแล้วในกาลก่อนอย่างเดียว แม้เว้นจากเหตุ
เหล่านี้. ในบทว่า จตุนฺนํ ฌานานํ นี้ท่านประสงค์กิริยาฌานเท่านั้น ทั้ง
ของพระขีณาสพทั้งของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. บทที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาปุตตสูตรที่ 7

8. สังโยชนสูตร


ว่าด้วยสมณะ 4 จำพวก


[88] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้ ฯลฯ คือ
สมณมจโล สมณะผู้ไม่หวั่นไหว
สมณปุณฺฑรีโก สมณะบุณฑริก
สมณปทุโม สมณะปทุม
สมเณสุ สมณสุขุมาโล สมณะสุขุมาลในหมู่สมณะ
บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหวเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
เพราะสิ้นสังโยชน์ 3 เป็นพระโสดาบันมีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง-
แท้ที่จะได้ตรัสรู้ในข้างหน้า อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว
บุคคลเป็นสมณะบุณฑริกเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
เพราะสิ้นสังโยชน์ 3 เพราะราคะโทสะโมหะเบาบาง เป็นพระสกทาคามี มาสู่
โลกนี้อีกคราวเดียว จักทำที่สุดทุกข์ได้ อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะบุณฑริก
บุคคลเป็นสมณะปทุมเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะ
สิ้นสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 เป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในโลกที่เกิดนั้น มีอันไม่
กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะปทุม