เมนู

อรรถกถาทุติยอัคคสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในทุติยอัคคสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า รูปคฺคํ ความว่า บุคคลพิจารณารูปใดแล้ว ย่อมบรรลุพระ
อรหัต รูปนี้ชื่อว่า รูปอันเลิศ แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้แล. ส่วนในบทว่า ภวคฺคํ
นี้ บุคคลดำรงอยู่ในอัตภาพใด ย่อมบรรลุพระอรหัตในอัตภาพนั้น ชื่อว่า
ภพอันเลิศและ
จบอรรถกถาทุติยอัคคสูตรที่ 5

6. กุสินาราสูตร


ว่าด้วยความสงสัยในพระรัตนตรัย


[76] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับในระหว่างต้นสาละคู่
ตรงท่ามกลางวงโค้งแห่งแถวต้นสาละ ในป่าไม่สาละของคณะเจ้ามัลละ กรุง
กุสินารา คราวจะเสด็จปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย
ในที่นั้น ภิกษุทั้งหลายรับสนองพระพุทธดำรัสแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ความสงสัยหรือความเคลือบแคลงในพระพุทธเจ้าก็ดี ในพระธรรมก็ดี ใน
พระสงฆ์ก็ดี ในมรรคก็ดี ในปฏิปทาก็ดี จะพึงมีแก่ภิกษุสักรูปหนึ่ง ท่าน
ทั้งหลายจงถามเถิด อย่าต้องมีความเสียใจในภายหลังว่า พระศาสดาเสด็จอยู่
ต่อหน้าเรา เราไม่อาจกราบทูลถามในที่เฉพาะพระพักตร์ได้ ดังนี้เลย เมื่อ
ตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นก็นิ่งอยู่ ตรัสอย่างนั้นอีก 2 ครั้ง ภิกษุทั้งหลาย

ก็คงนิ่งอยู่ จึงตรัสเตือนอีกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายไม่ถาม
เพราะความเคารพในพระศาสดาก็เป็นได้ แม้ภิกษุที่เป็นสหายก็จงบอกแก่สหาย
ต่อ ๆ ไปเถิด ตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายก็คงนิ่งอยู่
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์จึงกราบทูลว่า น่าอัศจรรย์จริง พระพุทธ-
เจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าเลื่อมใสในหมู่ภิกษุนี้ว่า ความสงสัยหรือความเคลือบ
แคลงในพระพุทธเจ้าก็ดี ในพระธรรมก็ดี ในพระสงฆ์ก็ดี ในมรรคก็ดี ใน
ปฏิปทาก็ดี ไม่มีแก่ภิกษุแม้รูปเดียวในหมู่ภิกษุนี้.
พ. ตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เธอกล่าวตามความเลื่อมใส ตถาคตหยั่งรู้
ทีเดียวในข้อนี้ว่า ความสงสัยหรือความเคลือบแคลงในพระพุทธเจ้าก็ดี ใน
พระธรรมก็ดี ในพระสงฆ์ก็ดี ในมรรคก็ดี ในปฏิปทาก็ดี ไม่มีแก่ภิกษุแม้
รูปเดียวในหมู่ภิกษุนี้ เพราะบรรดาภิกษุประมาณ 500 นี้ ภิกษุผู้มีคุณธรรม
ที่สุดก็เป็นพระโสดาบันมีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะได้
ตรัสรู้ในข้างหน้า.
จบกุสินาราสูตรที่ 6

อรรถกถากุสินาราสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในกุสินาราสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อุปวตฺตเน ได้แก่ ในที่ท่ามกลางแถวต้นสาละที่อยู่ทิศ
ตะวันออก ยืนต้นเรียงเลี้ยวโค้งไปทางทิศเหนือ. บทว่า อนฺตเร ยมกสาลานํ
ได้แก่ ในระหว่างต้นสาละสองต้น. บทว่า กงฺขา ได้แก่ ความเคลือบแคลง.
บทว่า วิมติ คือ ไม่สามารถจะตัดสินได้. ความย่อในข้อนี้มีดังนี้ว่า ภิกษุรูปใด