เมนู

โดยที่สุดในอารามิกะและสมณุทเทส ต่อมาพอคุ้นกันเข้า ภิกษุนั้นตะเพิดเอา
อาจารย์บ้าง อุปัชฌาย์บ้างก็ได้ว่า ไป รู้จักอะไร ดังนี้ฉันนั้นเหมือนกัน
เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกว่า เราทั้งหลายจักมีใจเสมอ
ด้วยสะใภ้ใหม่ ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล.
จบสัปปุริสสูตรที่ 3

อรรถกถาสัปปุริสสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสัปปุริสสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อวณฺโณ ได้แก่ มิใช่คุณ. บทว่า ปาตุกโรติ ได้แก่
บอกทำให้ปรากฏ. บทว่า ปญฺหาภินีโต ได้แก่ ถูกนำมาซักถาม. บทว่า
อหาเปตฺวา อลมฺเพตฺวา ได้แก่ ทำไม่ให้ลด ไม่ให้หย่อนทีเดียว. อนึ่ง
ในข้อนี้ อสัตบุรุษ ย่อมปกปิดความเสียหายของตน เพราะเป็นผู้ปรารถนา
ลามก สัตบุรุษ ย่อมปกปิดเกียรติคุณของตน เพราะเป็นผู้ละอาย. เพราะเหตุที่
อสัตบุรุษขาดหิริโอตัปปะ อยู่ร่วมกันก็ดูหมิ่น ส่วนสัตบุรุษประกอบด้วย
หิริโอตตัปปะ อยู่ร่วมกันก็ไม่ดูหมิ่น ฉะนั้น บัดนี้ เพื่อทรงแสดงสาธก
ความเป็นสัตบุรุษ เปรียบด้วยสะใภ้ใหม่ จึงตรัสว่า เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว
วธุกา
เป็นต้น . ในบทเหล่านั้น บทว่า วธุกา ได้แก่ สะใภ้. บทว่า
ติพฺพํ คือมาก. บทที่เหลือในสูตรนี้ ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสัปปุริสสูตรที่ 3

4. ปฐมอัคคสูตร


ว่าด้วยวัตถุเลิศ 4 ประการ


[74] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วัตถุอันเลิศ 4 อย่างนี้ วัตถุอันเลิศ
4 อย่างคืออะไร คือ ศีลเลิศ สมาธิเลิศ ปัญญาเลิศ วิมุตติเลิศ นี้แลวัตถุ
อันเลิศ 4 อย่าง.
จบปฐมอัคคสูตรที่ 4

อรรถกถาปฐมอัคคสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในปฐมอัคคสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สีลคฺคํ คือ ศีลเลิศคือสูงสุด. ในบททั้งปวงก็นัยนี้.
จบอรรถกถาปฐมอัคคสูตรที่ 4

5. ทุติยอัคคสูตร


ว่าด้วยวัตถุเลิศ 4 อย่าง


[75] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วัตถุอันเลิศ 4 อย่างนี้ วัตถุอันเลิศ
4 อย่างคืออะไร คือ รูปเลิศ เวทนาเลิศ สัญญาเลิศ ภพเลิศ นี้แลวัตถุ
อันเลิศ 4 อย่าง.
จบทุติยอัคคสูตรที่ 5