เมนู

สัตว์ 4 เท้าก็อย่าเบียดเบียนเรา สัตว์มีเท้า
มากก็อย่าเบียดเบียนเรา ขอสัตว์ทั้งปวง
ผู้มีลมหายใจทั้งสิ้น และผู้เกิดแล้วทั้งหมด
สิ้นเชิง จงประสบแต่ความเจริญทุกผู้เถิด
อย่าได้รับโทษลามกอะไร ๆ เลย.

พระพุทธเจ้าทรงพระคุณสุดที่จะประมาณ พระธรรมทรงพระคุณสุด
ที่จะประมาณ พระสงฆ์ทรงพระคุณสุดที่จะประมาณ สัตว์เสือกคลานทั้งหลาย
มีประมาณ คือ งู แมลงป่อง ตะขาบ แมลงมุม ตุ๊กแก หนู การรักษาเรา
ได้ทำแล้ว การป้องกันเราได้ทำแล้ว ขอสัตว์ทั้งหลายจงหลีกไป ข้า ฯ
นอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า นอบน้อมแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า 7 พระองค์.
จบอหิสูตรที่ 7

อรรถกถาอหิสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอหิสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อิมานิ จตฺตาริ อหิราชกุลานิ นี้ ตรัสหมายถึงพิษที่ถูก
งูกัด พิษที่ถูกงูกัดเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พิษเหล่านั้นทั้งหมด อยู่ภายในตระกูล
พระยางูทั้ง 4 เหล่านี้ . บทว่า อตฺตคุตฺติยา คือเพื่อคุ้มตน. บทว่า อตฺต-
รกฺขาย
คือเพื่อรักษาตน. บทว่า อตฺตปริตฺตาย คือเพื่อป้องกันตน.
อธิบายว่า เราจึงอนุญาตปริตไว้ดังนี้.
บัดนี้ ภิกษุพึงทำปริตนั้นโดยวิธีใด เมื่อทรงแสดงวิธีนั้น จึงตรัสว่า
วิรูปกฺเขหิ เม เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า วิรูปกฺเขหิ ได้แก่มี

เมตตาจิตกับงูตระกูลวิรูปักขะ. แม้ในตระกูลงูที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า
อปาทเกหิ ได้แก่ มีเมตตาจิตกับสัตว์ไม่มีเท้าทั้งหลาย. แม้ในสัตว์ที่เหลือ
ก็มีนัยนี้เหมือนกัน . บทว่า สพฺเพ สตฺตา ความว่า ก่อนแต่นี้ ภิกษุกล่าว
เมตตาเจาะจงด้วยฐานะประมาณเท่านี้แล้ว บัดนี้ จึงเริ่มคำนี้ เพื่อกล่าวเมตตา
ไม่เจาะจง. ในบทเหล่านั้น คำว่า สัตว์ ปาณะ ภูต เหล่านี้
ทั้งหมดเป็นคำกล่าวถึงบุคคลเท่านั้น. บทว่า ภทฺรานิ ปสฺสนฺตุ ความว่า
จงเห็นแต่อารมณ์ที่เจริญใจเถิด. บทว่า มา กญฺจิ ปาปนาคมา ความว่า
สัตว์อะไร ๆ อย่าประสบสิ่งอันเป็นบาปลามกเลย. ในบทว่า อปฺปมาโณ
พุทฺโธ
นี้พึงทราบพุทธคุณว่า พุทฺโธ แท้จริง พุทธคุณเหล่านั้น
ชื่อว่า สุดที่จะประมาณได้. แม้ในสองบทที่เหลือก็นัยนี้แล. บทว่า ปมาณ-
วนฺตานิ
ได้แก่ ประกอบแล้วด้วยประมาณแห่งพระคุณ. บทว่า อุณฺณานาภี
ได้เเก่ แมลงมุมมีขนที่ท้อง. บทว่า สรพู ได้แก่ ตุ๊กแกในเรือน. บทว่า กตา
เม รกฺขา กตา เม ปริตฺตา
ความว่า การรักษา และการป้องกัน ข้าพเจ้า
ได้ทำแล้ว แก่ชนประมาณเท่านี้. บทว่า ปฏิกฺกมนฺตุ ภูตานิ ความว่า
สัตว์ทั้งหลายแม้ทั้งหมด อันข้าพเจ้าทำการป้องกันแล้ว จงหลีกไปเสีย อธิบาย
ว่า อย่าเบียดเบียนข้าพเจ้าเลย ดังนี้.
จบอรรถกถาอหิสูตรที่ 7

8. เทวทัตตสูตร


ว่าด้วยเรื่องพระเทวทัต


[68] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ
พระนครราชคฤห์ เมื่อพระเทวทัตหลีกไปแล้วไม่ช้า ก็ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย
ในที่นั้นมา มีพระพุทธดำรัสถึงพระเทวทัตว่า ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะ
และความสรรเสริญเกิดมีแก่เทวทัต เพื่อทำลายล้างตน ลาภสักการะและความ
สรรเสริญเกิดมีแก่เทวทัต เพื่อความพินาศของตนเอง เปรียบเหมือนต้นกล้วย
ออกผลมากสำหรับฆ่าตัวเอง ออกผลมาก็เพื่อความพินาศของตัวเองฉันใด
ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดมีแก่เทวทัตก็เพื่อทำลายล้างตน ลาภสักการะ
และความสรรเสริญเกิดมีแก่เทวทัตก็เพื่อความพินาศ (ของตัวเอง) ฉันนั้น
เหมือนกัน เปรียบเหมือนต้นไผ่ออกขุยมาก็สำหรับฆ่าตัวเอง ออกขุยมาก็เพื่อ
ความพินาศของตัวเองฉันใด...ต้นอ้อออกขุยมาก็สำหรับฆ่าตัวเอง ออกขุยมา
ก็เพื่อความพินาศของตัวเองฉันใด... แม่ม้าอัสดรตั้งครรภ์ก็สำหรับฆ่าตัวเอง
ตั้งครรภ์ก็เพื่อความพินาศ (ของตัวเอง) ฉันใด ลาภสักการะและความสรรเสริญ
เกิดมีแก่เทวทัตก็เพื่อทำลายล้างตน ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดมีแก่
เทวทัตแก่เพื่อความพินาศ (ของตัวเอง) ฉันนั้นเหมือนกัน
ผลกล้วยฆ่าต้นกล้วย ขุยไผ่ฆ่าต้น
ไผ่ ขุยอ้อฆ่าต้นอ้อ ลูกม้าอัสดรฆ่าแม่น้ำ
อัสดรฉันใด สักการะก็ทำลายล้างคนชั่ว
เสียฉันนั้น.

จบเทวทัตตสูตรที่ 8