เมนู

อรรถกถาสราคสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสราคสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โมหชํ วาปิ อวิทฺทสุ ความว่า คนเขลาคือมิใช่บัณฑิต
ทำอกุศลกรรมที่เกิดเพราะโมหะบ้าง. บทว่า สวิฆาตํ คือเป็นไปกับทุกข์.
บทว่า ทุกฺขุทฺรยํ คือเพิ่มทุกข์ให้ต่อไป. บทว่า อจกฺขุกา คือเว้นจาก
ปัญญาจักษุ. บทว่า ยถา ธมฺมา ตถา สนฺตา ความว่า ธรรมมีราคะ
เป็นต้น ตั้งอยู่อย่างใด คนเขลาเหล่านั้น ก็มีสภาพเป็นอย่างนั้น . บทว่า
ตสฺเสวนฺติ มญฺญเร
ความว่า เขาย่อมไม่สำคัญ ย่อมไม่รู้สึกว่าเราเป็น
อย่างนั้น มีสภาพอย่างนั้นเสียด้วย. ทั้งในพระสูตรนี้ ทั้งในพระคาถา ตรัส
วัฏฏะอย่างเดียว.
จบอรรถกถาสราคสูตรที่ 6

7. อหิสูตร


ว่าด้วยแผ่เมตตาจิตไปถึงตระกูลพระยางู


[67] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ วิหารพระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกคฤหบดี กรุงสาวัตถี ก็แลสมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง
ถูกงูกัดตายในกรุงสาวัตถี ลำดับนั้นแล ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้า ครั้นเข้าไปถึงแล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่งลงใน
ที่สมควรส่วนหนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นนั่งในที่สมควรส่วนหนึ่งแล้ว กราบทูลพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัดทำกาละ
แล้วในกรุงสาวัตถี พระองค์ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปนั้น ไม่ได้
แผ่เมตตาจิตไปถึงตระกูลพระยางูทั้ง 4 เป็นแน่ เพราะถ้าภิกษุนั้น พึงแผ่เมตตา
ถึงตระกูลพระยางูทั้ง 4 ไซร้ ภิกษุนั้นก็ไม่พึงถูกงูกัดตายเลย ตระกูลพระยางู
ทั้ง 4 คืออะไรบ้าง คือ ตระกูลพระยางูชื่อวิรูปักขะ ตระกูลพระยางูชื่อ
เอราปถะ ตระกูลพระยางูชื่อฉัพยาปุตตะ ตระกูลพระยางูชื่อกัณหา
โคตมกะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น ไม่ได้แผ่เมตตาจิตไปถึงตระกูลพระยางูทั้ง 4
นี้เป็นแน่ เพราะถ้าภิกษุนั้นพึงแผ่เมตตาจิตไปถึงตระกูลพระยางูทั้ง 4 นี้ไซร้
ภิกษุนั้น ก็ไม่พึงถูกงูกัดตายเลย ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุแผ่เมตตาจิต
ไปถึงตระกูลพระยางูทั้ง 4 นี้ เพื่อคุ้มตน เพื่อรักษาตน เพื่อป้องกันตน
ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับงู
ตระกูลวิรูปักขะทั้งหลาย ความเป็นมิตร
ของเรา จงมีกับงูตระกูลเอราปถะทั้งหลาย
ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับงูตระกูล
ฉัพยาปุตตะทั้งหลาย ความเป็นมิตรของ
เรา จงมีกับงูตระกูลกัณหาโคตมกะทั้งหลาย
ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับสัตว์ไม่มี
เท้าทั้งหลาย ความเป็นมิตรของเรา จงมี
กับสัตว์ 2 เท้าทั้งหลาย ความเป็นมิตร
ของเรา จงมีกับสัตว์ 4 เท้าทั้งหลาย
ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับสัตว์มีเท้า
มากทั้งหลาย ขอสัตว์ไม่มีเท้าอย่าเบียด-
เบียนเรา สัตว์ 2 เท้าก็อย่าเบียดเบียนเรา

สัตว์ 4 เท้าก็อย่าเบียดเบียนเรา สัตว์มีเท้า
มากก็อย่าเบียดเบียนเรา ขอสัตว์ทั้งปวง
ผู้มีลมหายใจทั้งสิ้น และผู้เกิดแล้วทั้งหมด
สิ้นเชิง จงประสบแต่ความเจริญทุกผู้เถิด
อย่าได้รับโทษลามกอะไร ๆ เลย.

พระพุทธเจ้าทรงพระคุณสุดที่จะประมาณ พระธรรมทรงพระคุณสุด
ที่จะประมาณ พระสงฆ์ทรงพระคุณสุดที่จะประมาณ สัตว์เสือกคลานทั้งหลาย
มีประมาณ คือ งู แมลงป่อง ตะขาบ แมลงมุม ตุ๊กแก หนู การรักษาเรา
ได้ทำแล้ว การป้องกันเราได้ทำแล้ว ขอสัตว์ทั้งหลายจงหลีกไป ข้า ฯ
นอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า นอบน้อมแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า 7 พระองค์.
จบอหิสูตรที่ 7

อรรถกถาอหิสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอหิสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อิมานิ จตฺตาริ อหิราชกุลานิ นี้ ตรัสหมายถึงพิษที่ถูก
งูกัด พิษที่ถูกงูกัดเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พิษเหล่านั้นทั้งหมด อยู่ภายในตระกูล
พระยางูทั้ง 4 เหล่านี้ . บทว่า อตฺตคุตฺติยา คือเพื่อคุ้มตน. บทว่า อตฺต-
รกฺขาย
คือเพื่อรักษาตน. บทว่า อตฺตปริตฺตาย คือเพื่อป้องกันตน.
อธิบายว่า เราจึงอนุญาตปริตไว้ดังนี้.
บัดนี้ ภิกษุพึงทำปริตนั้นโดยวิธีใด เมื่อทรงแสดงวิธีนั้น จึงตรัสว่า
วิรูปกฺเขหิ เม เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า วิรูปกฺเขหิ ได้แก่มี