เมนู

บทว่า ภุญฺชํ แปลว่า เมื่อบริโภค. บทว่า ปญฺญา วิปสฺสติ
แปลว่า ย่อมพิจารณาเห็นด้วยปัญญา. บทว่า อุโภ ภาเค แปลว่า สองส่วน
อธิบายว่า พิจารณาเห็นด้วยปัญญาอย่างนี้ว่า ความสุขสามข้างต้น จัดเป็น
ส่วนหนึ่ง. สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ไม่มีโทษ จัดเป็นส่วนหนึ่ง ชื่อว่า
รู้สองส่วน. บทว่า อนวชฺชสุขสฺเสตํ ความว่า สุขแม้สามอย่างนั้น ย่อม
ไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 แห่งสุขที่เกิดแต่ประกอบการงานไม่มีโทษ ดังนี้.
จบอรรถกถาอันนนาถสูตรที่ 2

3. สพรหมสูตร


ว่าด้วยมารดาบิดาเป็นพรหมของบุตร


[63] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มารดาบิดา อันบุตรแห่งตระกูลทั้งหลาย
ใดบูชาอยู่ในเรือนของตน ตระกูลทั้งหลายนั้นชื่อว่ามีพรหม...มีบุรพาจารย์
... มีบุรพเทวดา...มีอาหุไนย ภิกษุทั้งหลาย คำว่า พรหม นี้เป็นคำเรียก
มารดาบิดาทั้งหลาย คำว่า บุรพาจารย์...บุรพเทวดา...อาหุไนย นี้ก็เป็น
คำเรียกมารดาบิดาทั้งหลาย ที่เรียกเช่นนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่ามารดาบิดา
ทั้งหลายเป็นผู้มีอุปการะมาก เป็นผู้ฟูมฟักเลี้ยงดู เป็นผู้แสดงโลกนี้แก่บุตร
ทั้งหลาย
มารดาบิดาทั้งหลาย ผู้เอ็นดูประชา
ชื่อว่าเป็นพรหม เป็นบุรพาจารย์ และเป็น
อาหุไนยของบุตรทั้งหลาย เพราะเหตุ
นั่นแหละ บุตรผู้มีปัญญาพึงนอบน้อม

สักการะท่าน ด้วยข้าว ด้วยน้ำ ด้วยผ้า
ด้วยเครื่องที่นอน ด้วยเครื่องอบ ด้วย
การสนานกาย และด้วยการล้างเท้า เพราะ
การบำรุงมารดาบิดานั้น ในโลกนี้บัณฑิต
ทั้งหลายก็สรรเสริญบุตรนั้น บุตรนั้นละ
โลกนี้ไปแล้ว ยังบันเทิงใจในสวรรค์.

จบสพรหมสูตรที่ 3
สพรหมสูตรที่ 3 พรรณนาไว้แล้วในติกนิบาต. เพียงบทว่า สุปุพฺพ-
เทวตานิ
บทเดียวที่แปลกในสูตรนี้..

4. นิรยสูตร


ว่าด้วยบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ


[64] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ
ย่อมอุบัติในนรก เหมือนถูกนำตัวไปเก็บไว้ฉะนั้น ธรรม 4 ประการคืออะไร
คือ บุคคลเป็นผู้ทำปาณาติบาตโดยปกติ ทำอทินนาทานโดยปกติ ทำกาเม-
สุมิจฉาจารโดยปกติ พูดมุสาวาทโดยปกติ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบ
ด้วยธรรม 4 ประการนี้แล ย่อมอุบัติในนรก เหมือนถูกนำตัวไปเก็บไว้ฉะนั้น
บัณฑิตทั้งหลายไม่สรรเสริญธรรม
4 ประการ คือ ปาณาติบาต อทินนาทาน
พูดมุสาวาท และประพฤติผิดในกาม.

จบนิรยสูตรที่ 3