เมนู

ปัตตกัมมวรรควรรณนาที่ 2



อรรถกถาปัตตกัมมสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในปัตตกัมมสูตรที่ 1 แห่งวรรคที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
ชื่อว่า น่าปรารถนา เพราะปฏิเสธคัดค้านธรรมที่ไม่น่าปรารถนา.
ชื่อว่า รักใคร่ เพราะก้าวเข้าไปอยู่ในใจ ชื่อว่า ชอบใจ เพราะทำใจให้
เอิบอาบซาบซ่านให้เจริญ. บทว่า ทุลฺลภา ได้แก่ ได้โดยยากอย่างยิ่ง. บทว่า
โภคา ได้แก่ อารมณ์มีรูปเป็นต้น ที่บุคคลพึงบริโภค. บทว่า สห ธมฺเมน
ความว่า ขอโภคสมบัติจงเกิดขึ้นโดยธรรม อย่าเข้าไปกำจัดธรรมแล้วเกิดขึ้น
โดยอธรรมเลย. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สห ธมฺเมน แปลว่า มีเหตุ อธิบายว่า
โภคสมบัติจงเกิดขึ้นกับด้วยการณ์ คือ ตำแหน่ง มีตำแหน่งเสนาบดีและ
เศรษฐีเป็นต้นนั้น ๆ. บทว่า ยโส ได้แก่ บริวารสมบัติ. บทว่า สห ญาติภิ
ได้แก่ พร้อมกับญาติ. บทว่า สห อุปชฺฌาเยหิ ได้แก่ พร้อมกับเพื่อนเคย
เห็นและเพื่อนคบ ที่เรียกว่าอุปัชฌาย์ เพื่อช่วยดูแลในเรื่องสุขและทุกข์.
บทว่า อกิจฺจํ กโรติ ความว่า ทำการที่ไม่ควรทำ. บทว่า กิจฺจํ อปราเธติ
ความว่า เมื่อไม่ทำกิจที่ควรทำ ชื่อว่าละเลยกิจนั้น . บทว่า ธํสติ ได้แก่
ย่อมตกไปคือย่อมเสื่อม.
บทว่า อภิชฺฌาวิสมโลภํ ได้แก่ อภิชฌาวิสมโลภะ. บทว่า ปชหติ
ได้แก่ บรรเทาคือนำออกไป.
บทว่า มหาปญฺโญ ได้แก่ ผู้มีปัญญามาก. บทว่า ปุถุปญฺโญ
ได้แก่ ผู้มีปัญญาหนา. บทว่า อาปาถทโส ความว่า เขาเห็นอรรถนั้น ๆ
ตั้งอยู่ในคลองธรรม ย่อมมาสู่คลองที่เป็นอรรถอันสุขุมของธรรมนั้น. บทว่า

อุฏฺฐานกิริยาธิคเตหิ ได้แก่ ที่ได้มาด้วยความเพียร กล่าวคือความขยัน.
บทว่า พาหาพลปริจิเตหิ ได้แก่ ที่สะสมให้มากขึ้นด้วยกำลังแขน. บทว่า
เสทาวกฺขิตฺเตหิ คือเหงื่อไหล. อธิบายว่า ด้วยความพยายามทำงานจน
เหงื่อไหล. บทว่า ธมฺมิเกหิ ได้แก่ ประกอบด้วยธรรม. บทว่า ธมฺม-
ลทฺเธหิ
คือ ไม่ละเมิดกุศลกรรมบถธรรม 10 ได้แล้ว. บทว่า ปตฺตกมฺมานิ
ได้แก่ กรรมที่เหมาะ กรรมอันสมควร. บทว่า สุเขติ ได้แก่ ทำเขาให้มี
ความสุข. บทว่า ปิเณติ ได้แก่ ย่อมทำให้เอิบอิ่มสมบูรณ์ด้วยกำลัง.
บทว่า ฐานํ คตํ โหติ ได้แก่เป็นเหตุ ถามว่า เหตุนั้น เป็นอย่างไร.
ตอบว่า การงานที่พึงทำด้วยโภคะทั้งหลาย เป็นธรรมอย่างหนึ่งในปัตตกรรม
4 เป็นฐานที่เกิดแต่โภคทรัพย์นั่นแล. บทว่า ปตฺตคตํ ได้แก่ เป็นฐานะ
ที่ควรที่ถึงแล้ว. บทว่า อายตนโส ปริภุตฺตํ ได้แก่ บริโภคแล้วโดยเหตุ
นั่นแล ก็เกิดแต่โภคทรัพย์. บทว่า ปริโยธาย วตฺตติ ได้แก่ ย่อมปิดไว้.
อริยสาวกบริจาคทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่การดับไฟที่ไหนเรือนเป็นต้น ย่อม
ปิดกั้นทางแห่งอันตรายเหล่านั้นเหมือนอย่างเมื่อคราวอันตรายทั้งหลายเกิดขึ้น
แต่ไฟเป็นต้นฉะนั้น. บทว่า โสตฺถึ อตฺตานํ กโรติ ความว่า ย่อมทำตน
ให้ปลอดภัยไม่มีอันตราย. บทว่า ญาติพลึ คือ สงเคราะห์ญาติ. บทว่า
อติถิพลึ คือต้อนรับแขก. บทว่า ปุพฺพเปตพลึ คือทำบุญอุทิศให้ญาติ
ผู้ตาย. บทว่า ราชพลึ คือส่วนที่ความแด่พระราชา. บทว่า เทวตาพลึ
คือทำบุญอุทิศให้เทวดา. บทว่า ญาติพลึ เป็นต้นนั้นทั้งหมด เป็นชื่อของ
ทานที่พึงให้ตามสมควรแก่บุคคลนั้น ๆ.
บทว่า ขนฺติโสรจฺเจ นิวิฏฺฐา ความว่า ตั้งมั่นอยู่ในอธิวาสนขันติ
และในความเป็นผู้มีศีลอันดี. บทว่า เอกมตฺตานํ ทเมนฺติ ความว่า ย่อม

ฝึกอัตภาพของตนอย่างเดียว ด้วยการฝึกอินทรีย์. บทว่า สเมนฺติ ความว่า
ย่อมสงบจิตของตนด้วยความสงบกิเลส. บทว่า ปรินิพฺพาเปนฺติ ความว่า
ย่อมดับด้วยการดับกิเลส. ในบทว่า อุทฺธคฺคิกํ เป็นต้น ทักษิณาชื่อว่า
อุทธัคคิกา เพราะมีผลในเบื้องบนด้วยสามารถให้ผลในภูมิสูง ๆ ขึ้นรูป.
ทักษิณาเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่สวรรค์ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า โสวัคคิกา
เพราะให้เกิดอุปบัติในสวรรค์นั้น ชื่อว่า สุขวิปากา เพราะมีสุขเป็นวิบากในที่เกิด
แล้ว. ชื่อว่า สัคคสังวัตตนิกา เพราะทำอารมณ์อันดีคือของวิเศษ 10
มีวรรณทิพย์เป็นต้นให้เกิด อธิบายว่า ย่อมตั้งทักษิณาเช่นนั้นไว้.
บทว่า อริยธมฺเม ฐิโต คือตั้งอยู่ในเบญจศีลเบญจธรรม. บทว่า
เปจฺจ สคฺเค ปโมทติ ความว่า นรชนนั้น ไปปรโลกถือปฏิสนธิแล้ว
ย่อมบันเทิงในสวรรค์. คฤหัสถ์ไม่ว่าจะเป็นโสดาบันและสกทาคามี หรือ
อนาคามีก็ตาม ปฏิปทานี้ย่อมได้เหมือนกันทุกคนแล.
จบอรรถกถาปัตตกัมมสูตรที่ 1

2. อันนนาถสูตร


ว่าด้วยสุข 4 ประการ


[62] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้า ฯลฯ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี สุข 4 ประการนี้ อันคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม
ควรได้รับตามกาลสมัย สุข 4 ประการคืออะไรบ้าง คือ
อตฺถิสุขํ สุขเกิดแก่ความมีทรัพย์
โภคสุขํ สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค