เมนู

ย่อมเป็นผู้มีส่วน (ได้รับ) วรรณะ สุขะ และพละ อันเป็นของทิพย์บ้าง
ของมนุษย์บ้าง ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกเมื่อให้โภชนาหารเป็นทาน ชื่อว่า
ให้สถาน 4 ประการนี้แก่ปฏิคาหกทั้งหลาย
บุคคลใดให้โภชนาหาร แก่ปฏิคาหก
ผู้มีศีล ผู้บริโภคของที่คนอื่นให้ โดย
เคารพตามกาลอันควร บุคคลนั้นชื่อว่าให้
สถาน 4 ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ
พละ นรชนผู้ให้อายุ ให้วรรณะ ให้สุขะ
ให้พละ เกิดในภพใด ๆ ย่อมเป็นผู้อายุยืน
มียศ ในภพนั้น ๆ.

จบสุทัตตสูตรที่ 8

อรรถกถาสุทัตตสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสุทัตตสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สญฺญตานํ ได้แก่ ปฏิคคาหกผู้สำรวมทางกายและวาจา.
บทว่า ปรทตฺตโภชินํ ความว่า ผู้บริโภคของที่บุคคลอื่นให้แล้ว จึงยัง
อัตภาพให้เป็นไปอยู่. บทว่า กาเลน ได้แก่ ตามกาลอันควร. บทว่า
สกฺกจฺจ ททาติ ความว่า ทำสักการะแล้วให้ด้วยมือของตน. บทว่า
จตฺตาริ ฐานานิ อนุปฺปเวจฺฉติ ความว่า ย่อมหลั่ง คือให้อยู่ซึ่งเหตุ 4.
บทว่า ยสวา โหติ ได้แก่ มีบริวารมาก.
จบอรรถกถาสุทัตตสูตรที่ 8

9. โภชนสูตร


ว่าด้วยฐานะ 4 ประการอีก


[59] สูตรนี้เหมือนสูตรก่อนทุกอย่าง ต่างแต่สูตรนี้ตรัสแก่ภิกษุ
และเปลี่ยนคำว่า "อริยสาวก" เป็น "ทายก" เท่านั้น.
จบโภชนสูตรที่ 9
โภชนสูตรที่ 9 ตรัสแก่พวกภิกษุอย่างเดียว. บทที่เหลือในพระสูตรนี้
ก็เป็นเช่นนั้น.

10. คิหิสามิจิสูตร


ว่าด้วยธรรม 4 ประการ


[60] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้า ฯลฯ ตรัสพระธรรม
เทศนาว่า คฤหบดี อริยสาวกประกอบด้วยธรรม 4 ประการ ชื่อว่าเป็นผู้
ปฏิบัติปฏิปทาสมควรแก่คฤหัสถ์ อันเป็นทางให้ได้ยศ เป็นทางสวรรค์ ธรรม
4 ประการคืออะไร คือ อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยจีวร
. . . ด้วยบิณฑบาต . . . ด้วยเสนาสนะ. . . ด้วยคิลานปัจจัย ดูก่อนคฤหบดี
อริยสาวกประกอบด้วยธรรม 4 ประการนี้แล ชื่อว่าปฏิบัติปฏิปทาสมควรแก่
คฤหัสถ์ อันเป็นทางให้ได้ยศ เป็นทางสวรรค์
บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมปฏิบัติปฏิปทา
สมควรแก่คฤหัสถ์ คือบำรุงภิกษุผู้มีศีล
ผู้ดำเนินชอบ ด้วยจีวร ด้วยบิณฑบาต