เมนู

ฝ่ายภริยาเป็นผู้เว้นจากปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร เว้นจาก
พูดมุสา พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดสำราก ไม่มีความเห็นแก่ได้ ไม่มี
ใจพยาบาท มีความเห็นชอบ เป็นหญิงมีศีลมีธรรมงาม มีใจปราศจากมลทิน
คือความตระหนี่อยู่ครองเรือน ไม่ด่าว่าสมณพราหมณ์ทั้งหลาย อย่างนี้ ชายผี
อยู่ร่วมกับหญิงเทวดา.

ก็ชายเทวดาอยู่ร่วมกับหญิงผีเป็นอย่างไร ? สามีเป็นผู้เว้นจากปาณา
ติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบ เป็นคนมีศีล ฯลฯ ไม่ด่าว่าสมณพราหมณ์
ทั้งหลาย ฝ่ายภริยาเป็นคนทำปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นผิด เป็นคน
ทุศีล ฯลฯ คำว่าสมณพราหมณ์ทั้งหลาย อย่างนี้ ชายเทวดาอยู่ร่วมกับ
หญิงผี.

ก็ชายเทวดาอยู่ร่วมกับหญิงเทวดาเป็นอย่างไร สามีเป็นผู้เว้นจาก
ปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ ไม่ด่าว่าสมณพราหมณ์
ทั้งหลาย แม้ภริยาก็เช่นเดียวกัน อย่างนี้ ชายเทวดาอยู่ร่วมกับหญิงเทวดา.
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล สังวาส 4 ประเภท.
จบทุติยสังวาสสูตรที่ 4

อรรถกถาทุติยสังวาสสูตร


ทุติยสังวาสสูตรที่ 4 ตรัสกำหนดเทศนาด้วยสามารถกรรมบถ. บทที่
เหลือก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน . ก็ในพระสูตรแม้ทั้งสองเหล่านี้ ตรัสข้อปฏิบัติ
สำหรับผู้อยู่ครองเรือน ทั้งควรแม้แก่คฤหัสถ์ผู้เป็นโสดาบันและสกทาคามี
ด้วย.
จบอรรถกถาทุติยสังวาสสูตรที่ 4

5. ปฐมสมชีวิตสูตร


ว่าด้วยคฤหบดีและคฤหปตานีทูลเรื่องความประพฤติ


[55] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่ป่าเภสกฬา
มฤคทายวัน เมืองสุงสุมารคีระ ในภัคคชนบท
ครั้งนั้น เวลาเช้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองสบงแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จพระพุทธ-
ดำเนินไปนิเวศน์ของคฤหบดีนกุลบิดา ประทับ ณ อาสนะที่เขาจัดถวาย
คฤหบดีนกุลบิดาและคฤหปตานีนกุลมารดา เข้าเฝ้า ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ
ที่สมควรส่วนหนึ่ง ครั้นแล้วคฤหบดีนกุลบิดากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ จำเดิมแต่ข้าพระพุทธเจ้าได้กับนนกุลมารดาตั้งแต่เป็นหนุ่มเป็นสาวด้วย
กันมา ข้าพระพุทธเจ้าไม่รู้สึกว่าได้ประพฤตินอกใจนกุลมารดาแม้แต่นึกคิด
ไม่ต้องกล่าวถึงกระทำ ข้าพระพุทธเจ้าทั้ง 2 ปรารถนาจะได้พบกันทั้งในชาตินี้
และชาติหน้า แม้คฤหปตานีนกุลมารดาก็กราบทูลความอย่างเดียวกัน
พ. ตรัสสั่งสอนว่า ท่านคฤหบดีและท่านคฤหปตานี ถ้าภริยาสามีหวัง
ที่จะได้พบกันทั้งในชาตินี้และชาติหน้าไซร้ ทั้งคู่พึงเป็นผู้มีศรัทธาเสมอกัน
มีศีลเสมอกัน มีจาคะเสมอกัน มีปัญญาเสมอกันเถิด
ก็จะได้พบกัน
ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า.
(นิคมคาถาเหมือนสูตรก่อนตอนท้ายที่ขึ้นต้นว่า อุโภ สทฺธา วทญฺญู
จ ฯเปฯ โมทนฺติ กามกามิโน1).
จบปฐมสมชีวิสูตรที่ 5
โปรดดูคาถาที่ 4 ในปฐมสังวาสสูตรที่ 3 หน้า 185 - 186 (ทั้งคู่เป็นผู้มีศรัทธา ฯลฯ
ย่อมยินดีบันเทิงใจในเทวโลก)