เมนู

ทุติยปัณณาสก์

ปุญญาภิสันทวรรควรรณนาที่ 1

อรรถกถาปฐมปุญญาภิสันทสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในปุญญาภิสันทสูตรที่ 1 วรรคที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปุญฺญาภิสนฺทา ได้แก่ ความหลั่งไหลมาแห่งบุญ อธิบายว่า
ความเกิดขึ้นแห่งบุญ. บทว่า กุสลาภิสนฺทา นั่นเป็นไวพจน์ของบทว่า
ปุญฺญาภิสนฺทา นั้นเอง. ชื่อสุขัสสาหาร ก็เพราะว่าความหลั่งไหลมาแห่ง
บุญเหล่านี้นั้น นำซึ่งความสุขมาให้. ชื่อโสวัคคิกา เพราะว่า ให้อารมณ์มีรูป
เป็นต้นด้วยดี. ชื่อสุขวิปากาเพราะบุญเหล่านั้นมีความสุขเป็นวิบาก. ชื่อสัคค-
สังวัตตนิกา เพราะเป็นไปเพื่อเกิดในสวรรค์.
บทว่า จีวรํ ปริภุญฺชมาโน ความว่า ภิกษุได้ผ้าเพื่อทำจีวร
เพราะเข็มและด้ายเป็นต้นไม่มี จึงเก็บ ไว้เองบ้าง ทำเองบ้าง ให้คนอื่นทำบ้าง
ห่มเองบ้าง ซึ่งผ้านั้น ในเวลาผ้าเก่าทำเป็นผ้าปูนอนบ้าง ไม่อาจทำเป็นผ้า
ปูนอนได้ ก็ทำเป็นผ้าถูพื้นเสียบ้าง ฉีกผ้าที่ไม่เหมาะจะถูพื้นออกทำเป็นผ้า
เช็ดเท้าบ้าง ก็เรียกว่าบริโภคอยู่. แต่เมื่อใดคิดว่า ผ้านี้ใครไม่อาจทำเป็น
ผ้าเช็ดเท้าได้ก็กวาดทิ้งไป เมื่อนั้น ชื่อว่า ไม่บริโภค. บทว่า อปฺปมาณํ
เจโตสมาธึ
คือ อรหัตผลสมาธิ. ด้วยบทว่า อปฺปมาโณ ตสฺส
ปุญฺญาภิสนฺโท
นี้ ตรัสถึงบุญเจตนาของทายก นับประมาณมิได้ ด้วยว่า
บุญเจตนาของทายกนั้น ที่เป็นไปแล้วด้วยอำนาจการระลึกถึงบ่อย ๆ ว่า ภิกษุ
ผู้เป็นขีณาสพ บริโภคจีวรของเราดังนี้ ชื่อว่านับประมาณมิได้ คำนี้ตรัส