เมนู

เมื่อใดพระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ประดุจ
ดวงอาทิตย์บังเกิดขึ้นในโลก ทรงประกาศ
ธรรมอันนี้ ซึ่งเป็นทางให้ถึงความสงบ
ทุกข์ เมื่อนั้น สัตว์เหล่านั้น ผู้ที่มีปัญญา
ได้ฟังธรรมของท่านแล้ว จึงกลับได้คิด
เห็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
และไม่งาม ตามความเป็นจริง เพราะมา
ถือเอาทางความเห็นชอบ ก็ล่วงพ้นทุกข์
ทั้งปวงได้.

จบวิปัลลาสสูตรที่ 9

อรรถกถาวิปัลลาสสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในวิปัลลาสสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สญฺญาวิปลฺลาสา ความว่า มีสัญญาความสำคัญคลาดเคลื่อน
อธิบายว่า มีสัญญา 4 วิปริต ความสำคัญที่ตรงกันข้าม. แม้ในสองบทที่เหลือ
ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อนิจฺเจ ภิกฺขเว นิจฺจนฺติ สญฺญาวิปลฺลาโส
ความว่า เกิดความสำคัญ ยึดถืออย่างนี้ว่าเที่ยงในสิ่งที่ไม่เที่ยง ชื่อว่าสัญญา
วิปัลลาส. บัณฑิตพึงทราบความในบททุกบท โดยนัยนี้ .
บทว่า อนตฺตนิ จ อตฺตา ความว่า ผู้มีความสำคัญอย่างนี้ว่า
เป็นอัตตาให้สิ่งที่เป็นอนัตตา. บทว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิหตา ความว่า สัตว์จะ
สำคัญอย่างเดียวเท่านั้น ก็หามิได้ ยังถูกแม้มิจฉาทิฏฐิความเห็นผิดที่กำลัง

เกิดขึ้นชักนำไปแล้ว เหมือนสัญญาวิปัลลาส. บทว่า ขิตฺตจิตฺตา ความว่า
ผู้ประกอบด้วยจิตซัดส่ายที่กำลังเกิดขึ้นเหมือนสัญญาวิปัลลาสและทิฏฐิวิปัลลาส.
บทว่า วิสญฺญิโน นั่นเป็นเพียงเทศนา. อธิบายว่า เป็นสัญญาจิตและทิฏฐิ
อันวิปริต. บทว่า เต โยคยุตฺตา มารสฺส ความว่า สัตว์เหล่านั้นชื่อว่า
ประกอบอยู่ในเครื่องผูกของมาร. บทว่า อโยคกฺเขมิโน ความว่า เป็นคน
ไม่ถึงความเกษมจากโยคะ คือพระนิพพาน. บทว่า สตฺตา คือบุคคล
ทั้งหลาย. บทว่า พุทฺธา คือผู้ตรัสรู้สัจจะ 4. บทว่า อิมํ ธมฺมํ คือ
สัจจธรรม 4. บทว่า สจิตฺตํ ปจฺจลทฺธา ได้แก่ กลับได้ความคิดของ
ตนเอง. บทว่า อนิจฺจโต ทกฺขุํ ได้แก่ ได้เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง
จริง. บทว่า อสุภตทฺทสํ ได้แก่ ได้เห็นโดยความเป็นของไม่งามจริง.
บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิสมาทานา ได้แก่ ผู้ยึดถือสัมมาทัสสนะ. บทว่า สพฺพํ
ทุกฺขํ อุปจฺจคุํ
ความว่า ล่วงพ้นวัฏฏทุกข์ทั้งสิ้นได้.
จบอรรถกถาวิปัลลาสสูตรที่ 9

10. อุปกิเลสสูตร


ว่าด้วยเครื่องเศร้าหมอง 4 อย่าง


[50] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลส (เครื่องมัวหมอง) แห่ง
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ 4 อย่างนี้ ซึ่งเป็นเหตุให้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ไม่
สว่างไสวไพโรจน์ อุปกิเลสแห่งดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ 4 อย่างคืออะไรบ้าง
คือ เมฆ 1 หมอก 1 ควันและผงคลี 1 อสุรินทราหู 1 นี้แล อุปกิเลส