เมนู

อรรถกถาสุวิทูรสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสุวิทูรสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สุวิทูรวิทูรานิ ความว่า ไม่ใกล้กันโดยปริยายไร ๆ คือ
ไกลแสนไกลนั่นเอง. บทว่า นภญฺจ ภิกฺขเว ปฐวี จ ได้แก่ อากาศกับ
แผ่นดินใหญ่. ในสองอย่างนั้น ชื่อว่าอากาศไม่ไกลจากแผ่นดิน แม้ประมาณ
2 นิ่วก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านก็ยังกล่าวว่าไกลแสนไกลเพราะไม่คิดกันและกัน
บทว่า เวโรจโน คือดวงอาทิตย์. บทว่า สตญฺจ ภิกขเว ธมฺโม
ความว่า โพธิปักขิยธรรม 37 อันต่างด้วยสติปัโฐาน 4 เป็นต้น . บทว่า
อสตญฺจ ธมโม ความว่า อสัทธรรมอันต่างด้วยทิฏฐิ 62. บทว่า ปภงฺกโร
คือดวงอาทิตย์. บทว่า อพฺยายิโก โหติ ได้แก่ ไม่จางไปเป็นสภาพ.
บทว่า สตํ สมาคโม ความว่า การสมาคมของบัณฑิตด้วยสามารถกระชับมิตร.
บทว่า ยาวมฺปิ ติฏฺเฐยฺย ความว่า จะพึงตั้งอยู่นานเท่าใด. บทว่า ตเถว
โหติ
ความว่า ก็คงที่อยู่เช่นนั้น. ไม่ละปกติ. บทว่า ขิปฺปญฺหิ เวติ คือ
ย่อมจางเร็ว.
จบอรรถกถาสุวิทูรสูตรที่ 7

8. วิสาขสูตร


ว่าด้วยวิสาขาปัญจาลิบุตรแสดงธรรมมิกถา


[48] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ วิหารพระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกคฤหบดี กรุงสาวัตถี คราวนั้นท่านวิสาขะ ปัญจาลิบุตร
แสดงธรรมิกถาให้ภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้งให้สมาทานให้อาจหาญให้ร่าเริงอยู่
ในอุปัฏฐานศาลา ด้วยถ้อยคำของชาวเมือง สละสลวยปราศจากโทษ ทำให้
เข้าใจความได้ชัดเจน นับเนื่องในนิพพานไม่อิงวัฏฏะ
ครั้งนั้น เวลาเย็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่ประทับหลีกเร้น
ไปอุปัฏฐานศาลา ประทับนั่ง ณ อาสนะที่จัดไว้แล้ว ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า
ใครหนอแสดงธรรมิกถาให้ภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้งให้สมาทานให้อาจหาญ
ให้ร่าเริง ด้วยคำของชาวเมือง สละสลวย ปราศจากโทษ ทำให้เข้าใจความ
ได้ชัดเจน นับเนื่องในนิพพานไม่อิงวัฏฏะ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ท่านวิสาขะ ปัญจาลิบุตร พระพุทธเจ้าข้า...
พ. จึงตรัสประทานสาธุการกะท่านวิสาขะว่า สาธุ สาธุ วิสาขะ เธอ
แสดงธรรมิกถาให้ภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้งให้สมาทานให้อาจหาญให้ร่าเริง
ด้วยถ้อยคำของชาวเมือง สละสลวย ปราศจากโทษ ทำให้เข้าใจความได้ชัดเจน
นับเนื่องในนิพพานไม่อิงวัฏฏะ ดีนักแล.
คนฉลาดปนกับหมู่คนเขลา เมื่อไม่
พูดออกมา ก็ไม่มีใครรู้จัก ต่อเมื่อพูด
แสดงอมตบท คนทั้งหลายจงรู้ บุคคล
พึงส่องธรรมให้สว่าง พึงยกธงของฤษีไว้
ฤษีทั้งหลายมีสุภาษิตเป็นธง แท้จริง ธรรม
เป็นธงของพวกฤษี.

จบวิสาขสูตรที่ 8