เมนู

อนฺตราเยว กาลกโต ความว่า ยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกในจักรวาล. ก็ตาย
เสียก่อนในระหว่าง. แต่เขาทำกาละในที่นั้นแล้ว จึงมาเกิดในจักรวาลนี้.
บทว่า อปฺปตฺวา ความว่า ยังไม่ถึงที่สุดแห่งสังขารโลก. บทว่า
ทุกฺขสฺส คือ วัฏฏทุกข์. บทว่า อนฺตกิริยํ คือ ทำที่สุด. บทว่า กเฬวเร
คือในอัตภาพ. บทว่า สสญฺญมฺหิ สมนเก คือ มีสัญญามีใจ. บทว่า
โลกํ คือ ทุกขสัจ. บทว่า โลกสมุทยํ คือ สมุทยสัจ. บทว่า โลกนิโรธํ
คือ นิโรธสัจ. บทว่า ปฏิปทํ คือ มรรคสัจ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง
แสดงว่า ผู้มีอายุ เราย่อมไม่บัญญัติสัจจะ 4 เหล่านี้ลงในหญ้าและไม้เป็นต้น
แต่เราย่อมบัญญัติลงในกายนี้ที่มีมหาภูต 4 เท่านั้น. บทว่า สมิตาวี ได้แก่
ผู้มีบาปสงบแล้ว . บทว่า นาสึสติ คือ ย่อมไม่ปรารถนา.
จบอรถกถาปฐมโรหิตัสสสูตรที่ 5

6. ทุติยโรหิตัสสสูตร


ว่าด้วยโรหิตัสสเทวบุตรทูลถามปัญหา


[46] สูตรนี้เนื้อความเหมือนสูตรก่อนทุกอย่าง ต่างแต่ว่าสูตรนี้
เป็นคำที่พระองค์ตรัสเล่าให้ภิกษุทั้งหลายพึงว่า เมื่อคืนนี้มีเทวบุตรชื่อนั้นมา
เฝ้าแล้ว กราบทูลถามอย่างนั้น ๆ นิคมคาถาก็อย่างเดียวกัน .
จบทุติยโรหิตัสสสูตรที่ 6
ทุติยโรหิตัสสสูตรที่ 6 ง่ายทั้งนั้น.

7. สุวิทูรสูตร


ว่าด้วยสิ่งที่ไกลแสนไกล 4


[47] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไกลแสนไกล 4 อย่างนี้ 4 อย่าง
คืออะไร คือ
1. ฟ้ากับดิน
2. ฝั่งในกับฝั่งนอกแห่งสมุทร
3. ที่ ๆ ดวงอาทิตย์อุทัยกับที่ ๆ ดวงอาทิตย์อัสดง
4. ธรรมของสัตบุรุษกับธรรมของอสัตบุรุษ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล สิ่งที่ไกลแสนไกล 4 อย่าง.
ฟ้ากับดิน ไกลกัน ฝั่งสมุทร ก็ว่า
ไกลกัน ที่ ๆ ดวงอาทิตย์อุทัย กับที่ ๆ
ดวงอาทิตย์อัสดง (ก็ไกลกัน) ธรรมของ
สัตบุรุษกับธรรมของสัตบุรุษ ปราชญ์
กล่าวว่าไกลกันยิ่งกว่านั้น
การสมาคมแต่งสัตบุรุษย่อมไม่เสื่อม
คลาย จะนานเท่าใด ๆ ก็คงที่อยู่เช่นนั้น
ส่วนสมาคมแห่งอสัตบุรุษย่อมพลันเสื่อม
เพราะฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษจึงไกลจาก
อสัตบุรุษ.

จบสุวิทูรสูตรที่ 7