เมนู

อรรถกถาปฐมโกธสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในปฐมโกธสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โกธครุ น สทฺธมฺมครุ ความว่า บุคคลถือความโกรธ
เป็นสำคัญ ไม่ถือพระสัทธรรม ย่อมถือพระสัทธรรม แต่ทำให้ไม่สำคัญ. แม้
ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า วิรูหนฺติ ได้แก่ ย่อมเจริญ หรือ
ย่อมตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ด้วยศรัทธาที่เป็นมูลเกิดพร้อมแล้ว.
จบอรรถกถาปฐมโกธสูตรที่ 3

4.ทุติยโกธสูตร


ว่าด้วยอสัทธรรม 4


[44] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัทธรรม 4 ประเภทนี้ อสัทธรรม
4 ประเภทคืออะไร คือ ความเป็นผู้หนักในความโกรธ ไม่หนักในพระ-
สัทธรรม 1 ความเป็นผู้หนักในความลบหลู่ท่าน ไม่หนักในพระสัทธรรม 1
ความเป็นผู้หนักในลาภ ไม่หนักในพระสัทธรรม 1 ความเป็นผู้หนักในสักการะ
ไม่หนักในพระสัทธรรม 1 นี้แล อสัทธรรม 4 ประเภท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระสัทธรรม 4 ประเภทนี้ พระสัทธรรม 4
ประเภทคืออะไร คือ ความเป็นผู้หนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในความ
โกรธ 1 ความเป็นผู้หนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในความลบหลู่ท่าน 1
ความเป็นผู้หนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในลาภ 1 ความเป็นผู้หนักใน
พระสัทธรรม ไม่หนักในสักการะ 1. นี้แล พระสัทธรรม 4 ประเภท.

ภิกษุผู้หนักในความโกรธและความ
ลบหลู่ท่าน หนักในลาภและสักการะ ย่อม
ไม่งอกงามในพระสัทธรรม ดุจพืชที่หว่าน
ในนาเลวฉะนั้น.
ส่วนภิกษุเหล่าใดหนักในพระสัท-
ธรรมแล้ว และกำลังหนักในพระสัทธรรม
อยู่ ภิกษุเหล่านั้นย่อมงอกงามในธรรม
ดุจสมุนไพรได้ปุ๋ยฉะนั้น.

จบทุติยโกธสูตรที่ 4
ในทุติยโกธสูตรที่ 4 บทว่า โกธครุตา แปลว่า ความเป็นผู้หนัก
อยู่ในความโกรธ. ในบททั้งปวงก็นัยนี้นี่แล.

5. ปฐมโรหิตัสสสูตร


ว่าด้วยโรหิตัสสเทวบุตรทูลถามปัญหา


[45] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชต-
วัน อารามของอนาถบิณฑิกคฤหบดี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น เมื่อราตรีล่วง
(ปฐมยาม) แล้ว เทวบุตรชื่อโรหิตัสสะ มีฉวีวรรณงดงาม (ฉายรัศมี)
ยังพระเชตวันให้สว่างไปทั่ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเข้าไปถึงแล้ว
ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง แล้วกราบทูลถามพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในที่สุดโลกใด สัตว์ไม่เกิดไม่แก่ไม่ตาย