เมนู

อรรถกถาปฏิลีนสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในปฏิลีนสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปนุณฺณปจฺเจกสจฺโจ ได้แก่ ภิกษุชื่อว่า ผู้มีปัจเจกสัจจะ
อันถ่ายถอนได้แล้ว เพราะว่า ทิฏฐิสัจจะกล่าวคือความเห็นแต่ละอย่าง เพราะ
ยึดถือความเห็นแต่ละอย่าง อย่างนี้ว่า ความเห็นนี้เท่านั้นจริง นี้เท่านั้นจริง
เธอถ่ายถอนคือกำจัดละได้แล้ว. ในบทว่า สมวยสฏฺเฐสโน นี้ บทว่า สมวย
แปลว่า ไม่บกพร่อง. บทว่า สฏฺฐา แปลว่า สละแล้ว ชื่อว่าสมวย-
สฏฺเฐสโน
เพราะละเลิกการแสวงหาโดยสิ้นเชิง อธิบายว่า ผู้ละเลิกการ
แสวงหาหมดทุกอย่างโดยชอบ. บทว่า ปฏิลีโน แปลว่า ผู้หลีกเร้น คืออยู่
ผู้เดียว. บทว่า ปุถุสมณพฺราหฺมณานํ ได้แก่ สมณะเเละพราหมณ์เป็น
อันมาก. ในคำว่า สมณพฺราหฺมณานํ นี้ ก็คนที่เข้าไปบวช ชื่อสมณะ
คนที่กล่าวว่า โภผู้เจริญ ชื่อว่าพราหมณ์.
บทว่า ปุถุปจฺเจกสจฺจานิ ได้แก่ สัจจะแต่ละอย่างเป็นอันมาก.
บทว่า นุณฺณานิ แปลว่า นำออกแล้ว. บทว่า ปนุณฺณานิ แปลว่า นำออก
ดีแล้ว. บทว่า จตฺตานิ แปลว่า สลัดแล้ว. บทว่า วนฺตานิ แปลว่า
คายออกแล้ว. บทว่า มุตฺตานิ คือ ทำเครื่องผูกให้ขาดแล้ว. บทว่า ปหีนานิ
แปลว่า ละได้แล้ว. บทว่า ปฏินิสฺสฏฺฐานิ แปลว่า สละทิ้งไปแล้ว โดย
ที่จะไม่งอกขึ้นที่ใจอีก. บทเหล่านี้ทุกบท เป็นคำใช้แทนความเสียสละ ซึ่งความ
ยึดถือที่ยึดถือไว้แล้ว. บทว่า กาเมสนา ปหีนา โหติ ได้แก่ การแสวงหากาม
เป็นอันละได้แล้วด้วยอนาคามิมรรค. ส่วนการแสวงหาภพ เป็นอันกำลังละด้วย
อรหัตมรรค แม้การแสวงหาพรหมจรรย์ คือ อัธยาศัยที่เป็นไปแล้ว อย่างนี้ว่า
เราจักเสาะแสวงพรหมจรรย์ดังนี้ ก็สงบระงับไปด้วยอรหัตมรรคนั่นเอง. ส่วน
การแสวงหาทิฏฐิพรหมจรรย์ ก็พึงพูดได้ว่า ย่อมระงับไปด้วยโสดาปัตติมรรค
อย่างเดียว. บทว่า เอวํ โข ภิกฺขเว ความว่า กายสังขารระงับแล้วด้วยจตุตถ-

ฌาน อย่างนี้ ก็ชื่อว่าลมอัสสาสะปัสสาสะสงบแล้ว . บทว่า อสฺมิมาโน ได้แก่
มานะ 8 อย่างที่เกิดขึ้นว่า เราเป็น.
คาถาทั้งหลาย พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ การแสวงหานี้มี 2 คือ การ
แสวงหากาม การแสวงหาภพ.
บทว่า พฺรหฺมจริเยสนา สห ความว่า
การแสวงหานั่นเป็น 3 คือ การแสวงหาพรหมจรรย์ รวมทั้งการแสวงหา 2
นั้น พึงยืนหลักไว้ในที่นี้ แล้วประกอบความกับบทนี้ว่า เอสนา ปฏินิสฺสฏฺฐา
ละเลิกการแสวงหา. บทว่า อิติ สจฺจปรามาโส ทิฏฺฐิฏฺฐานา สมุสฺสยา
ความว่า ความยึดถือว่า ดังนี้จริง ดังนี้จริง และที่ตั้งแห่งทิฏฐิ กล่าวคือ
ทิฏฐินั้นเอง ที่เรียกว่า สมุสสยะ เพราะกายถูกธาตุ 4 สร้างขึ้น คือยกขึ้น
ตั้งไว้ แม้หมดทุกอย่าง. พึงยืนหลักไว้ในที่นี้แล้วประกอบความกับบทนี้ว่า
ทิฏฺฐิฏฺฐานา สมูหตา เพิกถอนกายที่ตั้งแห่งทิฏฐิ. ถามว่า ใครละเลิกการ
แสวงหาเหล่านั้น และใครเพิกถอนที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านั้นได้แล้ว . ตอบว่า
ภิกษุผู้คลายความกำหนัด ทั้งปวงแล้ว ได้วิมุตติเพราะสิ้นตัณหา ด้วยว่า ภิกษุใด
คลายความกำหนัดแล้วจากราคะทั้งปวง เป็นผู้ประกอบด้วยอรหัตผลวิมุตติที่
เป็นไปเพราะสิ้นตัณหา คือเพราะดับสนิท ภิกษุนั้นละเลิกการแสวงหาได้แล้ว
และเพิกถอนกายที่ตั้งแห่งทิฏฐิได้แล้ว. บทว่า ส เว สนฺโต ความว่า ภิกษุนั้น
คือเห็นปานนี้ ชื่อว่าสงบ เพราะกิเลสสงบ. บทว่า ปสฺสทฺโธ ได้แก่
ระงับแล้ว ด้วยกายปัสสัทธิ และจิตตปัสสัทธิทั้งสอง. บทว่า
อปราชิโต ความว่า ชื่อว่าอันใคร ๆ ทำให้พ่ายแพ้ไม่ได้ เพราะชนะสรรพ-
กิเลสเสร็จแล้ว. บทว่า มานาภิสมยา คือเพราะละมานะได้. บทว่า พุทฺโธ
ความว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัจจะทั้ง 4 ตั้งอยู่. ด้วยเหตุนั้น ทั้งในพระสูตรนี้ ทั้ง
ในพระคาถา จึงตรัสแต่ท่านผู้สิ้นอาสวะอย่างเดียว.
จบอรรถกถาปฏิลีนสูตรที่ 8

9. อุชชยสูตร


ว่าด้วยอุชชยพราหมณ์ทูลถามปัญหา


[39] ครั้งนั้น พราหมณ์ชื่ออุชชยะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ฯลฯ กราบทูลถามว่า พระโคดมผู้เจริญ สรรเสริญยัญ บ้างหรือไม่.
พ. ตรัสตอบว่า พราหมณ์ เราไม่สรรเสริญยัญไปเสียทั้งนั้น และ
มิใช่ติเตียนยัญไปทั้งหมด ในยัญอย่างใด มีโค แพะ ไก่ และสุกรทั้งหลาย
ถูกฆ่า สัตว์หลายหลากชนิดถึงซึ่งความมอดม้วย เราไม่สรรเสริญยัญอย่างนั้น
อันมีการที่จะต้องเป็นธุระริเริ่มมาก เพราะเหตุอะไร เพราะเหตุว่าพระอรหันต์
ทั้งหลายก็ดี ท่านผู้ดำเนินตามทางพระอรหันต์ก็ดี ไม่ข้องแวะยัญอันมีการ
ที่จะต้องเป็นธุระมากอย่างนี้เลย ส่วนว่าในยัญอย่างใด มีโค แพะ ไก่และ
สุกรทั้งหลายไม่ถูกฆ่า สัตว์ต่าง ๆ ชนิดไม่ถึงซึ่งความมอดม้วย เราสรรเสริญ
ยัญอย่างนั้น อันไม่มีการที่จะต้องเป็นธุระริเริ่มมาก ยัญอย่างนั้นคืออะไร คือ
นิจทาน (ทานที่ให้เป็นนิตย์) อันเป็นอนุกุลยัญ (ยัญคือทานที่ให้ตามสกุล
คือตามอย่างบุรพบุรุษกระทำมา) ที่เราสรรเสริญนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะ
เหตุว่าพระอรหันต์ทั้งหลายก็ดี ท่านผู้ดำเนินตามทางพระอรหันต์ก็ดี ย่อม
เกี่ยวข้องยัญอันไม่มีการที่จะต้องเป็นธุระริเริ่มมากอย่างนี้.
มหายัญทั้งหลายที่มีการจะต้องเป็น
ธุระริเริ่มมาก คือ อัสสเมธะ ปุริสเมธะ
สัมมาปาสะ นิรัคคฬะ มหายัญเหล่านั้น
หามีผลมากไม่.