เมนู

อรรถกถาวัสสการสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในวัสสการสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อนุสฺสริตา ได้แก่ ตามระลึกถึง. อธิบายว่า เป็นผู้สามารถ
ระลึกถึงเรื่องสืบ ๆ ต่อกันมาได้. บทว่า ทกฺโข คือเป็นผู้ฉลาด. บทว่า
ตตฺรุปายาย ความว่า ผู้ประกอบด้วยปัญญา อันเป็นอุบายในกิจนั้น ๆ ได้
อย่างนี้ว่า ในเวลานี้ควรทำกิจนี้ ดังนี้ . บทว่า อนุโมทิตพฺพํ ได้แก่ควร
ทรงยินดี. บทว่า ปฏิกฺโกสิตพฺพํ ได้แก่ ควรคัดค้าน. บทว่า เนว โข
ตฺยาหํ
ได้แก่ เราไม่อนุโมทนาแก่ท่าน. ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงไม่ทรงยินดี ไม่ทรงคัดค้านข้อนั้น. ตอบว่า พระองค์ไม่ทรง
ยินดี เพราะเป็นโลกิยะ ไม่ทรงคัดค้าน เพราะยึดเอาแต่ประโยชน์ที่เป็นโลกิยะ.
บทว่า พหุสฺส ชนตา ตัดบทเป็น พหุ อสฺส ชนตา แปลว่า ประชุมชน
เป็นอันมาก. ก็บทนี้ พึงทราบว่าเป็นฉัฏฐีวิภัติใช้ในอรรถตติยาวิภัติ. บทว่า
อริเย ญาเย คือในมรรคพร้อมด้วยวิปัสสนา. บทว่า กลฺยาณธมฺมตา
กุสลธมฺมตา
เป็นชื่อของมรรคนั้นทั้งนั้น. บทว่า ยํ วิตกฺกํ ความว่า
ตรึกบรรดาเนกขัมมวิตกเป็นต้นอย่างหนึ่ง. บทว่า น ตํ วิตกฺกํ วิตกฺเกติ
ความว่า ไม่ตรึกบรรดากามวิตกเป็นต้น แม้แต่วิตกเดียว บทนอกนี้เป็น
ไวพจน์ของบทว่า วิตกฺกํ นั้นเอง. วิตกในบทว่า วิตกฺกปเถสุ นี้ ได้แก่
ทางวิตก. ในบทเป็นอาทิว่า อหํ หิ พฺราหฺมณ พึงทราบว่า โดยนัยที่หนึ่ง
ท่านกล่าวถึงศีลและพาหุสัจจะของพระขีณาสพ โดยนัยที่สองและที่สาม ท่าน
กล่าวถึงกิริยวิตก วิตกที่เป็นแต่กิริยา และกิริยฌาน ฌานที่เป็นแต่กิริยาของ
พระขีณาสพ โดยนัยที่สี่ ท่านกล่าว ถึงความเป็นพระขีณาสพ ดังนี้ .