เมนู

บทว่า ตตฺถ ตตฺถ ยถารหํ ความว่า ความวางตนสม่ำเสมอใน
ธรรมนั้น ๆ ตามสมควร. บทว่า รถสฺสาณีว ยายโต ความว่า สังคหธรรม
เหล่านี้ ย่อมยึดเหนี่ยวโลกไว้ได้ เหมือนสลัก (ที่หัวเพลา) ย่อมยึดรถที่แล่น
ไปอยู่ คือย่อมยึดยาน (คือรถ) ไว้ได้ฉะนั้น. บทว่า น มาตา ปุตฺตการณา
ความว่า ถ้ามารดาไม่พึงทำการสงเคราะห์เหล่านั้นแก่บุตรไซร้ ท่านก็ไม่พึง
ได้รับความนับถีอ หรือบูชา เพราะบุตรเป็นเหตุ. บทว่า สงฺคหา เอเต
เป็นปฐมาวิภัติใช้ในอรรถทุติยาวิภัติ อนึ่ง ปาฐะว่า สงฺคเห เอเต ก็มี.
บทว่า สมเวกฺขนฺติ คือ ย่อมพิจารณาเห็นโดยชอบ. บทว่า ปาสํสา จ
ภวนฺติ
คือ ย่อมเป็นผู้ควรสรรเสริญ.
จบอรรถกถาสังคหสูตรที่ 2

3. สีหสูตร


ว่าด้วยพระตถาคตเป็นผู้มีฤทธิ์มาก


[33] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ราชสีห์ออกจากที่อาศัยในเวลาเย็น สลัด-
กายแล้ว มองไปรอบทั้ง 4 ทิศ แผดเสียงขึ้น 3 ครั้ง แล้ว จึงออกไปหาเหยื่อ
ฝ่ายเหล่าสัตว์เดียรัจฉานได้ยินเสียงแผดของราชสีห์ โดยมากย่อมบังเกิดความ
กลัว สยอง หวาดสะดุ้ง จำพวก (พิลาสัย) อยู่ในปล่องในโพรง ก็เข้าปล่อง
เข้าโพรง จำพวก (อุทกาสัย) อยู่ในน้ำ ก็ลงน้ำ จำพวก (วนาสัย) อยู่ใน
ป่าในรก ก็เข้าป่าเข้ารก จำพวก (ปักษี) มีปีกก็บินขึ้นอากาศ แม้แต่
ช้างหลวงที่เขาผูกไว้ด้วยเชือกหนังอันเหนียวแน่น ในคามนิคมและราชธานี
ทั้งหลาย ก็กระชากเครื่องผูกยับเยิน กลัวจนมูตรคูถไหล วิ่งเตลิดไปไม่รู้ว่า

ทางไหนต่อทางไหน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ราชสีห์มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพ
ยิ่งใหญ่มากกว่าบรรดาสัตว์เดียรัจฉานอย่างนี้ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันเดียวกันนั่นแหละ เมื่อตถาคตเกิดขึ้นในโลก
เป็นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ฯลฯ แสดงธรรมว่า สักกายะเป็นอย่างนี้
สักกายสมุทัยเป็นอย่างนี้ สักกายนิโรธเป็นอย่างนี้ สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา
เป็นอย่างนี้ แม้แต่เทวดาทั้งหลายที่อายุยืน ผิวพรรณงาม มีความสุขมาก
สถิตอยู่ตลอดกาลนานในวิมานอันสูง ได้ฟังธรรมเทศนาของตถาคตแล้ว
โดยมากย่อมบังเกิดความพรั่นใจ ความสังเวชใจ ความสะดุ้ง ได้สำนึกว่า
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า ชาวเรานี่ไม่เที่ยงแท้หนอ อย่าได้สำคัญตัวว่าเป็น
ผู้เที่ยงแท้ พวกเราไม่คงทนหนอ อย่าได้สำคัญตนว่าเป็นผู้คงทน พวกเรา
ไม่ยั่งยืนหนอ อย่าได้สำคัญตัวว่าเป็นผู้ยั่งยืน ผู้เจริญทั้งหลาย ท่านว่าชาวเรา
นี่ไม่เที่ยงแท้ ไม่คงทน ไม่ยั่งยืน (ที่แท้ก็) นับเนื่องอยู่ในสักกายะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้แล เป็นผู้มี
อานุภาพยิ่งใหญ่กว่าชาวโลกกับทั้งเทวโลก ด้วยประการอย่างนี้แล
เมื่อพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระศาสดาหา
บุคคลเปรียบมิได้ ทรงประกาศพระธรรม
จักร คือ สักกายะ เหตุเกิดแห่งสักกายะ
สักกายนิโรธและอริยมรรคมีองค์ 8 อันเป็น
ทางแห่งความสงบทุกข์ แก่ชาวโลกกับทั้ง
เทวโลก แม้แต่ทวยเทพผู้อายุยืน ผิวพรรณ
งาม มียศ ไม่ฟังคำของพระองค์ผู้เป็นพระ-
อรหันต์ ผู้พ้นอย่างวิเศษแล้ว ผู้คงที่แล้ว

ก็พรั่นใจ บังเกิดความสะดุ้ง ว่าชาวเรานี่
ไม่เที่ยงแท้ ไม่ก้าวล่วงสักกายะ ดุจฝูง
มฤคสามัญได้ยินเสียงแผดแห่งสีหะแล้ว
สะดุ้งตื่นกลัว ฉะนั้น.

จบสีหสูตรที่ 3

อรรถกถาสีหสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสีหสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สีโห ได้แก่ราชสีห์ 4 ประเภทคือ ติณราชสีห์ 1 กาฬ-
ราชสีห์ 1 ปัณฑุราชสีห์ 1 ไกรสรราชสีห์ 1.
ในราชสีห์เหล่านั้น
ติณราชสีห์กินหญ้าเช่นกับแม่โคสีนกพิราบ. กาฬราชสีห์กินหญ้าเช่นกับแม่โค
ดำ. ปัณฑุราชสีห์กินเนื้อเช่นกับแม่โคมีสีใบไม้เหลือง. ไกรสรราชสีห์ประกอบ
ด้วยหน้า ปลายหาง และปลายเท้าทั้ง 4 ที่ธรรมชาติตกแต่งด้วยครั่ง ตั้งแต่
ศีรษะของไกรสรราชสีห์นั้น รอย 3 รอยคล้ายเขาเขียนไว้ด้วยพู่กันครั่งไปตรง
กลางหลัง เป็นขวัญอยู่ในระหว่างโคนขา. ส่วนที่คอของมันมีสร้อยคอคล้ายกับ
แวดวงไว้ด้วยผ้ากัมพลแดงมีค่านับแสน. ส่วนอวัยวะที่เหลือได้มีสีตัวดังก้อน
ข้าวสาลีล้วน หรือดังก้อนจุณแห่งหอยสังข์ ในราชสีห์ 4 เหล่านี้ ท่านประสงค์
เอาไกรสรราชสีห์นี้ในที่นี้.
บทว่า มิคราชา ได้แก่ เป็นราชาแห่งฝูงเนื้อทั้งหมด. บทว่า
อาสยา ได้แก่ ออกจากสถานที่อยู่. ท่านอธิบายว่า ย่อมออกจากถ้ำทอง
หรือถ้ำเงิน ถ้ำแก้วมณี ถ้าแก้วผลึก หรือถ้ำมโนศิลา. ก็เมื่อจะออก ย่อม