เมนู

อรรถกถาปริพาชกสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในปริพาชกสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อภิญฺญาตา ได้แก่ ผู้มีชื่อที่รู้จักกันคือปรากฏ. บทว่า
อนฺนภาโร เป็นต้น เป็นชื่อของปริพาชกเหล่านั้น. บทว่า ปฏิสลฺลานา
วุฏฺฐิโต
ได้แก่ พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จออกจากผลสมาบัติ. ก็ผลสมาบัตินั้น
ท่านประสงค์ว่าที่เร้นในที่นี้. บทว่า ปจฺจกฺขาย คือคัดค้าน. บทว่า
อภิชฺฌาลุํ คือผู้มีตัณหา. บทว่า กาเมสุ ติพฺพสาราคํ ความว่า ผู้มีราคะ
ความกำหนัดมากในวัตถุกาม. บทว่า ตมหํ ตตฺถ เอวํ วเทยฺยํ ความว่า
เมื่อเขากล่าวคำนั้น เราจะกล่าวอย่างนี้ในเหตุนั้น . บทว่า ปฏิกฺโกสิตพฺพํ
มญฺเญยฺย
ความว่า ผู้ใดมาสำคัญว่าควรคัดค้าน คือว่าควรห้าม. บทว่า
สหธมฺมิกา ได้แก่พร้อมกับเหตุ บทว่า วาทานุปาตา ความว่า ก็เบียดเบียน
วาทะที่ประกอบด้วยธรรม ก็ตกไปตามวาทะที่ไม่ประกอบด้วยธรรม อธิบายว่า
ประพฤติตามวาทะ. บทว่า คารยฺหา ฐานา คือปัจจัยอันควรติเตียน. บทว่า
อาคจฺฉนฺติ คือย่อมเข้าถึง.
บทว่า อุกฺกลา คือชาวชนบทอุกกละ. บทว่า วสฺสภญฺญา คือ
ปริพาชก 2 คน ชื่อวัสสะ และภัญญะ. บทว่า อเหตุกวาทา ความว่า
ทั้ง 2 คนเป็นผู้มีวาทะเป็นต้นอย่างนี้ว่า เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มี เพื่อความ
หมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลายดังนี้. บทว่า อกิริยวาทา ความว่า ผู้มีวาทะปฏิเสธ
กิริยวาทะอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลทำอยู่ บาปไม่ชื่อว่าอันบุคคลทำดังนี้. บทว่า
นตฺถิกวาทา ความว่า ผู้มีวาทะเป็นต้นอย่างนี้ว่า ทานที่ทายกให้แล้วไม่มีผล
ดังนี้ . คนทั้ง 2 เหล่านั้น เป็นผู้ดิ่งลงในทัสนะทั้ง 3 เหล่านี้. ถามว่า ก็ใน