เมนู

สูตรที่ 10



ว่าด้วยมาตุคามไม่อิ่มไม่ระอาธรรม 2 ประการ



[306] 60. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามไม่อิ่ม ไม่ระอาต่อ
ธรรม 2 ประการ ทำกาลกิริยา ธรรม 2 ประการเป็นไฉน คือ การ
เสพเมถุนธรรม 1 การตลอดบุตร 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคาม
ไม่อิ่ม ไม่ระอาต่อธรรม 2 ประการนี้แล ทำกาลกิริยา.
จบสูตรที่ 10

อรรถกถาสูตรที่ 10



ในสูตรที่ 10 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อปฺปฏิวาโน ได้แก่ ไม่เธอ ไม่ท้อแท้.
จบอรรถกถาสูตรที่ 10

สูตรที่ 11



ว่าด้วยการอยู่ร่วมของอสัตบุรุษและสัตบุรุษ



[307] 61. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงการอยู่ร่วมของ
อสัตบุรุษ 1 การอยู่ร่วมของสัตบุรุษ 1 แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระ-
ผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็การอยู่ร่วมของอสัตบุรุษเป็น
อย่างไร และอสัตบุรุษย่อมอยู่ร่วมอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่
เป็นเถระในธรรมวินัยนี้ ย่อมคิดเช่นนี้ว่า ถึงภิกษุที่เป็นเถระก็ไม่ควรว่า
กล่าวเรา ถึงภิกษุที่เป็นมัชฌิมะก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ถึงภิกษุที่เป็นนวกะ

ก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา แม้เราก็ไม่พึงว่ากล่าวภิกษุที่เป็นเถระ ภิกษุที่เป็น
มัชฌิมะ ภิกษุที่เป็นนวกะ ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นเถระจะพึงว่ากล่าวเราไซร้
ก็พึงปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ว่า
กล่าวเรา เราพึงพูดกะเขาว่า จักไม่ทำละ ดังนี้ แม้เราก็พึงเบียดเบียน
เขาบ้าง เราแม้เห็นอยู่ก็ได้พึงตมถ้อยคำของเขา แม้หากภิกษุที่เป็น
มัชฌิมะจะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ก็พึงปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่
ใช่ปรารถนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ว่ากล่าวเรา เราพึงพูดกะเขาว่า จักไม่ทำละ
ดังนี้ แม้เราก็พึงเบียดเบียนเขาบ้าง แม้เราเห็นอยู่ ก็ไม่พึงทำตามถ้อยคำ
ของเขา ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นนวกะ จะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ก็พึงปรารถนาแต่สิ่ง
ที่ไม่เป็นประโยชน์ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ว่ากล่าวเรา เราพึงพูด
กะเขาว่า จักไม่ทำละ ดังนี้ แม้เราก็พึงเบียดเบียนเขาบ้าง เราแม้จะเห็น
อยู่ ก็ไม่พึงทำตามถ้อยคำของเขา แม้ภิกษุที่เป็นมัชฌิมะก็คิดอย่างนี้ ฯลฯ
แม้ภิกษุที่เป็นนวกะก็คิดเช่นนี้ว่า ถึงภิกษุที่เป็นเถระก็ไม่ควรกล่าวว่าเรา
ถึงภิกษุที่เป็นมัชฌิมะก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ถึงภิกษุที่เป็นนวกะก็ไม่ควรว่า
กล่าวเรา แม้เราก็ไม่พึงว่ากล่าวภิกษุที่เป็นเถระ ภิกษุที่เป็นมัชฌิมะ ภิกษุ
ที่เป็นนวกะ ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นเถระจะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ก็พึงปรารถนา
สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่ปรารถนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ว่ากล่าวเรา เราพึง
พูดกะเขาว่า จักไม่ทำละ ดังนี้ แม้เราก็พึงเบียดเบียนเขาบ้าง เราแม้จะ
เห็นอยู่ ก็ไม่พึงทำตามถ้อยคำของเขา ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นมัชฌิมะจะพึงว่ากล่าว
เราไซร้ ... ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นนวกะจะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ก็พึงปรารถนาแต่
สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่ปรารถนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ว่ากล่าวเรา เรา
พึงพูดกะเขาว่า จักไม่ทำละ ดังนี้ แม้เราก็พึงเบียดเบียนเขาบ้าง เรา

แม้จะเห็นอยู่ ก็ไม่พึงทำตามถ้อยคำของเขา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การอยู่
ร่วมของอสัตบุรุษเป็นเช่นนี้แล และอสัตบุรุษย่อมอยู่ร่วมเช่นนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การอยู่ร่วมของสัตบุรุษเป็นอย่างไร และสัตบุรุษ
ย่อมอยู่ร่วมอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เป็นเถระในธรรมวินัยนี้
ย่อมคิดเช่นนี้ว่า ถึงภิกษุที่เป็นเถระก็พึงว่ากล่าวเรา ถึงภิกษุที่เป็นมัชฌิมะก็
พึงว่ากล่าวเรา ถึงภิกษุที่เป็นนวกะก็พึงว่ากล่าวเรา แม้เราก็พึง ๆ กล่าวภิกษุ
ที่เป็นเถระ ภิกษุที่เป็นมัชฌิมะ ภิกษุที่เป็นนวกะ ถ้าภิกษุที่เป็นเถระจะพึง
ว่ากล่าวเราไซร้ ก็พึงปรารถนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่
ไม่เป็นประโยชน์ว่ากล่าวเรา เราพึงพูดกะเขาว่า ดีละ ดังนี้ แม้เราก็ไม่
พึงเบียดเบียนเขา เราแม้เห็นอยู่ ก็ควรทำตามถ้อยคำของเขา ถ้าแม้ภิกษุ
ที่เป็นมัชฌิมะจะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ... ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นนวกะจะพึงว่ากล่าว
เราไซร้ ก็พึงปรารถนาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็น
ประโยชน์ว่ากล่าวเรา เราพึงพูดกะเขาว่า ดีละ ดังนี้ แม้เราก็ไม่พึง
เบียดเบียนเขา เราแม้เห็นอยู่ ก็ควรทำตามถ้อยคำของเขา แม้ภิกษุที่เป็น
มัชฌิมะก็คิดเช่นนี้ ฯลฯ แม้ภิกษุที่เป็นนวกะก็คิดเช่นนี้ว่า ถึงภิกษุที่
เป็นเถระก็พึงว่ากล่าวเรา ถึงภิกษุที่เป็นมัชฌิมะก็พึงว่ากล่าวเรา ถึงภิกษุ
ที่เป็นนวกะก็พึงว่ากล่าวเรา เราก็พึงว่ากล่าวภิกษุที่เป็นเถระ ที่เป็น
มัชฌิมะ ภิกษุที่เป็นนวกะ ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นเถระจะพึงว่ากล่าวเรา ก็พึง
ปรารถนาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ว่า
กล่าวเรา เราพึงพูดกะเขาว่า ดีละ ดังนี้ แม้เราไม่พึงเบียดเบียนเขา
เราแม้เห็นอยู่ ก็ควรทำตามถ้อยคำของเขา ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นมัชฌิมะจะ
พึงว่ากล่าวเราไซร้ ... ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นนวกะจะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ก็พึง

ปรารถนาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ว่า
กล่าวเรา เราพึงพูดกะเขาว่า ดีละ ดังนี้ แม้เราไม้พึงเบียดเบียนเขา
เราแม้เห็นอยู่ ก็ควรทำตามถ้อยคำของเขา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การอยู่
ร่วมของสัตบุรุษเป็นเช่นนี้แล และสัตบุรุษย่อมอยู่ร่วมเช่นนี้.
จบสูตรที่ 11

อรรถกถาสูตรที่ 11



ในสูตรที่ 11 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อสนฺตสนฺนิวาสํ ได้แก่ การอยู่ร่วมกันของเหล่าสัตบุรุษ.
บทว่า น วเทยฺย ความว่า ไม่พึงกลว่ากล่าว อธิบายว่า จงอย่าว่ากล่าว
ด้วยโอวาทก็ตาม ด้วยอนุสาสนีก็ตาม. บทว่า เถรํปาหํ น วเทยฺยํ
ความว่า แม้เราก็ไม่พึงว่ากล่าวภิกษุผู้เถระ โดยโอวาทและอนุสาสนี.
บทว่า อหิตานุกมฺปี ได้แก่ นุ่งหวังแต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์. บทว่า
โน หิตานุกมฺปี ได้แก่ ไม่มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูล. บทว่า โนติ นํ
วเทยฺยํ
ความว่า พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักไม่เชื่อคำของท่าน. บทว่า
วิเหเสยฺยํ ความว่า พึงเบียดเบียนเพราะเหตุแห่งถ้อยคำ. บทว่า ปสฺสมฺ-
ปิสฺส น ปฏิกเรยฺยํ
ความว่า แม้เราเห็นอยู่ก็ตาม รู้อยู่ก็ตาม จะไม่เชื่อ
คำของผู้นั้น. พึงทราบเนื้อความในบททั้งปวงโดยอุบายนี้. ส่วนในฝ่าย
ขาว บทว่า สาธูติ นํ วเทยฺยํ ความว่า เมื่อเราชื่นชมคำของเขา จะ
พึงกล่าวว่า ดีละ เจริญแท้ ท่านกล่าวดีแล้ว.
จบอรรถกถาสูตรที่ 11