เมนู

จำเลยถูกโจทด้วยความไม่พอใจ 1 โทษล่วงเกินกันด้วยอำนาจโทษ 2
อย่างนั้น. คำที่เหลือในที่นี้ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสูตรที่ 5

สูตรที่ 6



ว่าด้วยเหตุปัจจัยให้สัตว์ตายแล้วเข้าถึงทุคติและสุคติ



[262] 16. ครั้งนั้นแล พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการ
ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนขางหนึ่ง ครั้น
แล้วได้ทูลถานพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอ
เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป
ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ดูก่อนพราหมณ์ เพราะเหตุแห่งการประพฤติไม่สม่ำเสมอ คือ ประพฤติ
เป็นอธรรม สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป จึงเข้าถึงอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก.
พ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้สัตว์
บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.
ภ. ดูก่อนพราหมณ์ เพราะเหตุแห่งการประพฤติสม่ำเสมอ คือ
ประพฤติเป็นธรรม สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป จึงเข้า
ถึงสุคติโลกสวรรค์.
พ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาติของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ท่านพระโคดมทรง

ประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของ
ที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้
มีจักษุจักเห็นรูปฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม กับทั้งพระ-
ธรรมและภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ. ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่า
เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบสูตรที่ 6

อรรถกถาสูตรที่ 6



ในสูตรที่ 6 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อญฺญตโร ได้แก่ พราหมณ์คนหนึ่งไม่ปรากฏชื่อ. บทว่า
เยน ในคำว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ นี้ เป็นตติยาวิภัตติ ลงใน
อรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ. เพราะฉะนั้น พึงทราบเนื้อความในที่นี้อย่างนี้ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในที่ใด พราหมณ์เข้าไปเฝ้าในที่นั้น. อีก
อย่างหนึ่ง พึงทราบเนื้อความในที่นี้อย่างนี้ว่า พวกเทวดาและมนุษย์เข้า
ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเหตุใด พราหมณ์เข้าไปเฝ้าด้วยเหตุนั้น.
ก็พราหมณ์นั้นควรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเหตุอะไร. ด้วยความ
ประสงค์บรรลุคุณวิเศษนานัปการ เหมือนฝูงนกเข้าหาต้นไม้ใหญ่ที่ออกผล
เป็นนิจ ด้วยความต้องการกินผลไม้อร่อย ๆ. อนึ่ง บทว่า อุปสงฺกมิ
ท่านอธิบายว่า ไปแล้ว. บทว่า อุปสงฺกมิตฺวา เป็นคำแสดงถึง
ความสิ้นสุดของการเข้าไปเฝ้า. อีกอย่างหนึ่ง ท่านอธิบายว่า ผู้ที่ไป
อย่างนี้ ไปยังที่ใกล้กว่านั้น กล่าวคือใกล้ชิดพระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า
ภควตา สทฺธึ สมฺโมทิ ความว่า พราหมณ์แม้นั้นได้มีความชื่นชมกับ