เมนู

สูตรที่ 5



ว่าด้วยเหตุให้อธิกรณ์ยืดเยื้อและไม่ยืดเยื้อ



[261] 15. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอธิกรณ์ใด ที่ภิกษุผู้ต้อง
อาบัติ และภิกษุผู้เป็นโจทก์ ยังมิได้พิจารณาตนด้วยตนเองให้ดี ใน
อธิกรณ์นั้น พึงหวังได้ว่า จักเป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ เพื่อการมีวาจา
หยาบคาย เพื่อความร้ายกาจ และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ไม่ผาสุก ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนในอธิกรณ์ใด ที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติ และภิกษุผู้เป็น
โจทก์ พิจารณาตนด้วยตนเองให้ดี ในอธิกรณ์นั้น พึงหวังได้ว่า จัก
ไม่เป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ จักไม่เป็นไปเพื่อการมีวาจาหยาบ จักไม่เป็น
ไปเพื่อความร้ายกาจ และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ผาสุก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็ภิกษุผู้ต้องอาบัติ ย่อมพิจารณาตนด้วยตนเองให้ดีอย่างไร คือ ภิกษุ
ผู้ต้องอาบัติในธรรมวินัยนี้ ย่อมสำเหนียกดังนี้ว่า เราแลต้องอาบัติอัน
เป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกายแล้ว ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงได้เห็นเรา
ผู้ต้องอาบัติอันเป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย ถ้าเราจะไม่พึงต้อง
อาบัติอันเป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย ภิกษุนั้นก็จะได้พึงเห็นเรา
ผู้ต้องอาบัติอันเป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย ก็เพราะเหตุที่เราต้อง
อาบัติอันเป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย ภิกษุนั้นจึงได้เห็นเราผู้ต้อง
อาบัติอันเป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย ก็แหละภิกษุนั้น ครั้นเห็นเรา
ผู้ต้องอาบัติอันเป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกายแล้ว เป็นผู้ไม่ชอบใจ
ภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ชอบใจ ได้ว่ากล่าวเราผู้มีวาจาไม่ชอบใจ เราผู้มีวาจา
ไม่ชอบใจ ถูกภิกษุนั้นว่ากล่าวแล้ว ย่อมไม่ชอบใจ เมื่อไม่ชอบใจ ได้
บอกแก่ผู้อื่นว่า ด้วยเหตุนี้ โทษในเหตุนี้จึงครอบงำ แต่เฉพาะเราคนเดียว

เท่านั้น เหมือนกับในเรื่องสินค้า โทษครอบงำผู้จำต้องเสียภาษีฉะนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ต้องอาบัติ ย่อมพิจารณาตนด้วยตนเองให้ดี
ด้วยประการฉะนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้เป็นโจทก์ ย่อม
พิจารณาตนด้วยตนเองให้ดีอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นโจทก์
ในธรรมวินัยนี้ ย่อมสำเหนียกดังนี้ว่า ภิกษุนี้แลต้องอาบัติอันเป็นอกุศล
อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกายแล้ว ฉะนั้น เราจึงได้เห็นภิกษุนี้ต้องอาบัติอัน
เป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย ถ้าภิกษุนี้จะไม่พึงต้องอาบัติอันเป็น
อกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย เราจะไม่พึงเห็นภิกษุนี้ต้องอาบัติอันเป็น
อกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย แต่เพราะเหตุที่ภิกษุนี้ไม่ต้องอาบัติอันเป็น
อกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย เราจึงได้เห็นภิกษุนี้ต้องอาบัติอันเป็น
อกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย ก็แหละเรา ครั้นได้เห็นภิกษุนี้ต้องอาบัติ
อันเป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกายแล้ว เป็นผู้ไม่ชอบใจ เราเมื่อ
เป็นผู้ไม่ชอบใจ ได้ว่ากล่าวภิกษุนี้ผู้มีวาจาไม่ชอบใจ ภิกษุนี้มีวาจาไม่
ชอบใจ เมื่อถูกเราว่ากล่าวอยู่ เป็นผู้ไม่ชอบใจ เมื่อเป็นผู้ไม่ชอบใจ
ได้บอกแก่ผู้อื่นว่า ด้วยเหตุนี้ โทษในเหตุนี้จึงครอบงำแต่เฉพาะเรา
คนเดียวเท่านั้น เหมือนกับในเรื่องสินค้า โทษครอบงำผู้จำต้องเสียภาษี
ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นโจทก์ ย้อมที่พิจารณาตนด้วย
ตนเองให้ดี ด้วยประการฉะนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอธิกรณ์ใด
ที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติและภิกษุผู้เป็นโจทก์ ยังไม่ได้พิจารณาตนด้วยตนเอง
ให้ดีในอธิกรณ์นั้น พึงหวังได้ว่าจักเป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ เพื่อความ
มีวาจาหยาบคาย เพื่อความร้ายกาจ และภิกษุทั้งหลายจัก อยู่ไม่ผาสุก ส่วน
ในอธิกรณ์ใด ที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติและภิกษุผู้เป็นโจทก์ พิจารณาตนเองด้วย

ตนเองให้ดี ในอธิกรณ์นั้น พึงหวังได้ว่าจักไม่เป็นไปเพื่อความมีวาจา
หยาบคาย จักไม่เป็นไปเพื่อความร้ายกาจ และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ผาสุก.
จบสูตรที่ 5

อรรถกถาสูตรที่ 5



ในสูตรที่ 5 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ยสฺมึ ภิกฺขเว อธิกรเณ ความว่า ในอธิกรณ์ใด ใน
บรรดาอธิกรณ์ 4 เหล่านี้ คือ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตา-
ธิกรณ์ และกิจจาธิกรณ์. บทว่า อาปนฺโน จ ภิกฺขุ ได้แก่ ภิกษุผู้ต้อง
อาบัติ. บทว่า ตเสฺมตํ ตัดบทเป็น ตสฺมึ เอตํ แปลว่า ในอธิกรณ์
นั้น ข้อที่พึงหวังนั้น. บทว่า ทีฆตฺตาย ได้แก่ เพื่อตั้งอยู่ตลอดกาลนาน.
บทว่า ขรตฺตาย ได้แก่ เพื่อกล่าววาจาหยาบอย่างนี้ว่า ทาส เหี้ย
จัณฑาล ช่างสาน. บทว่า วาฬตฺตาย ได้แก่ เพื่อความร้าย คือประหาร
ด้วย ก้อนหิน ก้อนดิน และท่อนไม้เป็นต้น. บทว่า ภิกฺขู จ น ผาสุํ
วิหริสฺสนฺติ
ความว่า เมื่อภิกษุวิวาทกัน ภิกษุที่ประสงค์จะเรียนอุเทศ
หรือปริปุจฉา หรือประสงค์จะบำเพ็ญเพียรเหล่านั้นจักอยู่ไม่ผาสุก. เมื่อ
ภิกษุสงฆ์ทำอุโบสถหรือปวารณา ภิกษุที่มีความต้องการอุเทศเป็นต้น
ย่อมไม่อาจเรียนอุเทศเป็นต้นได้ พวกภิกษุผู้เจริญวิปัสสนาย่อมไม่เกิดจิต
มีอารมณ์เดียว แต่นั้นก็ไม่อาจให้คุณวิเศษบังเกิดได้ ภิกษุทั้งหลายจักอยู่ไม่
ผาสุกด้วยอาการอย่างนี้แล. ในบทว่า น ทีฆตฺตาย เป็นต้น พึงทราบ
เนื้อความโดยนัยตรงข้ามกับที่กล่าวแล้ว. บทว่า อิธ แปลว่า ในศาสนา
นี้. บทว่า อิติ ปฏิสญฺจิกฺขติ แปลว่า พิจารณาอยู่อย่างนี้. บทว่า
อกุสลํ ในข้อว่า อกุสลํ อาปนฺโน นี้ ทรงหมายถึงอาบัติ. ความว่า