เมนู

ด้วยความไม่ประมาท กล่าวคือความไม่อยู่ปราศจากสติ. บทว่า โพธิ
ได้แก่จตุมรรคญาณและสัพพัญญุตญาณ. ด้วยว่า ผู้ที่มัวเมาประมาท
ไม่อาจบรรลุจตุมรรคญาณและสัพพัญญุตญาณนั้นได้ เพราะเหตุดังนี้นั้น
พระองค์จึงตรัสว่า อปฺปมาทาธิคตา โพธิ ดังนี้ . บทว่า อนุตฺตโร
โยคกฺเขโม
ความว่า มิใช่แต่ปัญญาเครื่องตรัสรู้อย่างเดียวเท่านั้น แม้
ธรรมอันปลอดจากเครื่องผูกอันยอดเยี่ยม กล่าวคืออรหัตผล นิพพาน
เราก็ได้บรรลุด้วยความไม่ประมาทนั่นแล. บัดนี้ เมื่อจะทรงให้ภิกษุสงฆ์
ยึดถือในคุณที่พระองค์ได้มา จึงตรัสพระพุทธพจน์ว่า ตุมฺเห เจปิ ภิกฺขเว
เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺสตฺถาย ความว่า เพื่อประโยชน์
แก่ผลอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันใด อธิบายว่า เป็นผู้ใคร่เพื่อจะ
เข้าถึงผลอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันใดอยู่. บทว่า ตทนุตฺตรํ ได้แก่
ผลอันยอดเยี่ยมนั้น. บทว่า พฺรหฺมจริยปริโยสานํ ได้แก่อริยผลซึ่งเป็น
ที่สุดแห่งมรรคพรหมจรรย์. บทว่า อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา ความว่า ทำให้
ประจักษ์ด้วยปัญญาอันยิ่ง คือด้วยปัญญาอันสูงสุด. บทว่า อุปสมฺปชฺช
วิหริสฺสถ
ความว่า จักได้เฉพาะคือบรรลุอยู่. บทว่า ตสฺมา ความว่า
เพราะธรรมดาความเพียรอย่างไม่ท้อถอยนี้ มีอุปการะมาก ให้สำเร็จ
ประโยชน์แล้ว.
จบอรรถกถาสูตรที่ 5

สูตรที่ 6



ว่าด้วยความพอใจและความหน่ายในธรรมอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์


[252] 6. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมดา 2 อย่างนี้ 2 อย่างเป็น

ไฉน คือ ความตามเห็นโดยความพอใจในธรรมอันเป็นปัจจัยแห่ง
สังโยชน์ 1 ความพิจารณาเห็นด้วยอำนาจควานหน่ายในธรรมทั้งหลายอัน
เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ตามเห็นโดยความ
พอใจในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ย่อมละราคะไม่ได้.
ย่อมละโทสะไม่ได้ ย่อมละโมหะไม่ได้ เรากล่าวว่า บุคคลยังละราคะ
ไม่ได้ ยังละโทสะไม่ได้ ยังละโมหะไม่ได้แล้ว ย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พิจารณาเห็นด้วยอำนาจความหน่ายในธรรม
ทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ย่อมละราคะได้ ย่อมละโทสะได้
ย่อมละโมหะได้ เรากล่าวว่า บุคคลละราคะ ละโทสะ ละโมหะได้แล้ว
ย่อมพันจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
ย่อมพ้นจากทุกข์ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 2 อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ 6

อรรถกถาสูตรที่ 6



ในสูตรที่ 6 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สญฺโญชนิเยสุ ธมฺเมสุ ความว่า ในธรรมที่เป็นไป
ในภูมิ 3 ซึ่งเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ 10. บทว่า อสฺสาทานุปสฺสิตา
ความว่า ความเห็น คือภาวะที่เห็น โดยความเป็นอัสสาทะน่ายินดี. บทว่า
นิพฺพิทานุปสฺสิตา ความว่า ความเห็นด้วยอำนาจความเบื่อหน่าย คือ
ด้วยอำนาจความเอือมระอา. บทว่า ชาติยา ได้แก่จากความเกิดแห่งขันธ์.
บทว่า ชราย ได้แก่ จากความแก่แห่งขันธ์. บทว่า มรเณน ได้แก่จาก