เมนู

พระสุตตันตปิฎก


อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต


ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


ปฐมปัณณาสก์


กัมมกรณวรรคที่ 1


สูตรที่ 1


ว่าด้วยโทษที่เป็นไปในปัจจุบันและภพหน้า


[2471] 1.. ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย โทษ 2 อย่างนี้ โทษ 2 อย่างเป็นไฉน คือโทษที่เป็นไป
ในปัจจุบัน 1 โทษที่เป็นไปในภพหน้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โทษ
ที่เป็นไปในปัจจุบันเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เห็นโจรผู้ประพฤติ
ความชั่ว พระราชาจับได้แล้ว รับสั่งให้ทำกรรมกรณ์นานาชนิด คือ

1. เลขในวงเล็บเป็นเลขข้อในพระบาลี เลขนอกวงเล็บเป็นเลขลำดับสูตร.

(1) กสาหิปิ ตาเฬนฺเต โบยด้วยแส้บ้าง
(2) เวตฺเตหิปิ ตาเฬนฺเต โบยด้วยหวายบ้าง
(3) อฑฺฒทณฺฑเกหิปิ ตาเฬนฺเต ตีด้วยตะบองสั้นบ้าง
(4) หตฺถํปิ ฉินฺทนฺเต ตัดมือบ้าง
(5) ปาทํปิ ฉินฺทนฺเต ตัดเท้า
(6) หตฺถปาทํปิ ฉินฺทนฺเต ตัดทั้งมือทั้งเท้าบ้าง
(7) กณฺณํปิ ฉินฺทนฺเต ตัดหูบ้าง
(8) นาสํปิ ฉินฺทนฺเต ตัดจมูกบ้าง
(9) กณฺณนาสํปิ ฉินฺทนฺเต ตัดทั้งหูทั้งจมูกบ้าง
(10) พิลงฺคถาลิกํปิ กโรนฺเต ลงกรรมกรณ์วิธี 'หม้อเคี่ยว
น้ำส้ม' บ้าง
(11) สงฺขมุณฺฑิกัปิ กโรนฺเต ลงกรรมกรณ์วิธี 'ขอดสังข์'
บ้าง
(12) ราหุมุขํปิ กโรนฺเต ลงกรรมกรณ์วิธี 'ปากราหู' บ้าง
(13) โชติมาลิกํปิ กโรนฺเต ลงกรรมกรณ์วิธี 'ดอกไม้ไฟ'
บ้าง
(14) หตฺถปฺปชฺโชติกํปิ กโรนฺเต ลงกรรมกรณ์วิธี 'คบมือ' บ้าง
(15) เอรกวฏฺฏิกํปิ กโรนฺเต ลงกรรมกรณ์วิธี 'ริ้วส่าย' บ้าง
(16) จีรกวาสิกํปิ กโรนฺเต ลงกรรมกรณ์วิธี 'นุ่งเปลือกไม้'
บ้าง
(17) เอเณยฺยกํปิ กโรนฺเต ลงกรรมกรณ์วิธี "ยืนกวาง" บ้าง

(18) พฬิสมํสิกํปิ กโรนฺเต ลงกรรมกรณ์วิธี 'เกี่ยวเหยื่อเบ็ด'
บ้าง
(19) กหาปณกํปิ กโรนฺเต ลงกรรมกรณ์วิธี 'เหรียญ-
กษาปณ์' บ้าง
(20) ขาราปฏิจฺฉกํปิ กโรนฺเต ลงกรรมกรณ์วิธี 'แปรงแสบ'
บ้าง
(21) ปลิฆปริวฏฺฏกํปิ กโรนฺเต ลงกรรมกรณ์วิธี 'กางเวียน'
บ้าง
(22) ปลาลปีฐกํปิ กโรนฺเต ลงกรรมกรณ์วิธี 'ตั่งฟาง' บ้าง
(23) ตตฺเตนปิ เตเลน โอสิญฺจนฺเต ราดด้วยน้ำมันเดือด ๆ บ้าง
(24) สุนเขหิปิ ขาทาเปนฺเต ให้ฝูงสุนัขรุมทึ้งบ้าง
(25) ชีวนฺตํปิ สูเล อุตฺตาเสนฺเต ให้นอนบนหลาวทั้งเป็นบ้าง
ิ ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง
เขามีความคิดเห็นเช่นนี้ว่า เพราะบาปกรรมเช่นใดเป็นเหตุ โจรผู้ทำ
ความชั่วจึงถูกพระราชาจับแล้วทำกรรมกรณ์นานาชนิด คือเฆี่ยนด้วย
หวายบ้าง ฯ ล ฯ เอาดาบตัดหัวเสียบ้าง ก็ถ้าเรานี้แหละ จะพึงทำ
บาปกรรมเช่นนั้น ก็พึงถูกพระราชาจับแล้วทำกรรมกรณ์นานาชนิด คือ
เอาหวายเฆี่ยนบ้าง ฯลฯ เอาดาบตัดหัวเสียบบ้าง ดังนี้ เขากลัวต่อโทษ
ที่เป็นไปในปัจจุบัน ไม่เที่ยวแย่งชิงเครื่องบรรณาการของคนอื่น ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าโทษที่เป็นไปในปัจจุบัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โทษที่เป็นไปในภายหน้าเป็นไฉน บุคคล
บางคนในโลกนี้ สำเหนียกดังนี้ว่า วิบากอันเลวทรามของกายทุจริตเป็น
โทษที่บุคคลจะพึงได้ในภพหน้าโดยเฉพาะ วิบากอันเลวทรามของวจีทุจริต
เป็นโทษที่บุคคลจะพึงได้ในภพหน้าโดยเฉพาะ วิบากอันเลวทรามของ
มโนทุจริต เป็นโทษที่บุคคลจะพึงได้ในภพหน้าโดยเฉพาะ ก็ถ้าเราจะ
พึงประพฤติทุจริตด้วยกาย พระพฤติทุจริตด้วยวาจา ประพฤติทุจริต
ด้วยใจ ทุจริตบางข้อนั้น พึงเป็นเหตุให้เรา เมื่อแตกกายตายไป เข้าถึง
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดังนี้ เขากลัวต่อโทษที่เป็นไปในภพหน้า
จึงละกายทุจริต เจริญกายสุจริต ละวจีทุจริต เจริญวจีสุจริต ละมโนทุจริต
เจริญโนสุจริต บริหารตนให้สะอาด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าโทษ
เป็นไปในภพหน้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ 2 อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักกลัว
ต่อโทษที่เป็นไปในปัจจุบัน จักกลัวต่อโทษเป็นไปในภพหน้า จักเป็น
คนขลาดต่อโทษ มีปกติเห็นโทษโดยความเป็นของน่ากลัว ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุเป็น
เครื่องหลุดพ้นจากโทษทั้งมวลอันบุคคลผู้ขลาดต่อโทษ มีปกติเห็นโทษ
โดยความเป็นของน่ากลัวจะพึงหวังได้.
จบสูตรที่ 1

มโนรถปูรณี



อรรถกถาอังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต



อรรถกถาสูตรที่ 1



ทุกนิบาต สูตรที่ 1

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า วชฺชานิ แปลว่า โทษ คือความผิด. บทว่า ทิฏฺฐธมฺมิกํ
ได้แก่ มีผลเกิดขึ้นในปัจจุบัน คือในอัตภาพนี้แหละ. บทว่า สมฺปรายิกํ
ได้แก่ มีผลเกิดขึ้นในภายหน้า คือในอัตภาพที่ยังไม่มาถึง.
บทว่า อาคุจารึ ได้แก่ ผู้กระทำชั่ว คือกระทำความผิด. บทว่า
ราชาโน คเหตฺวา วิวิธา กมฺมกรณา กโรนฺเต ความว่า ราชบุรุษ
ทั้งหลายจับโจรมาลงกรรมกรณ์หลายอย่างต่างวิธี. แต่ชื่อว่า พระราชา
ทรงให้ราชบุรุษลงกรรมกรณ์เหล่านั้น. บุคคลนี้เห็นโจรนั้นถูกลงกรรม-
กรณ์อย่างนี้. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปสฺสติ โจรํ อาคุจารึ
ราชาโน คเหตฺวา วิวิธา ภมฺมกรณา กโรนฺเต
ดังนี้ . บทว่า อฑฺฒ-
ทณฺฑเกหิ
ความว่า ด้วยไม้ตะบอง หรือด้วยท่อนไม้ที่เอาไม้ยาว 4 ศอก
มาตัดเป็น 2 ท่อน ใส่ด้ามสำหรับถือไว้เพื่อประหาร.
บทว่า ทวิลงฺคถาลิกํ ได้แก่ลงกรรมกรณ์วิธีทำให้เป็นหม้อเคี่ยว
น้ำส้ม. เมื่อจะลงกรรมกรณ์วิธีนั้น เปิดกะโหลกศีรษะแล้วเอาคีมคีบ
ก้อนเหล็กแดงใส่เข้าในกะโหลกศีรษะนั้น ด้วยเหตุนั้น มันสมองในศีรษะ
เดือดล้นออก. บทว่า สงฺขมุณฺฑิกํ ได้แก่ ลงกรรมกรณ์วิธีขอดสังข์.
เมื่อจะลงกรรมกรณ์วิธีนั้น ตัดหนังศีรษะแต่จอนหูทั้งสองข้างลงมาถึง