เมนู

อรรถกถากายคตาสติวรรค1



ในบทว่า เจตสา ผุโฏ ( แผ่ไปด้วยใจ ) นี้ การแผ่มี 2 อย่าง
คือ แผ่ไปด้วยอาโปกสิณ 1 แผ่ไปด้วยทิพยจักษุ 1. ใน 2 อย่างนั้น
การเข้าอาโปกสิณแล้วแผ่ไปด้วยอาโป ชื่อว่าแผ่ด้วยอาโปกสิณ. เมื่อ
มหาสมุทรแม้ถูกแผ่ไปด้วยการแผ่ไปอย่างนี้ แม่น้ำน้อยทุกสายที่ไหลลง
มหาสมุทร ย่อมเป็นอันรวมเข้าอยู่ด้วย. ก็การเจริญอาโลกกสิณแล้วเห็น
สมุทรทั้งสิ้นด้วยจักษุ ชื่อว่าแผ่ด้วยทิพยจักษุ เมื่อมหาสมุทรแม้ถูกแผ่ไป
ด้วยการแผ่ไปอย่างนี้ แม่น้ำน้อยที่ไหลลงมหาสมุทร ย่อมเป็นอันรวม
เข้าไว้ด้วย.
บทว่า อนฺโตคธา ตสฺส ความว่า กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเป็น
อันหยั่งลงในภายในแห่งการเจริญของภิกษุนั้น. ในบทว่า วิชฺชาภาคิยา
นี้ มีวิเคราะห์ดังต่อไปนี้ :- ชื่อว่าวิชชาภาคิยะ เพราะบรรจบวิชชา ด้วย
การประกอบเข้ากันได้. ชื่อว่าวิชชาภาคิยะ เพราะเป็นไปในส่วนแห่ง
วิชชา คือในภาคของวิชชา. ในบทว่า วิชฺชาภาคิยา นั้น วิชชามี 8
คือ วิปัสสนาญาณ 1 มโนมยิทธิ 1 อภิญญา 6. โดยความหมายแรก
ธรรมที่สัมปยุตด้วยวิชชาเหล่านั้น เป็นวิชชาภาคิยะ. โดยความหมายหลัง
วิชชาข้อใดข้อหนึ่งเพียรข้อเดียวในบรรดาวิชชา 8 นั้นเป็นวิชชา. ธรรม
ที่เหลือเป็นวิชชาภาคิยะ คือเป็นส่วนแห่งวิชชา. รวมความว่า วิชชาก็ดี
ธรรมอันสัมปยุตด้วยวิชชาก็ดี พึงทราบว่าเป็นวิชชาภาคิยะทั้งนั้น
บทว่า มหโต สํเวคาย แปลว่า เพื่อประโยชน์แก่ความสังเวช
ใหญ่. แม้ในสองบทข้างหน้า ก็มีนัยนี้เหมือนกัน . ก็ในอธิการนี้

1. บาลีข้อ 225- ข้อ 234, วรรคนี้รวมอยู่ในปสาทกรธัมมาทิบาลี.

วิปัสสนา ชื่อว่าความสังเวชใหญ่ มรรค 4 ชื่อว่าประโยชน์ใหญ่
สามัญญผล 4 ชื่อว่าความเกษมจากโยคะใหญ่. อีกอย่างหนึ่ง มรรค
พร้อมกับวิปัสสนา ชื่อว่าความสังเวชใหญ่ สามัญญผล 4 ชื่อว่าประโยชน์
ใหญ่ พระนิพพาน ชื่อว่าความเกษมจากโยคะใหญ่.
บทว่า สติสมฺปชญฺญาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่สติและญาณ.
บทว่า ญาณทสฺสนปฏิลาภาย คือ เพื่อทิพยจักขุญาณ. บทว่า ทิฏฺฐ-
ธมฺมสุขวิหาราย
ได้แก่ เพื่อต้องการอยู่เป็นสุขในอัตภาพที่ประจักษ์
อยู่นี้ทีเดียว. บทว่า วิชฺชาวิมุตฺติผลสจฺฉิกิริยาย ได้แก่ เพื่อต้องการ
ทำให้เห็นประจักษ์ซึ่งผลของวิชชาและวิมุตติ. ก็ในบทว่า วิชฺชาวิมุตฺติผล-
สจฺฉิกิริยาย
นี้ ปัญญาในมรรค ชื่อว่าวิชชา. ธรรมที่เหลืออันสัมปยุต
ด้วยวิชชานั้น ชื่อว่าวิมุตติ. อรหัตผล ชื่อว่าผลของธรรมเหล่านั้น
อธิบายว่า เพื่อทำให้แจ้งอรหัตผลนั้น.
บทว่า กาโยปิ ปสฺสมฺภติ ความว่า ทั้งนามกาย ทั้งกรัชกาย
ย่อมสงบ. อธิบายว่า เป็นกายอันสงบแล้ว. บทว่า วิตกฺกวิจาราปิ
ความว่า ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าย่อมเข้าไปสงบด้วยทุติยฌาน. ก็ในที่นี้
ท่านกล่าวหมายเอาการเข้าไปสงบธรรมอย่างหยาบ. บทว่า เกวลา แปลว่า
ทั้งสิ้น อธิบายว่า ทั้งหมดไม่เหลือเลย. บทว่า วิชฺชาภาคิยา คือเป็น
ไปในส่วนของวิชชา. ธรรมเหล่านั้นได้แยกแยะแสดงไว้แล้วข้างต้น.
บทว่า อวิชฺชา ปหียติ ความว่า ความมืดตื้อ คือความไม่รู้
อันกระทำความมืดอย่างมหันต์ เป็นมูลรากของวัฏฏะในฐานะ 8 ประการ
อันภิกษุย่อมละได้. บทว่า วิชฺชา อุปฺปชฺชติ ได้แก่ วิชชาในอรหัต-
มรรค ย่อมเกิดขึ้น. บทว่า อสฺมิมาโน ปหียติ ความว่า มานะ 9 ว่า

เป็นเราเป็นต้น อันภิกษุย่อมละได้. บทว่า อนุสยา ได้แก่ อนุสัย 7.
บทว่า สํโยชนานิ ได้แก่ สังโยชน์ 10. บทว่า ปญฺญาปฺปเภทาย
ได้แก่ เพื่อถึงความแตกฉานแห่งปัญญา. บทว่า อนุปาทาปรินิพฺพานาย
แปลว่า เพื่อต้องการทำให้แจ้งปรินิพพานอันหาปัจจัยมิได้.
บทว่า อเนกธาตุปฏิเวโธ โหติ ความว่า ย่อมมีความรู้แจ้งแทง
ตลอดลักษณะของธาตุ 18 ประการ. บทว่า นานาธาตุปฏิเวโธ โหติ
ความว่า ย่อมมีการรู้แจ้งแทงตลอดลักษณะโดยภาวะต่าง ๆ แห่งธาตุ 18
เหล่านั้นแหละ. ด้วยบทว่า อเนกธาตุปฏิสมฺภิทา โหติ นี้ ท่านกล่าว
ถึงความรู้ประเภทของธาตุ. ปัญญาเป็นเครื่องรู้ว่า ธาตุนี้ชื่อว่ามีเป็น
อันมาก ชื่อว่าธาตุปเภทญาณ ความรู้ประเภทของธาตุ. ก็ความรู้
ประเภทของธาตุนี้นั้น มิใช่มีแก่คนทั่วไป มีโดยตรงแก่พุทธะทั้งหลาย
เท่านั้น. ความรู้ประเภทของธาตุนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามิได้ตรัสไว้โดย
ประการทั้งปวง (โดยเฉพาะ ). ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะ
เมื่อตรัสไว้ ก็ไม่มีประโยชน์.
บท 16 บทมีอาทิว่า ปญฺญาปฏิลาภาย ดังนี้ไป ท่านตั้งหัวข้อ
แล้วขยายความพิสดารไว้ในปฏิสัมภิทามรรคอย่างนี้ว่า สัปปุริสูปสังเสวะ
คบสัตบุรุษ 1 สัทธัมมสวนะ ฟังธรรมของสัตบุรุษ 1 โยนิโสมนสิการะ
ใส่ใจโดยแยบคาย 1 ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม 1
(และหัวข้ออย่างนี้ว่า ) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 4 ประการนี้แลที่
บุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะปัญญา ฯ ล ฯ
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส.
สมจริงดังที่ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ ในบทว่า

ปญฺญาปฏิลาภาย สํวตฺตนฺติ ดังนี้ การได้เฉพาะปัญญาเป็นไฉน.
การได้ การได้เฉพาะ การถึง การถึงพร้อม การถูกต้อง การทำให้แจ้ง
การเข้าถึง มรรคญาณ 4 ผลญาณ 4 ปฏิสัมภิทาญาณ 4 อภิญญาญาณ 6
ญาณ 73 ญาณ 77. นี้ชื่อว่าการได้เฉพาะปัญญา ในบทว่า ย่อมเป็น
ไปเพื่อได้เฉพาะปัญญา.
ในบทว่า ปญฺญาวุฑฺฒิยา สํวตฺตนฺติ ดังนี้ ความเจริญปัญญา
เป็นไฉน. ปัญญาของพระเสกขะ 7 จำพวก และของกัลยาณปุถุชน
ย่อมเจริญ แต่ปัญญาของพระอรหันต์เป็นวัฑฒนาปัญญา (คือปัญญาอัน
เจริญเต็มที่แล้ว) นี้ชื่อว่าความเจริญปัญญา ในบทว่า ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเจริญปัญญา.
ในบทว่า ปญฺญาเวปุลฺลาย สํวตฺตนฺติ ดังนี้ ความไพบูลย์
แห่งปัญญาเป็นไฉน. ปัญญาของพระเสกขบุคคล 7 พวก. และของ
กัลยาณปุถุชน ย่อมถึงความไพบูลย์ ปัญญาของพระอรหันต์ ถึงความ
ไพบูลย์แล้ว นี้ชื่อว่าความไพบูลย์แห่งปัญญา ในบทว่า ย่อมเป็นไป
เพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา.
ในบทว่า มหาปญฺญตาย สํวตฺตนฺติ ดังนี้ ปัญญาใหญ่เป็นไฉน.
ชื่อว่าปัญญาใหญ่ เพราะกำหนดถือเอาประโยชน์ใหญ่ ชื่อว่าปัญญาใหญ่
เพราะกำหนดถือเอาธรรมใหญ่ ฯลฯ นิรุตติใหญ่ ปฏิภาณใหญ่ กอง
ศีลใหญ่ กองสมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะใหญ่ ฐานะ
และอฐานะใหญ่ วิหารสมาบัติใหญ่ อริยสัจใหญ่ สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน
และอิทธิบาทใหญ่ อินทรีย์ พละใหญ่ โพชฌงค์ใหญ่ อริยมรรคใหญ่
สามัญผลใหญ่ มหาอภิญญาใหญ่ พระนิพพานอันเป็นประโยชน์อัน

ยิ่งใหญ่. นี้ชื่อว่าปัญญาใหญ่ ในบทว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มี
ปัญญาใหญ่.
ในบทว่า ปุถุปญฺญตาย สํวตฺตติ ดังนี้ ปัญญามากเป็นไฉน.
ชื่อว่าปัญญามาก เพราะญาณย่อมเป็นไปในขันธ์ต่าง ๆ มาก. ชื่อว่า
ปัญญามาก เพราะญาณย่อมเป็นไปในธาตุต่าง ๆ มาก ในอายตนะต่าง ๆ
มาก ในปฏิจจสมุปบาทต่าง ๆ มาก ในการได้สุญญตะต่าง ๆ มาก ใน
อรรถ ธรรม นิรุตติ ปฏิภาณมาก ในสลีขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์
วิมุตติขันธ์ และวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ต่าง ๆ มาก ในฐานะและอฐานะ
ต่าง ๆ มากในวิหารสมาบัติต่าง ๆ มาก ในอริยสัจต่าง ๆ มาก ใน
สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ต่าง ๆ มาก
ในอริยมรรคต่าง ๆ มาก ในสามัญญผลต่าง ๆ มาก ในอภิญญาต่าง ๆมาก.
ชื่อว่าปัญญามาก เพราะญาณเป็นไปในพระนิพพานอันเป็นประโยชน์
อย่างยิ่ง ล่วงธรรมอันทั่วไปแก่ชนต่าง ๆ มาก. นี้ชื่อว่าปัญญามากใน
บทว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก.
ในบทว่า วิปุลปญฺญาย สํวตฺตติ ดังนี้ ปัญญาไพบูลย์เป็นไฉน.
ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดถือเอาประโยชน์อันไพบูลย์ ฯลฯ
ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดถือเอาพระนิพพานอันมีประโยชน์ยิ่ง
ไพบูลย์ นี้ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ ในบทว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มี
ปัญญาไพบูลย์.
ในบทว่า คมฺภีรปญฺญตาย สํวตฺตนฺติ ดังนี้ ปัญญาลึกซึ้งเป็น
ไฉน. ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในขันธ์ทั้งหลายอันลึกซึ้ง.
ความพิสดารเหมือนกับข้อที่ว่าด้วยปัญญามาก. ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะ

ญาณย่อมเป็นไปในพระนิพพานอันมีประโยชน์อย่างยิ่ง ลึกซึ้ง. นี้ชื่อว่า
ปัญญาลึกซึ้ง ในบทว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง.
ในบทว่า อสฺสามนฺตปญฺญตาย สํวตฺตนฺติ ดังนี้ ปัญญาเทียม
กันได้เป็นไฉน. บุคคลใดบรรลุ กระทำให้แจ้ง ถูกต้องด้วยปัญญา ซึ้ง
อัตถปฏิสัมภิทา โดยการกำหนดรู้อรรถ บรรลุ กระทำให้แจ้ง ถูกต้อง
ด้วยปัญญา ซึ่งธรรม นิรุตติ ปฏิภาณ โดยกำหนดรู้ธรรม นิรุตติ และ
ปฏิภาณ ใคร ๆ อื่นย่อมไม่อาจครอบงำ อรรถ ธรรม นิรุตติ และ
ปฏิภาณของบุคคลนั้น และบุคคลนั้นเป็นผู้อันคนทั้งหลายอื่นไม่พึงครอบงำ
ได้ เพราะฉะนั้น บุคคลนั้น จึงชื่อว่าผู้มีปัญญาไม่เทียบกันได้.
ปัญญาของกัลยาณปุถุชน ไกล ห่างไกล ไกลแสนไกล ไม่ใกล้
ไม่ใกล้เคียงกับปัญญาของพระอริยบุคคลที่ 8, เมื่อเทียบกับกัลยาณปุถุชน
พระอริยบุคคลที่ 8 ชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญาไม่เทียบกันได้. ปัญญาของ
พระอริยบุคคลที่ 8 ไกล ฯลฯ ปัญญาของพระโสดาบัน. เมื่อเทียบกับ
พระอริยบุคคลที่ 8 พระโสดาบัน ชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญาไม่เทียบกันได้.
ปัญญาของพระโสดาบันไกล ฯลฯ ปัญญาของพระสกทาคามี ปัญญา
ของพระสกทาคามีไกล ฯลฯ ปัญญาของพระอรหันต์. ปัญญาของพระ-
อรหันต์ไกล ห่างไกล ไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่เฉียดปัญญาของพระ-
ปัจเจกพุทธเจ้า. เมื่อเทียมกันพระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อว่า
เป็นผู้มีปัญญาไม่เทียบกันได้. เมื่อเทียบกับ พระปัจเจกพุทธเจ้า และชาวโลก
พร้อมทั้งเทวดา พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้มีพระปัญญา
ไม่มีของใครเทียบได้ เป็นชั้นเลิศ.

พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงฉลาดในประเภทของปัญญา
ทรงมีพระญาณแตกฉาน ฯล ฯ บัณฑิตเหล่านั้นแต่งปัญหาแล้วเข้าไป
เฝ้าพระตถาคต ทูลถามทั้งข้อลี้ลับและปกปิด ปัญหาเหล่านั้นที่พระผู้-
มีพระภาคเจ้าตรัสบอกและทรงตอบแล้ว ย่อมเป็นอันทรงชี้เหตุให้เห็นชัด
และปัญหาที่เขายกขึ้นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงตอบได้สมบูรณ์ โดย
แท้จริงแล้ว ในปัญหานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบแจ่มแจ้งด้วย
พระปัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า มีพระปัญญาไม่มีของใครเทียบได้
เป็นชั้นเลิศ นี้ชื่อว่าปัญญาไม่มีของใครเทียบได้ ในบทว่า ย่อมเป็นไป
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไม่มีของใครเทียบได้.
ในบทว่า ภูริปญฺญตาย สํวตฺตนฺติ ดังนี้ ภูริปัญญาเป็นไฉน.
ชื่อว่าภูริปัญญา เพราะครอบงำราคะอยู่. ชื่อว่าภูริปัญญา เพราะ
ครอบงำราคะได้แล้ว. ชื่อว่าภูริปัญญา เพราะย่อมครอบงำ โทสะ โมหะ
โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาไถย
ถัมภะ สารัมภะ นานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ กิเลสทั้งปวง ทุจริต
ทั้งปวง อภิสังขารทั้งปวง ฯ ล ฯ กรรมอันเป็นเหตุนำไปสู่ภพทั้งปวง.
ชื่อว่าภูริปัญญา เพราะครอบงำแล้ว. ราคะ ชื่อว่าเป็นอริ. ปัญญาอันย่ำยีอริ
นั้น เหตุนั้น ชื่อว่าภูริปัญญา. โทสะ โมหะ ฯลฯ กรรมเป็นเหตุ
นำไปสู่ภพทั้งปวง ชื่อว่าเป็นอริ ปัญญาอันย่ำยีอรินั้น เหตุนั้น ชื่อว่า
ภูริปัญญา. แผ่นดินเรียกว่าภูริ ผู้ประกอบด้วยปัญญาอันแผ่ไปกว้างขวาง
เสมอแผ่นดินนั้น เหตุนั้น จึงชื่อว่า ภูริปัญโญ ผู้มีปัญญาเสมอแผ่นดิน.
อีกอย่างหนึ่ง คำนี้คือ ภูริ เมธา ปริณายิกา เป็นชื่อของปัญญา. นี้
ชื่อว่า ภูริปัญญา ในบทว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีภูริปัญญา.

ในบทว่า ปญฺญาพาหุลฺลาย สํวตฺตนฺติ ดังนี้ ความเป็นผู้มาก
ด้วยปัญญาเป็นไฉน. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้หนักในปัญญา เป็น
ผู้มีปัญญาเป็นจริต มีปัญญาเป็นที่อาศัย น้อมใจไปในปัญญา มีปัญญา
เป็นธงชัย มีปัญญาเป็นยอดธง มีปัญญาเป็นอธิบดี มากด้วยการวิจัย
มากด้วยการค้นคว้า มากด้วยการพิจารณา มากด้วยการเพ่งพินิจ มีการ
เพ่งพินิจเป็นธรรมดา อยู่ด้วยปัญญาอันแจ่มแจ้ง และประพฤติใน
ปัญญานั้น หนักในปัญญานั้น มากด้วยปัญญานั้น น้อมไปในปัญญานั้น
โน้มไปในปัญญานั้น เงื้อมไปในปัญญานั้น น้อมใจไปในปัญญานั้น
มีปัญญานั้นเป็นอธิบดี อุปมาเหมือนภิกษุผู้หนักในหมู่คณะ ก็เรียกว่าผู้
มากด้วยหมู่คณะ ผู้หนักในจีวร ผู้หนักในบาตร ผู้หนักในเสนาสนะ
ก็เรียกผู้มากด้วยเสนาสนะ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือน
กัน เป็นผู้หนักในปัญญา มีปัญญาเป็นจริต ฯลฯ มีปัญญาเป็นอธิบดี.
นี้ชื่อว่า ความเป็นผู้มากด้วยปัญญา ในบทว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้
มากด้วยปัญญา.
ในบทว่า สีฆปญฺญตาย สํวตฺตนฺติ ดังนี้ ปัญญาเร็วเป็นไฉน.
ชื่อว่า ปัญญาเร็ว เพราะทำศีลให้บริบูรณ์รวดเร็ว. ชื่อว่า ปัญญาเร็ว
เพราะทำอินทรียสังวร โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยค ศีลขันธ์
สมาธิขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ให้บริบูรณ์รวดเร็ว. ชื่อว่า
ปัญญาเร็ว เพราะแทงตลอดฐานะและอฐานะได้รวดเร็ว เพราะทำวิหาร-
สมาบัติให้บริบูรณ์ได้รวดเร็ว เพราะแทงตลอดอริยสัจได้รวดเร็ว เพราะ
เจริญสติปัฏฐานได้รวดเร็ว เพราะเจริญสัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์
พละ โพชฌงค์ อริยมรรคได้รวดเร็ว. ชื่อว่า ปัญญาเร็ว เพราะทำให้

แจ้งสามัญญผลได้รวดเร็ว ชื่อว่า ปัญญาเร็ว เพราะแทงตลอดอภิญญา
ได้รวดเร็ว ชื่อว่า ปัญญาเร็ว เพราะทำให้แจ้งพระนิพพานอันเป็นประ-
โยชน์อย่างยิ่งได้รวดเร็ว. นี้ชื่อว่า ปัญญาเร็ว ในบทว่า ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว.
ในบทว่า ลหุปญฺญตาย สํวตฺตนฺติ ดังนี้ ปัญญาฉับพลันเป็นไฉน.
ฉับพลัน ฯลฯ ชื่อว่า ปัญญาฉับพลัน เพราะทำให้แจ้งพระนิพพาน
อันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งได้ฉับพลัน. นี้ชื่อว่า ปัญญาฉันพลัน ในบทว่า
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาฉับพลัน.
ในบทว่า หาสปญฺญตาย สํวตฺตนฺติ ดังนี้ ปัญญาร่าเริงเป็นไฉน.
ชื่อว่า ปัญญาร่าเริง เพราะบุคคลบางคนในโลกนี้ มีความร่าเริงมาก มี
ความอิ่มใจมาก มีความยินดีมาก มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญศีล
ทั้งหลายให้บริบูรณ์ ฯลฯ ชื่อว่า ปัญญาร่าเริง เพราะทำให้แจ้งพระ-
นิพพานอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง. นี้ชื่อว่า ปัญญาร่าเริง ในบทว่า ย่อม
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง.
ในบทว่า ชวนปญฺญตาย สํวตฺตนฺติ ดังนี้ ปัญญาแล่นเป็นไฉน.
ชื่อว่า ปัญญาแล่น เพราะรูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และ
ปัจจุบัน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบันเป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลว
หรือประณีต อยู่ที่ไกลหรือใกล้ ปัญญาพลันแล่นไปยังวิญญาณทั้งปวง
โดยความเป็นของไม่เที่ยง. ชื่อว่า ปัญญาพลันแล่น เพราะพลันแล่นไป
โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา. ชื่อว่า ปัญญาพลันแล่น เพราะ
พลันแล่นไปยังจักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ อันเป็นอดีต อนาคต และ

ปัจจุบัน โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็น
อนัตตา. ชื่อว่า ปัญญาพลันแล่น เพราะเทียบเคียง พิจารณา รู้แจ้ง
ทำให้แจ่มแจ้งรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ว่าไม่เที่ยง เพราะ
อรรถว่าสิ้นไป ว่าเป็นทุกข์ เพราะอรรถว่าน่ากลัว ว่าเป็นอนัตตา เพราะ
อรรถว่าไม่มีแก่นสาร แล้วพลันแล่นไปในพระนิพพานอันเป็นที่ดับรูป
ฯลฯ ชื่อว่า ปัญญาพลันแล่น เพราะพลันแล่นไปยังพระนิพพานอันเป็น
ที่ดับชราและมรณะ. ชื่อว่า ปัญญาพลันแล่น เพราะเทียบเคียง พิจารณา
รู้แจ้ง ทำให้เเจ่มแจ้งรูป ฯลฯ ชราและมรณะ ทั้งอดีต อนาคต ปัจจุบัน
ไม่เที่ยง ถูกปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความเสื่อมเป็นธรรมดา
มีความสิ้นเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความคับไปเป็น
ธรรมดา แล้วพลันแล่นไปยังพระนิพพานอันเป็นที่ดับชราและมรณะ
นี้ชื่อว่า ปัญญาพลันแล่น ในบทว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา
แล่นพลัน
ในบทว่า ติกฺขปญฺญตาย สํวตฺตนฺติ ดังนี้ ปัญญากล้าเป็นไฉน.
ชื่อว่า ปัญญากล้า เพราะตัดกิเลสได้ไว. ชื่อว่า ปัญญากล้า เพราะไม่รับ
ละทิ้ง บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีต่อไป ซึ่งกามวิตก พยาบาท-
วิตก วิหิงสาวิตก อกุศลบาปธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นเล่า ชื่อว่า ปัญญา
กล้า เพราะไม่รับไว้ ละทิ้งไป บรรเทาได้ ทำให้สิ้นสุดไป ให้ถึงความ
ไม่มีต่อไป ซึ่งราคะ โทสะ โมหะที่เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นเล่า ฯลฯ ซึ่ง
กรรมเป็นเหตุไปสู่ภพทั้งปวง. ชื่อว่า ปัญญากล้า เพราะบรรลุ ทำให้แจ้ง
ถูกต้องด้วยปัญญา ซึ่งอริยมรรค 4 สามัญญผล 4 ปฏิสัมภิทา 4
อภิญญา 6 บนอาสนะเดียว. นี้ชื่อว่า ปัญญากล้า ในบทว่า ย่อมเป็นไป

เพื่อความเป็นผู้มีปัญญากล้า.
ในบทว่า นิพฺเพธิกปญฺยตาย สํวตฺตนฺติ ดังนี้ ปัญญาเครื่อง
ทำลายกิเลสเป็นไฉน. ชื่อว่า ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส เพราะบุคคล
บางคนในโลกนี้ เป็นผู้หวาดเสียวมาก เป็นผู้สะดุ้งมาก เป็นผู้กระสันมาก
เป็นผู้มากด้วยความไม่ยินดี มากไปด้วยความไม่ยินดียิ่งในสังขารทั้งปวง
เป็นผู้หันหน้าออก ไม่ยินดีในสังขารทั้งปวง. แทง ทำลายกองโลภซึ่ง
ยังไม่เคยแทงยังไม่เคยทำลาย. ชื่อว่า ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส เพราะแทง
ทำลายกองโทสะ กองโมหะ โกธะ อุปนาหะ ฯลฯ กรรมอันเป็นเครื่อง
ไปสู่ภพทั้งปวงที่ไม่เคยแทง ที่ไม่เคยทำลาย. นี้ซึ่งว่า ปัญญาเครื่อง
ทำลายกิเลส ในบทว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเครื่องทำลาย
กิเลส.
พึงทราบเนื้อความในอธิการที่ว่าด้วยปัญญานี้ โดยนัยดังกล่าวไว้
ในปฏิสัมภิทามรรคด้วยประการอย่างนี้. ก็ในปฏิสัมภิทามรรคนั้น เป็น
พหูพจน์อย่างเดียว ในสูตรนี้เป็นเอกพจน์ ดังนั้น ความต่างกันในเรื่อง
ปัญญานี้มีเพียงเท่านี้. คำที่เหลือเหมือนกันทั้งนั้นแล. ก็แหละมหาปัญญา
16 ประการนี้ ท่านกล่าวคละกันทั้งโลกิยะและโลกุตระ.

จบอรรถกถากายคตาสติวรรค

อรรถกถาอมตวรรค1



บทว่า อมตนฺเต ภิกฺขเว ปริภุญฺชนฺต ความว่า ชนเหล่านั้น
ชื่อว่า ย่อมบริโภคพระนิพพานอันปราศจากมรณะ. ถามว่า ก็พระนิพพาน
เป็นโลกุตระ กายคตาสติเป็นโลกิยะ มิใช่หรือ ชนผู้บริโภคกายคตาสติ
นั้น ชื่อว่า บริโภคอมตะได้อย่างไร. ตอบว่า เพราะต้องเจริญกายคตาสติ
จึงจะบรรลุ (อมตนิพพาน). จริงอยู่ ผู้เจริญกายคตาสติย่อมบรรลุอมตะ
ไม่เจริญก็ไม่บรรลุ เพราะฉะนั้น จึงตรัสอย่างนั้น. พึงทราบเนื้อความ
ในบททั้งปวง โดยอุบายดังกล่าวนี้.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า วิรพธํ ในสูตรนี้ ได้แก่บกพร่องแล้ว คือ
ไม่บรรลุ. บทว่า อารทฺธํ ได้แก่ บริบูรณ์แล้ว. บทว่า ปมาทึสุ ได้แก่
เลินเล่อ. บทว่า ปมุฏฺฐํ แปลว่า หลงลืม ซ่านไป หรือหายไป. บทว่า
อาเสวิตํ แปลว่า ส้องเสพมาแต่ต้น. บทว่า ภาวิตํ แปลว่า เจริญแล้ว.
บทว่า พหุลีกตํ แปลว่า ทำบ่อย ๆ. บทว่า อนภิญฺญาตํ แปลว่า ไม่รู้
ด้วยญาตอภิญญา (รู้ยิ่งด้วยการรู้ ). บทว่า อปริญฺญาตํ แปลว่า ไม่
กำหนดรู้ด้วยญาตปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการรู้) นั้นแหละ. บทว่า
อสจฺฉิกตํ แปลว่า ไม่ทำให้ประจักษ์. บทว่า สจฺฉิกตํ แปลว่า ทำให้
ประจักษ์. คำที่เหลือทุกแห่งมีความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอมตวรรค
จบอรรถกถาเอกนิบาตประมาณ 1,000 สูตร ใน
มโนรถปูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย


1. บาลี ข้อ 235 - 246 วรรคนี้รวมอยู่ในปสาทกรธัมมาทิบาลี.