เมนู

อรรถกถากายคตาสติวรรค1



ในบทว่า เจตสา ผุโฏ ( แผ่ไปด้วยใจ ) นี้ การแผ่มี 2 อย่าง
คือ แผ่ไปด้วยอาโปกสิณ 1 แผ่ไปด้วยทิพยจักษุ 1. ใน 2 อย่างนั้น
การเข้าอาโปกสิณแล้วแผ่ไปด้วยอาโป ชื่อว่าแผ่ด้วยอาโปกสิณ. เมื่อ
มหาสมุทรแม้ถูกแผ่ไปด้วยการแผ่ไปอย่างนี้ แม่น้ำน้อยทุกสายที่ไหลลง
มหาสมุทร ย่อมเป็นอันรวมเข้าอยู่ด้วย. ก็การเจริญอาโลกกสิณแล้วเห็น
สมุทรทั้งสิ้นด้วยจักษุ ชื่อว่าแผ่ด้วยทิพยจักษุ เมื่อมหาสมุทรแม้ถูกแผ่ไป
ด้วยการแผ่ไปอย่างนี้ แม่น้ำน้อยที่ไหลลงมหาสมุทร ย่อมเป็นอันรวม
เข้าไว้ด้วย.
บทว่า อนฺโตคธา ตสฺส ความว่า กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเป็น
อันหยั่งลงในภายในแห่งการเจริญของภิกษุนั้น. ในบทว่า วิชฺชาภาคิยา
นี้ มีวิเคราะห์ดังต่อไปนี้ :- ชื่อว่าวิชชาภาคิยะ เพราะบรรจบวิชชา ด้วย
การประกอบเข้ากันได้. ชื่อว่าวิชชาภาคิยะ เพราะเป็นไปในส่วนแห่ง
วิชชา คือในภาคของวิชชา. ในบทว่า วิชฺชาภาคิยา นั้น วิชชามี 8
คือ วิปัสสนาญาณ 1 มโนมยิทธิ 1 อภิญญา 6. โดยความหมายแรก
ธรรมที่สัมปยุตด้วยวิชชาเหล่านั้น เป็นวิชชาภาคิยะ. โดยความหมายหลัง
วิชชาข้อใดข้อหนึ่งเพียรข้อเดียวในบรรดาวิชชา 8 นั้นเป็นวิชชา. ธรรม
ที่เหลือเป็นวิชชาภาคิยะ คือเป็นส่วนแห่งวิชชา. รวมความว่า วิชชาก็ดี
ธรรมอันสัมปยุตด้วยวิชชาก็ดี พึงทราบว่าเป็นวิชชาภาคิยะทั้งนั้น
บทว่า มหโต สํเวคาย แปลว่า เพื่อประโยชน์แก่ความสังเวช
ใหญ่. แม้ในสองบทข้างหน้า ก็มีนัยนี้เหมือนกัน . ก็ในอธิการนี้

1. บาลีข้อ 225- ข้อ 234, วรรคนี้รวมอยู่ในปสาทกรธัมมาทิบาลี.