เมนู

อรรถกถาปสาท1กรธัมมาทิบาลี



อรรถกถาปสาท2กรธรรมวรรค



คำว่า อทฺธํ ในบทเป็นต้น ว่า อทฺธมิทํ นี้เป็นชื่อของส่วนหนึ่ง ๆ
ท่านอธิบายว่า นี้เป็นลาภแน่แท้ คือ นี้เป็นส่วนหนึ่ง ๆ ของลาภ.
บทว่า ยทิทํ อารญฺญกตฺตํ คือ ความเป็นผู้อยู่ป่าส่วนหนึ่งใด. อธิบาย
ว่า ชื่อว่าความเป็นผู้อยู่ป่าเป็นส่วนหนึ่งของลาภ คือ ภิกษุผู้อยู่ป่าอาจ
ได้ลาภ เพราะเป็นผู้บำเพ็ญได้อย่างแท้จริง. ก็ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตรคิดว่า
เราจัก กระทำสิ่งที่สมควรแก่การอยู่ป่าของตัวเรา จึงไม่การทำกรรมที่ชื่อว่า
ลามก. เมื่อเป็นเช่นนั้น มหาชนก็จะเกิดความเคารพต่อท่านว่า ภิกษุนี้
ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ย่อมทำการบูชาด้วยปัจจัยทั้ง 4. เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้อยู่ป่าเป็น
วัตรนี้ เป็นลาภแน่แท้ ดังนี้. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้แหละ.
ก็คามเป็นผู้ได้สดับฟังมาก ชื่อว่า พาหุสัจจะ ในสูตรนี้. บทว่า
ถารเรยฺยํ ได้แก่ ความเป็นผู้ถึงความมั่นคง เพราะเป็นผู้บวชนาน.
บทว่า อากปฺปสมฺปทา ได้แก่ ความถึงพร้อมด้วยมารยาทมีการครอง
จีวรเป็นต้น . ความเป็นผู้มีบริวารสะอาด ชื่อว่า ปริวารสัมปทา ความ
ถึงพร้อมด้วยบริวาร. ความเป็นกุลบุตร ชื่อว่า กุลปุตติ (บุตรคนมี
ตระกูล). ความเป็นผู้มีรูปร่างดี ชื่อว่า วัณณโปกขรตา. ความเปล่ง
ถ้อยคำไพเราะ ชื่อว่า กัลยาณวากกรณตา. ความถึงพร้อมด้วยความ
ไม่มีโรค ชื่อว่า อัปปาพาธตา. ก็ภิกษุผู้ไม่มีโรค ย่อมบำเพ็ญวาสธุระ

1. บาลีข้อ 207-246. 2. บาลีข้อ 207.

(ธุระในการอบรมจิตใจ) และคันถธุระให้บริบูรณ์ได้ เพราะตนเป็นผู้
มีร่างกายสบาย. เพราะเหตุนั้น ลาภทั้งหลายจึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นแล.
จบอรรถกถาปสาทกรธรรมวรรค

อรรถกถาอปรอัจฉราสังฆาตวรรค1



พระสูตรแม้นี้ว่า อจฺฉราสงฺฆาตมตฺตํ ดังนี้ ตรัสไว้ในเหตุเกิดเรื่อง
ของอัคคิกขันโธปมสูตร. ก็กถาที่พูดถึงผลของเมตตาที่ไม่ถึงอัปปนาไม่มี.
พระธรรมเทศนานี้พึงทราบว่าทรงปรารภในเมื่อเกิดเรื่องนั้น นั่นแล.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปฐมํ มีเนื้อความดังกล่าวไว้ในวิภังค์ว่า
เป็นที่ 1 ตามลำดับแห่งการนับ ชื่อว่าเป็นที่ 1 เพราะเข้าฌานที่ 1 นี้.
บทว่า ณานํ ความว่า ชื่อว่าฌานมี 2 อย่าง คือ อารัมมณูปนิชฌาน
และลักขณูปนิชฌาน. ในฌาน 2 อย่างนั้น สมาบัติ 8 ชื่อว่า อารัมม-
ณูปนิชฌาน.
ก็สมาบัติ 8 เหล่านั้น เรียกว่าอารัมมณูปนิชฌาน เพราะ
เข้าไปเพ่งอารมณ์มีปฐวีกสิณเป็นต้น . วิปัสสนา มรรค และผล ชื่อว่า
ลักขณูปนิชฌาน. ก็วิปัสสนาชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปเพ่ง
ลักษณะของสังขารด้วยอำนาจไตรลักษณ์มีความไม่เที่ยงเป็นต้น . ก็มรรค
ท่านเรียกว่าลักขณูปนิชฌาน เพราะกิจในการเข้าไปเพ่งลักษณะแห่ง
วิปัสสนา ย่อมสำเร็จด้วยมรรค ผลท่านเรียกว่าลักขณะปนิชฌาน เพราะ
เข้าไปเพ่งพระนิพพานอันมีลักษณะเป็นสุญญตะ (ว่างเปล่า) อนิมิตตะ
(ไม่มีนิมิต) และอัปปณิหิตะ (ไม่มีที่ตั้ง ). ก็บรรดาฌาน 2 อย่างนั้น
ในอรรถนี้ประสงค์เอาอารัมมณูปนิชฌาน.

1. บาลีข้อ 208 - ข้อ 224 ในบาลีไม่ได้แยกเป็นวรรค แต่รวมอยู่ในปสาทกรธัมมาทิบาลี.