เมนู

อรรถกถาปสาท1กรธัมมาทิบาลี



อรรถกถาปสาท2กรธรรมวรรค



คำว่า อทฺธํ ในบทเป็นต้น ว่า อทฺธมิทํ นี้เป็นชื่อของส่วนหนึ่ง ๆ
ท่านอธิบายว่า นี้เป็นลาภแน่แท้ คือ นี้เป็นส่วนหนึ่ง ๆ ของลาภ.
บทว่า ยทิทํ อารญฺญกตฺตํ คือ ความเป็นผู้อยู่ป่าส่วนหนึ่งใด. อธิบาย
ว่า ชื่อว่าความเป็นผู้อยู่ป่าเป็นส่วนหนึ่งของลาภ คือ ภิกษุผู้อยู่ป่าอาจ
ได้ลาภ เพราะเป็นผู้บำเพ็ญได้อย่างแท้จริง. ก็ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตรคิดว่า
เราจัก กระทำสิ่งที่สมควรแก่การอยู่ป่าของตัวเรา จึงไม่การทำกรรมที่ชื่อว่า
ลามก. เมื่อเป็นเช่นนั้น มหาชนก็จะเกิดความเคารพต่อท่านว่า ภิกษุนี้
ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ย่อมทำการบูชาด้วยปัจจัยทั้ง 4. เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้อยู่ป่าเป็น
วัตรนี้ เป็นลาภแน่แท้ ดังนี้. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้แหละ.
ก็คามเป็นผู้ได้สดับฟังมาก ชื่อว่า พาหุสัจจะ ในสูตรนี้. บทว่า
ถารเรยฺยํ ได้แก่ ความเป็นผู้ถึงความมั่นคง เพราะเป็นผู้บวชนาน.
บทว่า อากปฺปสมฺปทา ได้แก่ ความถึงพร้อมด้วยมารยาทมีการครอง
จีวรเป็นต้น . ความเป็นผู้มีบริวารสะอาด ชื่อว่า ปริวารสัมปทา ความ
ถึงพร้อมด้วยบริวาร. ความเป็นกุลบุตร ชื่อว่า กุลปุตติ (บุตรคนมี
ตระกูล). ความเป็นผู้มีรูปร่างดี ชื่อว่า วัณณโปกขรตา. ความเปล่ง
ถ้อยคำไพเราะ ชื่อว่า กัลยาณวากกรณตา. ความถึงพร้อมด้วยความ
ไม่มีโรค ชื่อว่า อัปปาพาธตา. ก็ภิกษุผู้ไม่มีโรค ย่อมบำเพ็ญวาสธุระ

1. บาลีข้อ 207-246. 2. บาลีข้อ 207.