เมนู

วรรคที่ 3



ว่าด้วยบุคคลคนเดียวที่เกิดขึ้นแล้วยังความพินาศแก่โลกเป็นต้น



[191] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลคนเดียว เมื่อเกิดขึ้นในโลก
ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ไม่เป็นความสุขแก่ชนเป็นอันมาก
เพื่อความฉิบหาย มิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทพยดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย บุคคลคนเดียวคือใคร คือบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มี
ความเห็นวิปริต เขาทำให้คนเป็นอันมากออกจากสัทธรรมแล้ว ให้ตั้ง
อยู่ในอสัทธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลคนเดียวนี้แล เมื่อเกิดขึ้น
ในโลก ย่อมเกิดขึ้น เพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ไม่เป็นความสุขแก่ชน
เป็นอันมาก เพื่อความฉิบหาย มิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์
แก่เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
[192] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลคนเดียว เมื่อเกิดขึ้นในโลก
ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก
เพื่อประโยชน์หิตสุขแก่เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย บุคคลคนเดียวคือใคร
คือบุคคลผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นไม่วิปริต เขาทำให้คนเป็นอันมาก
ออกจากอสัทธรรมแล้ว ให้ตั้งอยู่ในสัทธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล
คนเดียวนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ
ความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อประโยชน์หิตสุขแก่เทพยดาและมนุษย์
ทั้งหลาย.
[193] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้

ข้อหนึ่ง ซึ่งจะมีโทษมากเหมือนมิจฉาทิฏฐินี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
โทษทั้งหลายมีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง.
[194] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นบุคคลอื่นแม้คนเดียว
ที่ปฏิบัติเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ไม่เป็นความสุขแก่ชนเป็นอันมาก
เพื่อความฉิบหาย มิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทพยดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เหมือนกับโมฆบุรุษชื่อว่ามักขลินี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนบุคคลพึงทิ้งลอบไว้ที่ปากอ่าว เพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความทุกข์ เพื่อความเสื่อม ความพินาศแก่ปลาเป็นอันมาก. แม้ฉันใด
โมฆบุรุษชื่อว่ามักขลิ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เป็นดังลอบสำหรับดัก
มนุษย์ เกิดขึ้นแล้วในโลก เพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์
เพื่อความเสื่อม เพื่อความพินาศแก่สัตว์เป็นอันมาก.
[195] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ชักชวนเข้าในธรรมวินัยที่กล่าว
ไว้ชั่ว 1 ผู้ที่ถูกชักชวนแล้วปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น 1 คนทั้งหมด
นั้น ย่อมประสบกรรมมิใช่บุญเป็นอันมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
ธรรมท่านกล่าวไว้ชั่ว.
[196] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ชักชวนเข้าในธรรมวินัยที่กล่าว
ไว้ดี 1 ผู้ที่ถูกชักชวนแล้วปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น 1 คนทั้งหมด
นั้น ย่อมประสบบุญเป็นอันมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมท่าน
กล่าวไว้ดีแล้ว.
[197] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทายกพึงรู้จักประมาณในธรรมวินัย
ที่กล่าวไว้ชั่ว ปฏิคาหกไม่จำต้องรู้จักประมาณ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะธรรมท่านกล่าวไว้ชั่ว.

[198] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิคาหกพึงรู้จักประมาณในธรรม
วินัยที่กล่าวไว้ดี ทายกไม่จำต้องรู้จักประมาณ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะธรรมท่านกล่าวไว้ดีแล้ว.
[199] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ปรารภความเพียรในธรรมวินัย
ที่กล่าวไว้ชั่ว ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมท่าน
กล่าวไว้ชั่ว.
[200] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้เกียจคร้านในธรรมวินัยที่กล่าว
ไว้ดี ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมท่านกล่าวไว้
ดีแล้ว.
[201] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่เกียจคร้านในธรรมวินัยที่กล่าว
ไว้ชั่ว ย่อมอยู่เป็นสุข ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมท่านกล่าวไว้ชั่ว.
[202] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ปรารภความเพียรในธรรมวินัย
ที่กล่าวไว้ดี ย่อมอยู่เป็นสุข ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมท่าน
กล่าวไว้ดีแล้ว.
[203] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนคูถแม้เพียงเล็กน้อย
ก็มีกลิ่นเหม็น ฉันใด ภพแม้เพียงเล็กน้อยก็ฉันนั้นเหมือนกัน เราไม่
สรรเสริญ โดยที่สุดแม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือเดียวเลย.
[204] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมูตร... น้ำลาย...
หนอง... เลือดแม้เพียงเล็กน้อย ก็มีกลิ่นเหม็น แม้ฉันใด ภพแม้เพียง
เล็กน้อยก็ฉันนั้นเหมือนกัน เราไม่สรรเสริญ โดยที่สุดแม้ชั่วกาลเพียง
ลัดนิ้วมือเดียวเลย.

จบวรรคที่ 3

อรรถกถาวรรคที่ 31



อรรถกถาสูตรที่ 1



ในวรรคที่ 3 สูตรที่ 1 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิโฏ ได้แก่ ผู้ไม่เห็นตามความเป็นจริง. บทว่า
วิปรีตทสฺสโน ได้แก่ เป็นผู้มีความเห็นแปรปรวนไปตามความเห็นผิดนั้น
ทีเดียว. บทว่า สทฺธมฺมา วุฏฺฐาเปตฺวา ความว่า ให้ออกจากธรรม
คือกุศลกรรมบถ 10. บทว่า อสทฺธมฺเม ปติฏฺฐาเปติ ความว่า ให้
ตั้งอยู่ในอสัทธรรม กล่าวคืออกุศลกรรมบถ 10. ก็ในบทว่า เอกปุคฺคโล
นี้ พึงทราบว่า ได้แก่ พระเทวทัตกับครูทั้ง 6 และคนอื่น ๆ ที่เป็น
อย่างนี้.
จบอรรถกถาสูตรที่ 1

อรรถกถาสูตรที่ 2



ในสูตรที่ 2 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิโฏ ได้แก่ ผู้มีความเห็นตามความเป็นจริง.
บทว่า อวิปรีตทสฺสโน ได้แก่ ผู้มีความเห็นอันไม่แปรปรวนไป
จากความเห็นชอบนั้นนั่นแหละ. บทว่า อสทฺธมฺมา ความว่า จาก
อกุศลกรรมบถ 10. บทว่า สทฺธมฺเม ความว่า ในสัทธรรม กล่าวคือ
กุศลกรรมบถ 10. ก็ในบทว่า เอกปุคฺคโล นี้ ในเมื่อพระพุทธเจ้า
ยังมิได้เสด็จอุปบัติ ย่อมได้แก่บุคคลมีอาทิอย่างนี้ คือ พระเจ้าจักรพรรดิ

1. บาลี 191 - 204.