เมนู

8. ทุติยกัลยาณมิตตสูตร



มิตรดีเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค


[138] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น
สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้น
เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดแห่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 ของ
ภิกษุ คือ ความเป็นผู้มีมิตรดี ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัน
ภิกษุผู้มีมิตรดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8
จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8.
[139] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญอริยมรรค
ประกอบด้วยองค์ 8 ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8
อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ มีอันกำจัดราคะเป็น
ที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญ
สัมมาสมาธิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัด
โมหะเป็นที่สุด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญอริยมรรค
ประกอบด้วยองค์ 8 ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8
อย่างนี้แล.
จบทุติยกัลยาณมิตตสูตรที่ 8

9. ทุติยสีลสัมปทาสูตร



สีลสัมปทาเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค


[140] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น
สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้น
เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความเกิดแห่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 ของภิกษุ
คือ ความถึงพร้อมด้วยศีล ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
จบทุติยสีลสัมปทาสูตรที่ 9

10. ทุติยฉันทสัมปทาสูตร



ฉันทสัมปทาเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค


[141] . . . คือ ความถึงพร้อมแห่งฉันทะ ฯลฯ
จบทุติยฉันทสัมปทาสูตรที่ 10