เมนู

4. ปฐมอัตตสัมปทาสูตร



อัตตสัมปทาเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค


[133] . . . คือ ความถึงพร้อมแห่งตน [ความถึงพร้อมแห่งจิต] ฯลฯ
จบปฐมอัตตสัมปทาสูตรที่ 4

5. ปฐมทิฏฐิสัมปทาสูตร



ทิฏฐิสัมปทาเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค


[134] . . . คือ ความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิ ฯลฯ
จบปฐมทิฏฐิสัมปทาสูตรที่ 5

6. ปฐมอัปปมาทสัมปทาสูตร



ความไม่ประมาทเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค


[135] . . . คือ ความถึงพร้อมแห่งความไม่ประมาท ฯลฯ
จบปฐมอัปปมาทสัมปทาสูตรที่ 6

7. ปฐมโยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร



โยนิโสมนสิการเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค


[136] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น
สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นมิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้น
เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 ของ
ภิกษุ คือ ความถึงพร้อมแห่งการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ฉันนั้น
เหมือนกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจ
โดยแยบคาย พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8
จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8.
[137] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ใน
ใจโดยแยบคาย ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 ย่อมกระทำให้
มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม
เจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการ
สละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้
ในใจโดยแยบคาย ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 ย่อมกระทำให้
มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 อย่างนี้แล.
จบปฐมโยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ 7